การสังเคราะห์งานวิจัยการบริหารยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามวิถีมลายู อำเภอหนองจิก

ผู้แต่ง

  • นีลนาถ เจ๊ะยอ โรงพยาบาลหนองจิก

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.2

คำสำคัญ:

การพัฒนา การดูแลผู้ป่วย โรคเรื้อรัง วิถีมลายู

บทคัดย่อ

             ปัญหาความไม่สามารถบริหารยาให้ถูกต้องตรงตามที่แพทย์สั่งเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งปัญหานี้มักไม่ได้รับความสนใจจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังโดยไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการรักษา สิ้นเปลืองยา และทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามวิถีมลายูอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยการสังเคราะห์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามวิถีมลายูของโรงพยาบาลหนองจิก ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 ถึง 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม R โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t - test และ Fisher’s exact test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิยมใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาพูด และใช้อักษรยาวีเป็นภาษาเขียน การปรับเปลี่ยนการบริหารยาให้สอดคล้องตามวิถีชีวิตมลายู ทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนรายการยาเฉลี่ยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาตามแพทย์สั่ง และมีค่าเฉลี่ย FBS และค่า SBP ลดลง เมื่อเทียบกับการบริหารยาตามปกติที่ไม่สอดคล้องตามวิถีมลายูอำเภอหนองจิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การปรับเปลี่ยนการบริหารยาให้สอดคล้องตามวิถีชีวิตมลายู เป็นสิ่งที่สำคัญช่วยเพิ่ม ความร่วมมือในการใช้ยา และทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

References

นีลนาถ เจ๊ะยอ. (2551). ผลการปรับวิธีรักษาเบาหวานในเดือนรอมฎอนของผู้ป่วยมุสลิมที่คุมเบาหวานได้ไม่ดี. วารสารวิชาการเขต 12, 30 (1), หน้า 7-13

นีลนาถ เจ๊ะยอ. (2552). ผลการเปลี่ยนเวลาการใช้ยาลดแรงดันเลือดในผู้ป่วยที่ถือศีลอดช่วงเดือนรอมฎอน.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข,3 (1), หน้า 97-101

นีลนาถ เจ๊ะยอ. (2554).การใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมตามวิถีชีวิตมุสลิมในเดือนรอมฎอน กรณีศึกษาของ โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารรวิจัยระบบสาธารณสุข ,5 (3) ,506-512

นีลนาถ เจ๊ะยอ. (2558). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวในการบริหารยาเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ,9 (1) ,74-79

นีลนาถ เจ๊ะยอ. (2559). ความชุกและปัจจัยทำนายความล้มเหลวในการใช้ยาฉีดอินซูลินของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ,10 (3) ,333-339

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. (2553). Chronic disease. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม. 2561, จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/4693/chronic-disease.

อนุชิต วังทอง, และนีลนาถ เจ๊ะยอ. (2551). ผลการปรับวิธีการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข,2(1), 130-135

C Jüngst, S Gräber, S Simons, H Wedemeyer and F Lammert. (2019). Medication adherence among patients with chronic diseases: a survey-based study in pharmacies. QJM: An International Journal of Medicin, 112 (2), 505-512. Retrieved 5 May 2019, doi.org/10.1093/qjmed/hcz058.

DeVol & Bedroussian. (2007). Chronic Diseases and Their Complications. Retrieved 16 January 2019, from: https://ebrary.net/13593/health/chronic_diseases_complications.

Dikensoy E, Balat O, Cebesoy B, Ozkur A, Cicek H, Can G. (2009). The effect of Ramadan fasting on maternal serum lipids, cortisol levels and fetal development. Arch Gynecol Obstet, 279 (2), 119-23. doi: 10.1007/s00404-008-0680-x.

Karamat MA, Syed A, Hanif W. (2010). Review of diabetes management and guidelines during Ramadan. J R Soc Med, 103(4), 139-147.doi: 10.1258/jrsm.2010.090254.

Mark Lemstra, Chijioke Nwankwo, Yelena Bird, and John Moraros. (2018). Primary nonadherence to chronic disease medications: a meta-analysis. Patient Prefer Adherence, 12, 721–731. doi: 10.2147/PPA.S161151.

Wullianallur Raghupathi and Viju Raghupathi. (2018). An Empirical Study of Chronic Diseases in the United States: A Visual Analytics Approach to Public Health. Int J Environ Res Public Health. 15(3) 431. doi: 10.3390/ijerph15030431.

World Health Organization. (2003). Adherence to long-term therapies: evidence for action. Retrieved 20 January 2019, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/42682/9241545992.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย