การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการวิจัยทางคลินิก

ผู้แต่ง

  • ชนินาถ สุริยะลังกา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชรีย์ จิตตพิทักษ์ชัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.22

คำสำคัญ:

โปรแกรมฐานข้อมูล, ข้อมูลการวิจัยทางคลินิก

บทคัดย่อ

           กองบริหารงานวิจัย เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการประสานงานและบริหารจัดการโครงการวิจัยทางคลินิกของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนโครงการในแต่ละปีงบประมาณมีจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มปริมาณขึ้น โดยการจัดการข้อมูลการวิจัยทางคลินิกเดิมใช้โปรแกรมระบบตารางคำนวณ (Microsoft Excel) ซึ่งพบปัญหา ดังเช่น การบันทึก สืบค้นและติดตามผล ซ้ำซ้อนและล่าช้า เป็นต้น ดังนั้น ผู้จัดทำจึงต้องการพัฒนาระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลการวิจัยทางคลินิก เพื่อให้การดำเนินงานด้านข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Microsoft Access) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารฯ ขอบเขตข้อมูลเป็นการดำเนินงานการวิจัยในทุกขั้นตอน ได้แก่ การตรวจสัญญาการวิจัยทางคลินิก การขึ้นทะเบียนโครงการ การเบิกจ่าย การรายงานความก้าวหน้า และการปิดโครงการ โดยทดสอบการบันทึกข้อมูลและการสืบค้นข้อมูลระหว่างโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล และโปรแกรมระบบตารางคำนวณ พบว่า โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เวลารวมในการการบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 43.71 และการสืบค้นข้อมูลมากกว่าร้อยละ 86.29 โดยในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานการวิจัยเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ ดังนี้ ขั้นตอนการตรวจสัญญการวิจัยทางคลินิก (การบันทึกข้อมูล) และ การขึ้นทะเบียนโครงการ (การบันทึกข้อมูลและการรสืบค้นข้อมูล) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล มีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ ดังนี้ การตรวจสัญญาการวิจัยทางคลินิก (การสืบค้นข้อมูล 42.86), การเบิกจ่าย (การบันทึกข้อมูล 55.33, การสืบค้นข้อมูล  99.52), การรายงานความก้าวหน้า (การบันทึกข้อมูล 88.22, การสืบค้นข้อมูล  93.81)  และการปิดโครงการ  (การบันทึกข้อมูล 65.2, การสืบค้นข้อมูล  88.57) ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลวิจัยคลินิกโดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลการวิจัยทางคลินิก ที่รวดเร็ว  ถูกต้อง อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ควรมีการพัฒนาต่อในด้านการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง ความจุของโปรแกรมในการเก็บและการวางแผนการสำรองข้อมูล (Back up) เพื่อให้ได้ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ต่อไป

References

ไพรินทร์ ตันพุฒ, พีรพงษ์ ตัวงาม, สุนิษา คงพิพัฒน์ และสุวรรณา ก่อสุวรรณวงศ์ (2561). การพัฒนาระบบบริหารจัดการผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของบุคลากรในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2561, หน้า 60 - 71

ดรุณวรรณ กำธรเกียรติ. (2556). การจัดการฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Database Management for Spatial Analysis) (พิมพ์ครั้งที่ 1).ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดวงพร เกี๋ยงคำ. (2560). คู่มือการใช้งาน Access 2016 ฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด

ดำรงค์ ทิพย์โยธา. (2545). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS for Windows version 10 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2545). การออกแบบและบริหารข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ดวงกลสมัย.

สุนิษา คงพิพัฒน์, ณัฑฐา ภัทรวิสิฐเศรษฐ์ และณฐมน ทองใบอ่อน (2559), การพัฒนาโปรแกรม RE Management เพื่อการจัดการฐาน ข้อมูลเครื่องมือ/อุปกรณ์วิจัย. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2559, หน้า 12 - 21

อุษณี ม้ารุ่งอรุณ (2560), การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดทำเอกสารสำคัญและระบบแจ้งเตือนการรายงานตัวทุกระยะ 90 วัน ของศูนย์การศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2560, หน้า 92 - 113

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย