การใช้สื่อวีดิทัศน์สารคดีเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคพยาธิหอยโข่ง (Angiostrongyliasis)
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2021.40คำสำคัญ:
โรคพยาธิหอยโข่ง, พยาธิหอยโข่ง, แบบสอบถาม, การประเมินความรู้, สื่อวีดิทัศน์บทคัดย่อ
โรคพยาธิหอยโข่ง (Angiostrongyliasis) เป็นโรคติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร ที่มีการปนเปื้อนของพยาธิตัวอ่อน Angiostrongylus cantonensis การติดเชื้อพยาธิหอยโข่งในมนุษย์ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งประชาชนทั่วไปยังคงขาดความรู้และความเข้าใจในโรคนี้
การศึกษานี้ผู้วิจัยได้สร้างสื่อวีดิทัศน์สารคดีเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิหอยโข่ง และทำการประเมินความรู้ที่ได้พร้อมทั้งความคิดเห็นที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ฯ นี้ ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบความรู้ก่อนการรับชมวีดิทัศน์สารคดี (pre-test) จากนั้นรับชมสื่อวีดิทัศน์สารคดีเรื่องโรคพยาธิหอยโข่ง (https://www.youtube.com/watch?v=0qLZh3H24KQ) แล้วจึงทำแบบทดสอบความรู้หลังการรับชม (post-test) พร้อมทั้งตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ฯ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติแบบพรรณนา (descriptive analysis) และนำคะแนนทดสอบความรู้ก่อนและหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ มาวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติ paired t-test และข้อมูลความคิดเห็นคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ฯ ถูกนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยและแปลผล จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 383 คน เป็นเพศชาย 32.37% เพศหญิง 67.63% มีอายุระหว่าง 11 - 70 ปี อายุเฉลี่ย 33 ปี จากการสำรวจพบว่า 66.49% เป็นผู้ที่ไม่เคยรู้จักโรคพยาธิหอยโข่งมาก่อน และมีเพียง 33.51% ที่รู้จักโรคนี้ จากกลุ่มที่รู้จักโรคพยาธิหอยโข่งพบว่าคะแนนทดสอบความรู้เรื่องโรคพยาธิหอยโข่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ (คะแนนการตอบแบบทดสอบก่อนรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ ถูกต้อง 59.18%; คะแนนการตอบแบบทดสอบหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ ถูกต้อง 81.25%, p < 0.001) ส่วนกลุ่มผู้ที่ไม่รู้จักโรคนี้มาก่อน พบว่ามีคะแนนความรู้หลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ฯ เท่ากับ 8.53/12 (71.14%) ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่าง (90.34%) มีความคิดเห็นต่อคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ฯ โดยรวมแล้วอยู่ในระดับดีมาก โดยมีความเห็นว่าวีดิทัศน์สารคดีนี้มีประโยชน์ต่อกลุ่มตัวอย่างในระดับมากที่สุด
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าสื่อวีดิทัศน์สารคดีเรื่องโรคพยาธิหอยโข่งมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในการให้ความรู้เรื่องโรคพยาธิหอยโข่งแก่ประชาชน และช่วยสร้างความตระหนักในการหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคพยาธิหอยโข่งได้
References
ญาณิศา นราพงษ์ และ นพคุณ ภักดีณรงค์. (2559). โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอันเนื่องมาจากพยาธิตัวกลม Angiostrongylus Cantonensis.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม., 36(1), 140-147.
อับดุลฮากัม ดูมีแด และ อภิชาติ วิทย์ตะ. (2561). พยาธิปอดหนูและโฮสต์ตัวกลางในธรรมชาติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร., 26(2), 300-312.
Aekphachaisawat, N., Tiamkao, S., Limpawattana, P., Chotmongkol, V., Sawanyawisuth, K., Ngamjarus, C. (2018). An Epidemiological Study and Seasonal Variation in Eosinophilic Meningitis. J Med Assoc Thai. 101(7), 139-143.
Bieri, FA., Li, Y-S., Yuan, L-P., He, Y-K., Gray, DJ., Williams, GM., et al. (2014). School-Based Health Education Targeting Intestinal Worms-Further Support for Integrated Control. PLoS Negl Trop Dis. 8, e2621.
Chen, HT. (1935). Un nouveau nematode pulmonaire, Pulmonema cantonensis n.g., n. sp. Des rats de Canton, Ann. Parasitol. Hum. Comp. 13, 312-317.
Eamsobhana, P. (2013). Angiostrongyliasis in Thailand: epidemiology and laboratory investigations. Hawaii J Med Public Health. 72, 28-32.
Latif, S., Ahmed, I., Amin, MS., Syed, I., Ahmed, N. (2016). Exploring the potential impact of health promotion videos as a low-cost intervention to reduce health inequalities: a pilot before and after study on Bangladeshis in inner-city London. London J Prim Care (Abingdon). 8, 66–71.
Sawanyawisuth, K., Chindaprasirt, J., Senthong, V., Limpawattana, P., Auvichayapat, N., Tassniyom, S., et al. (2013). Clinical manifestations of Eosinophilic meningitis due to infection with Angiostrongylus cantonensis in children. Korean J Parasitol. 51, 735-8.
Wang, QP., Lai, DH., Zhu, XQ., Chen, XG., Lun, ZR. (2008). Human angiostrongyliasis. Lancet Infect Dis. 8, 621-30.