ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การและความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ชัย จันทะแสง สำนักงานประกันคถุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.24

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ, ความสุขในการทำงาน

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ และความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 280 คน ได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ และความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 79.65 ค่า df เท่ากับ 74 ดัชนี GFI เท่ากับ .990 ดัชนี AGFI เท่ากับ .980 ค่า SRMR เท่ากับ .010 ค่า RMSEA เท่ากับ .016 และตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ร้อยละ 79 สรุปได้ว่า ความฉลาดทางอารมณ์ มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน โดยมีตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ เป็นตัวแปรส่งผ่าน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน

References

ชญานิษฏ์ ชัยเชียงพิณ วันทนา อมตาริยกุล และ นวัตกร หอมสิน (2019). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครูที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงาน ศึกษาธิการ ภาค 10. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(1), 115-135.

ปิยะพร วงษ์อุดม (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่ทรุกันดารภาคเหนือตอนบน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(3), 61-79.

เบญจพร กลิ่นสีงาม และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ (2561) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(3)ม 117-131.

พรทิภา วงศ์กันทรากร. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างเชาว์อารมณ์ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การกับความพึงพอใจในงานโครงการ: กรณีศึกษาโครงการปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2560). โมเดลสมการโครงสร้าง. สำนักพิมพ์วัฒนาพานิชจำกัด กรุงเทพฯ

ว. วชิรเมธี. (2556). ความสุขในกำมือ. นนทบุรี: ปราณ.วีระวัฒน์ ปันติตามัย. (2551) เชาว์อารมณ์ (EQ) ซ ดัชนีเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯซสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิศิน เพชรพงศ์พันธ์, (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1), 1-16.

รวิษฎา ดวงจันทา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนกับวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตภาคตะวันออก. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2) (เมษายน 2556 – กันยายน 2556), 70-81.

ศักดิ์ชัย จันทะแสง และ กันตภณ ธรรมวัฒนา (2559). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสาย สนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(3), 130-144.

สุนทรี ศักดิ์ศรี. (2018). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูโดยมีพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีเป็นตัวแปรคั่นกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(1), 125-143.

สถาพร พฤฑฒิกุล (2558). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก. วารสารศรีปทุม ชลบุรี, 11(4), 60-70.

สมมาศ พลเยี่ยม. (2552) ผลกระทบของความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 9. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. มหาสารคามซ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2060). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ. ศ. 2560-2564).

อรุณี นิลสาระคู. (2551) การศึกษาความสัมพันธ์ความฉลามทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

อำภาภรณ์ ชมเชี่ยวชาญ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Diener, E. (2003). Suvjective well-being. Psychological Bulletin. 95(3): 542-575.

Dubinsky, A. J. , & Mattson, B. E. ( 1979). Consequences of role conflict and ambiguity experienced by retail salespeople. Journal of Retailing, 55(Winter), 70-86.

Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An applied guide to research designs: Quantitative, qualitative, and mixed methods. London: Sage.

Golemen, D. (1998). Working with Emotional Inelligence. New York : Bantam Book.

Hair,J.F.,Black,W.C.,Babin,B.J.&Anderson,R.E.(2014).Multivariate data analysis a global perspective (7 th ed.). New Jersey: Prentice-Hall International.

Lavelle, J. J., Brockner, J., Konovsky, M. A., Price, K. H. & Henley, A. B. (2009). Commitment, procedural fairness, and organizational citizenship behavior: a multifoci analysis. Journal of Organizational Behavior. 30(3), 337

Madden, T. J. & Dillon, W. R. (1982). Causal analysis and latent class models: An application to a communication hierarchy of effects model. Journal of Marketing Research, 19, 472-490.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive work place. Journal of Nursing Administration. 33(12), 652-655.

Mathumbu Dumisani & Dodd Nicole. (2013). Perceived organizational support, work engagement and organizational citizenship behavior of nurses at Victoria Hospital. Journal of Psychology, 4(2), 87- 93.

Modassir, A. and Singh,T. (2008). Relationship of Emotional Intelligence with Transformational Leadership and Organizational Citizenship Behavior. International Journal of Leadership studies, 4(1), 3-21.

Organ, D. W. (1990). “The motivational basis of organizational citizenship behavior: In B. M. Staw., & L. L. Cummings (Eds.)”. Research in Organizational Behavior. Greenwich, CT: JAI Press: 43–72.

Organ, D. W., Podsakoff, Ph. M. & MacKenzie, S. B, (2006). Organizational Citizenship Behavior: Its Nature, Antecedents, and Consequences. Thousand OA: SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย