ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง: การศึกษาย้อนหลังแบบจับคู่

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ บุตรทุมพันธ์
  • วาสนา ฬาวิน

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.12

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, แผลกดทับ

บทคัดย่อ

         แผลกดทับเป็นปัญหาของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ มีผลให้นอนรักษาตัวนานขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มอัตราการป่วยและอัตราการตาย โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤตหัวใจในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 ราย โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ถึง 31 สิงหาคม 2558 โดยศึกษาย้อนหลังแบบจับคู่ ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติ fisher’s exact test และ chi-square test อธิบายปัจจัยเสี่ยงและความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดแผลกดทับในกลุ่มผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองคือ กลุ่มตัวอย่างที่เกิดแผลกดทับ 10 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย ที่ไม่เกิดแผลกดทับ โดยใช้การสุ่มแบบจับคู่ เพศ อายุ (±5 ปี) ข้อวินิจฉัยโรค และทำการศึกษาโดยใช้วิธีจับคู่แบบ 1:3

         ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นเพศชาย 24 ราย และเพศหญิง 16 ราย อายุเฉลี่ย 71ปี (SD = 10.94) และ 70.77 ปี (SD = 10.91) ระยะเวลาที่นอนรักษาตัวเฉลี่ย 259.50 ชั่วโมง และ 80.50 ชั่วโมง ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับ คือ ระยะเวลาที่นอนรักษา (p< .0004) โดยสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดและป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจที่นอนรักษาตัวนานต่อไป

References

1. พิทยาภรณ์ นวลสีทอง, ชฎาพร เขตนิมิตร, ทศพร เมืองสถิตย์. (2560). ผลของการใช้แป้งทานาคาในการป้องกันแผลกดทับระดับ 1 ในผู้สูงอายุหอผู้ป่วยศัลยกรรมชายโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต11, 1, 179-189.

2. Chiari, P., Forni, C., Guberti, M., Gazineo, M., Gazineo, D., Ronzoni, S., … Alessandro, F.D. (2017). Predictive factors fopressure Ulcers in an older adult population hospitalized for hip fractures: A prognostic cohort study. PLOS ONE, 12 (1), 1-12.

3. Niezgoda, J. A., Eastman, M. S. (2006) The effective management of pressure ulcers. Advances in skin & wound care, 19, 1, 3-15.

4. Thomas, D. R. (2006). Prevention and treatment of pressure ulcers. American medical directors association, 7, 46–59.

5. European Pressure Ulcer Advisory. (2015). Pressure ulcers: just the facts!. Online. Retrieved March 13, 2016, from http://www.epuap.org.

6. Barry, M., & Nugent, L. (2015). Pressure ulcer prevention in frail older people. Nursing Standard, 30 (16-18), 50-60.

7. Brem, H., Maggi, J., Nierman, D., Rolnitzky, L., Bell, D., Rennert, R., …Vladeck, B. (2010). High cost of stage IV pressure ulcers. The American journal of surgery, 200, (4), 473–477.

8. Cox, J. (2011). Predictors of pressure ulcers in adult critical care patients. American journal of critical care, 20(5), 364-375.

9. Campbell, K.E., Woodbury, M.G., & Houghton, P.E. (2010). Implementation of best practice in the prevention of heel pressure ulcers in the acute orthopedic population. International wound journal, 7(1), 28–40.

10. ภัทราพร จันทร์ประดิษฐ์. (2553). ประสบการณ์ของผู้ป่วยในการได้รับเครื่องช่วยหายใจ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สงขลา.

11. ชญานิศ ลือวานิช, รัตนา ลือวานิช, วิลาวัลย์ ผลพลอย, วิไลลักษณ์ วงศ์จุลชาติ และชูศรี ติ้วสกุล. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารสภาการพยาบาล, 14 (2).

12. รุ่งทิวา ชอบชื่น. (2557). การพยาบาลในผู้ป่วยที่มีปัญหาแผลกดทับ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28 (49), 41-46.

13. Punpho, K., & Mamon, J. (2012). The effects of the wound care process to promote wound healing, reducing the risk of new lesions, and the satisfaction of patients caregivers with pressure ulcers. Online. Retrieved May 1, 2016, from http://www.hospital.tu.ac.th/km/admin/new/020517_134656.pdf

14. Lim, M. L., & Ang, S. Y. (2017). Impact of hospital-acquired pressure injuries on hospital costs – experience of a tertiary hospital in Singapore. Wound practice and research, 25 (1), 42-47.

15. Niezgoda, J. A., & Mendez-Eastman S. (2006). The effective management of pressure ulcers. Advances in skin & wound care, 19 (1), 3-15.

16. ช่อผกา สุทธิพงศ์, ศิริอร สินธุ. (2555). ปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29 (2), 113-123.

17. ขวัญจิตร์ ปั้นโพธิ์. (2555). การศึกษาผลของกระบวนการดูแลแผลในการส่งเสริมการหายของแผล การลดความเสี่ยงในการเกิดแผลใหม่และความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ,โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2560. จาก, http://www.hospital.tu.ac.th/km/admin/new/020517_134656.pdf

18. Prevention of pressure ulcers: Quick reference guide. European pressure ulcer advisory panel and National pressure ulcer advisory panel (2009). Online. Retrieved May 2, 2016, from http://www.npuap.org

19. Nonnemacher, M., Stausberg, J., Bartoszek, G., Lottko, B., Neuhaeuser, M., & Maier, I. (2009). Predicting pressure ulcer risk: a multifactorial approach to assess risk factors in a large university hospital population. Journal of clinical nursing, 18 (1), 99-107.

20. Lahmann, N. A., & Kottner J. (2011). Relation between pressure, fiction and pressure ulcer categories: A secondary data analysis of hospital patients using CHAID methods. International Journal of Nursing Studies, 48(1), 1487-1494.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย