ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2020.9คำสำคัญ:
ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, แนวปฏิบัติการพยาบาลบทคัดย่อ
การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator associated pneumonia :VAP) เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น และมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลจากงานประจำ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและศึกษาอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจภายหลังใช้แนวปฏิบัติในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจของหอผู้ป่วยวิกฤตอายุกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2560 ผู้วิจัยได้รวบรวมอุบัติการณ์ พัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลที่ทำเป็นประจำโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ และจากการให้การพยาบาลผู้ป่วยประจำวันตามภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย ประเมินผลการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ทบทวนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เพื่อหาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลที่เหมาะสมในการป้องกันและลดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ผลการศึกษาพบว่า การนำหลัก VAP Bundle “WHAPO” มาปรับใช้ร่วมกับแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจที่ทางหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมที่ได้พัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องพบว่า อุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลง จาก 6.63 ครั้งต่อ 1000 วันที่ใช้เครื่องหายใจในปี พ.ศ. 2556 เหลือเพียง 4.8, 4.6 และ 1.8ครั้งต่อ 1000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ในปี พ.ศ. 2557, 2558 และ 2559 ตามลำดับ และในปี พ.ศ.2560 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ยังไม่พบอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและลดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจมาใช้ทำให้อุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายในลดลง
References
2. คณะกรรมการการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลรามาธิบดี. (2560) ประกาศของคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อใน โรงพยาบาลรามาธิบดี. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. กรุงเทพมหานคร..
3.ชนิดา ตี๋สงวน. (2558). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกระทุ่มแบน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 1, 67-79.
4. ประภาดา วัชรนาถ, อำภาพร นามวงศ์พรหม และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2558). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่อการเกิดปอดอักเสบขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 44-145.
5. ยุวธิดา อารามรมย์. (2558). การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันกาติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(3), 144-158.
6. อัลจนา ไชยวงศ์, มาลีวรรณ เกษตรทัต, อุษณีย์ นากุ และสุรสิทธิ์ จีสันติ. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการป้องกันปอดอักเสบในผุ้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 10(3), 183-193.
7. ศิรินาฏ สอนสำนึก, กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์ และสุปรีดา มั่นคง. (2560). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจต่ออุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบ.รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(3), 284-297.
8. Alvarez-Lerma, F., Palomar-Martinez, M., Sanchez-Garcia, M., Martinez-Alonso, M., Alvarez-Rodriguez, J., Lorente, L., … Agra, Y. (2018). Prevention of Ventilator-Associated Pneumonia: The Multimodal Approach of the Spanish ICU "Pneumonia Zero" Program. Critical Care Medicine, 46(2), 181-188.
9. Arabi, Y., Al-Shirawi, N., Memish, Z., & Anzueto, A. (2008). Ventilator-associated pneumonia in adults in developing countries: a systematic review. Intensive Journal of Infection Disease, 12(5), 505-512.
10. Browne, J. A., Evans, D., Christmas, L. A., & Rodriguez, M. (2011). Pursuing excellence: development of an oral hygiene protocol for mechanically ventilated patients. Critical Care Nursing, 34(1), 25-30.
11. Center for Disease Control and Prevention; CDC. (2009). Protocal and Definition Device associated Module Ventilator- Associated Pneumonia. Retrieved from http: cdc.gov/nhsm:CDC.
12. Center for Disease Control and Prevention; CDC. (2013). Protocal and Definition Device associated Module Ventilator- Associated Pneumonia. Retrieved from http: cdc.gov/nhsm:CDC.
13. De Wandel, D., Maes, L., Labeau,S., Vereeken, C., & Blot.,S. (2010). Behavioral determination of hand hygiene compliance in intensive care unit. American Journal of Critical care, 19(3), 230-239.
14. Donabedian, A. (2003). An introduction to quality assurance in health care. American Journal of Preventive Medicine, 26(1), 96.
15. Dudeck, M. A., Horan, T. C., Peterson, K. D., Allen-Bridson, K., Morrell, G., Anttila, A., & Edwards, J. R. (2013). National Healthcare Safety Network report, data summary for 2011, device-associated module. American Journal of Infection Control, 41(4), 286-300.
16. Edward, J. R., Peterson, K. D., Andous, M. L., Dudeck, M. A., Pollock, D. A., Horan, T. C. (2008). National Healthcare safety network (NHSN): Report data summary for 2006-2007. American Journal Infection disease, 36, 609-626.
17. Kalanuria, A. A., Ziai, W., & Mirski, M. (2014). Ventilator-associated pneumonia in the ICU. Critical Care, 18(2), 208-214.
18. Kiyoshi-Teo, H., Cabna, M. D., Froelicher, E. S., & Blegen, M. A. (2014). Adherence to institution-specific ventilator-associated pneumonia prevention guidelines. American Journal of Critical Care, 23(3), 201-214.
19. Klompas, M., Branson, R., Eichenwald, E. C., Greene, L. R., Howell, M. D., & Lee, G. (2014). Strategies to prevent ventilator-associated pneumonia in acute care hospitals: 2014 update. Infection Control Hospital Epidemiology, 35(8), 915-936.
20. Korbkitjaroen, M., Vaithayapichet, S., Kachintorn, K., Jintanothaitavorn, D., Wiruchkul, N., & Thamlikitkul, V. (2011). Effectiveness of comprehensive implementation of individualized bundling infection control measures for prevention of health care-associated infections in general medical wards. American Journal of Infection Control, 39(6), 471-476.
21. Li, L., Wang, Q., Wang, J., Liu, K., Wang, P., Li, X., & Peng, F. (2018). Development, validation and application of a ventilator-associated pneumonia prevention checklist in a single cardiac surgery centre. Intensive and Critical Care Nursing Journal, 8(2), 1645-1647.
22. Lim, K. P., Kuo, S. W., Ko, W. J., Sheng, W. H., Chang, Y. Y., Hong, M. C., … Chang, S. C. (2015). Efficacy of ventilator-associated pneumonia care bundle for prevention of ventilator-associated pneumonia in the surgical intensive care units of a medical center. Journal of Microbiology Immunology Infection, 48(3), 316-321.
23. Maselli, D. J., & Restrepo, M. I. (2011). Strategies in the prevention of ventilator-associated pneumonia. Therapeutic Advances in Respiratory Disease, 5(2), 131-141.
24. Punpop Mukapon, Malathum Pornthip, & Malathum Kamthorn. (2018). Adherence of Healthcare Workers Toward the Contact precaution Guidelines for Patients With Multidrug-Resistance Organism in a Teritaary care Hospital. Ramathibodi Medical journal, 41(4), 56-63.
25. Rello, J., Afonso, E., Lisboa, T., Ricart, M., Balsera, B., Rovira, A., … Diaz, E. (2013). A care bundle approach for prevention of ventilator-associated pneumonia. Clinical Microbiology and Infection, 19(4), 363-369.
26. Rosenthal, V. D., Bijie, H., Maki, D. G., Mehta, Y., Apisarnthanarak, A., Medeiros, E. A., … Members, I. (2012). International Nosocomial Infection Control Consortium (INICC) report, data summary of 36 countries, for 2004-2009. American Journal of Infection Control, 40(5), 396-407.