คุณภาพการบริการสำนักงานคณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา โสดวิลัย
  • ณัฐภัสสร ศรีคง
  • นภาพร ม่วงสกุล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.8

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการ, สำนักงานคณบดี, การตอบสนองความต้องการ, ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ, ความมั่นใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับคุณภาพการบริการ และเปรียบเทียบระดับคุณภาพการบริการของสำนักงานคณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามประเภทบุคลากรของผู้รับบริการ ประสบการณ์การมารับบริการ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยสำรวจความคิดเห็นของ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานคณบดี จำนวน 154  คน ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 วิเคราะห์แบบสอบถามด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างเป็นสายสนับสนุน ร้อยละ 53.9 และสายวิชาการ ร้อยละ 46.1 มีประสบการณ์มารับบริการงานบริหารทรัพยากรบุคคล มากที่สุด (ร้อยละ 90.3) โดยมีจำนวนครั้งของการมารับบริการ 10 ครั้งขึ้นไปมากที่สุด (ร้อยละ 37.0) และบุคลากรส่วนใหญ่ รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหนังสือเวียนของหน่วยงานมากที่สุด (ร้อยละ 63.7)  ผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรต่อคุณภาพการบริการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  และเมื่อพิจารณาในรายด้าน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ด้านการตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ ด้านการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ และด้านความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจผู้รับบริการ พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานคณบดีระดับมาก  ในด้านการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.73 จากคะแนนเต็ม 5) และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ (ค่าเฉลี่ย 3.68) ส่วนรายด้านที่มีความคิดเห็นระดับปานกลาง คือ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ (ค่าเฉลี่ย 3.63) ด้านการตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ (ค่าเฉลี่ย 3.63) และด้านความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจผู้รับบริการ (ค่าเฉลี่ย 3.58) ผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพการบริการ  ไม่พบความแตกต่างกันในภาพรวม ระหว่างประเภทบุคลากร ประสบการณ์การมารับบริการในหน่วยงานของสำนักงานคณบดี และการรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริการผ่านช่องทางการรับทราบข้อมูล

References

1. ชลธิชา ศรีบำรุง. (2557). คุณภาพการให้บริการของธนาคารกรุงเทพ สาขาดอนหัวฬ่อ จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2561 จาก http://newtdc.thailis.or.th.

2. ประมุข อินทแพทย์. (2556). คุณภาพการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 5(1), 125-134.

3. พรทิพย์ สว่างเนตร. (2555). คุณภาพการบริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารสิทธิปริทัศน์, 26(79), 7-25.

4. รัตนะ อินจ๋อย. (2551). การประเมินคุณภาพการบริหารของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ โดยใช้ LibQUAL+TM. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2561 จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/lib/1102/07references-biography.pdf.

5. สมชาติ กิจยรรยง. (2540). สร้างบริการสร้างความประทับใจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : เอชเอ็นกรุ๊ป.

6. สุมา เหมทัต. (2555). การขับเคลื่อนคุณภาพบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการในเขตตรวจราชการสาธารณสุข 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล).

7. สุวชัย ดีวิจิตร และภิรดา ชัยรัตน์. (2560). คุณภาพการให้บริการของฝ่ายทะเบียน สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาดอนเมือง. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 จาก http://mapol.soc.ku.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/13.pdf.

8. เสรี วงศ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์ม และไซแท็กซ์.

9. สำนักงานมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ: แนวทางที่เป็นระบบสู่การปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์การฉบับปี 2558-2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/)

10. อรุโณทัย อุ่นไธสงค์. (2552). ศึกษาคุณภาพการให้บริการของกองเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี). สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2561 จาก http://newtdc.thailis.or.th.

11. Crosby. P.B. Quality is Free: The Art of Making Quality Certain. New York: McGraw-Hill. (1988). สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560 จาก: http://www.worldcat.org/title/quality-is-free-the-art-of-making-quality-certain/oclc/3843884

12. Lewis, R.C. and Blooms, B.H. (1983). The Marketing Aspects of Service Quality. In Berry, L., Shostact, G., & Upah, G. (Eds.). Emerging Perspectives on Service Marketing, Chicago, IL: American Marketing. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2560 จาก http://ir.swu.ac.th/xmlui/bitstream/ handle/123456789/4495/Sawanya_W.pdf?sequence=1.

13. Kotler, P. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium) สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561 จาก https://www.gotoknow.org/posts/492001.

14. Parasuraman A, ZeithamlVA, Berry LL. SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Marketing 1988; 64(Spring):12-40. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560. จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/july_dec2009/pdf/Kanchitpol.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย