ความรู้และการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท ชีวะกุล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.3

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, ความรู้การปฏิบัติตัวการป้องกันแผลที่เท้า, เบาหวาน

บทคัดย่อ

             การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติตัวในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน โดยการสุ่มอย่างง่าย 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยแอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้และการปฏิบัติตัวเท่ากับ 0.72 และ 0.68 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 1 มีนาคม  2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ45.6 ระดับต่ำ ร้อยละ41.1 ความรู้ในระดับสูงมีเพียง ร้อยละ 13.3 เท่านั้นการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ55.6 ระดับสูง ร้อยละ 36.7 และระดับต่ำมีเพียง ร้อยละ 7.8 เท่านั้นจากผลการวิจัยดังกล่าวเสนอว่าควรมีการจัดตั้งคลินิกเท้าเพื่อ(1) ให้ผู้ป่วยได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการดูแลเท้าที่ถูกต้อง จะเป็นการป้องกันความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้าและ(2) บุคลากรทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ ควรมีการประเมินระดับความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เพื่อร่วมมือกันดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกต้อง

References

1. นพพร จันทรเสนา และอัมพรพรรณ ธีรานุตร. (2554). พัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันความเสี่ยงการเกิดแผลที่เท้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มเสี่ยงระดับ 1 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 34, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2554) 32-41

2. ประไพพรรณ ศิริพันธ์บุญ และคณะ. (2553). พฤติกรรมการดูแลเท้าและผลการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในเขตเทศบาลนครยะลาที่มาใช้บริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลศูนย์ยะลา.

3. ภาวนา กีรติยตุวงศ์.(2544). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน: มโนมติสำคัญสาหรับการดูแล (พิมพ์ครั้งที่2). ชลบุรี: ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

4. วารุณี สุวรรณศิริกุล. (2550). กิจกรรมการสนับสนุนทางสังคมเพื่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

5. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ สปสช. (2556). แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานเท้า ,นนทบุรี :ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด

6. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2556). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2556 Diabetes clinical practice guideline. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.

7. สุมาลี เชื้อพันธ์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยบูรพา.

8. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2560). สรุปรายงานการป่วย พ.ศ.2560. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ill_2560_full.pdf

10. Beckert, S., White, M., Wicke, C., Konigsrainer, A.&Coerper, S. (2006). A new wound-based severity scores for diabetic foot ulcers [Electronic version]. Diabetes Care, 29(5): 992-999.

11. Cohen, J and Cohen, P. (1983). Applied multiple regression/correlation. Analysis for the behavioral sciences. (2 nd ed.) ewjersy: Lawrence Erlbaum Associates.

12. Stanley, S. & Turner, L. (2004). A collaborative care approach to complex diabetic foot ulceration [Electronic version]. British Journal of Nursing, 13(1): 788-793

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย