ข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนบริการผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินข้ามจังหวัด

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ วงศ์ประกรณ์กุล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.2

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์พยากรณ์แนวโน้มกองทุนบริการผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินข้ามจังหวัด, สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ, ผู้มีสิทธิ

บทคัดย่อ

            การบริหารกองทุนบริการผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินข้ามจังหวัดตั้งแต่ปีงบประมาณ2558 – 2562 พบว่าองค์กรได้รับงบประมาณ802.845, 865.453, 953.996, 1,015.545, 1,090.898ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่ยอดที่หน่วยบริการเบิก892.051, 961.615, 1,059.996, 1,128.383ล้านบาท ตามลำดับ ส่งผลให้องค์กรจ่ายชดเชยต่ำกว่ายอดที่หน่วยบริการเบิกร้อยละ 10 (Point 0.9บาท) จากการพยากรณ์ด้วยเทคนิค Winters’ Additive พบว่าค่าพยากรณ์เงินชดเชยให้หน่วยบริการปีงบประมาณ 2562 - 2563 อาจเพิ่มสูงถึง1,212.108และ 1,292.635ล้านบาทตามลำดับ ทำให้มีแนวโน้มที่องค์กรอาจต้องจ่ายชดเชยให้หน่วยบริการลดลง วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ของกองทุนบริการผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินข้ามจังหวัดมีแนวโน้มสูงขึ้นและ 2) เพื่อเสนอข้อเสนอการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนบริการผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินข้ามจังหวัดผลการวิจัย จากการนำแนวทางการวิเคราะห์พยากรณ์แนวโน้มมาใช้สามารถกำหนดได้ 3 สถานการณ์ได้แก่ สถานการณ์ A เสนอ2 ประเด็นประกอบด้วย 1) ยังคงใช้การบริหารจัดการเช่นเดิม 2) จัดระบบการให้บริการแยกออกเป็น การบริการผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉินข้ามจังหวัด ระดับวิกฤตและไม่ใช่ระดับวิกฤต สถานการณ์ B เสนอให้มีสำนักงานที่รับผิดชอบผู้มีสิทธิคนพิการโดยคงสิทธิประโยชน์เหมือนเดิม และสถานการณ์ C เสนอให้เปลี่ยนวิธีการจ่ายชดเชยราคายาแบบ Fee Scheduleสรุปและอภิปรายผลการวิจัยแนวทางการวิเคราะห์พยากรณ์แนวโน้มมาใช้ในการจัดทำข้อเสนอการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน ซึ่งเทคนิคนี้ช่วยให้วิเคราะห์การบริหารจัดการกองทุนที่มีลักษณะคาดเดายาก มีความไม่แน่นอนคลุมเครือ และซับซ้อนให้มีความชัดเจนขึ้นในการจัดทำข้อเสนอ

References

สหประชาชาติ ประเทศไทย. (2562). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs). สืบค้นเมื่อ 19กรกฎาคม2562, จาก https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). ศัพท์ใช้บ่อยในแวดวงปฏิรูปสุขภาพ. นนทบุรี: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). Scenario Analysis การวิเคราะห์พยากรณ์แนวโน้ม. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.bsqmgroup.com/private_folder//3.Scenario_Planning.pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (2556). “10 เรื่องควรรู้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ”. กรุงเทพ: สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด อรุณการพิมพ์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). คู่มือแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด อรุณการพิมพ์.

Intergovernmental Panel on Climate Change. (2007). Retrieved July 24, 2019, from https://www.ipcc-data.org/ddc_envdata.html

International Institute for Sustainable Development. (2007). A training manual on integrated environment assessment and reporting. Retrieved July 24, 2019, from https://www.iisd.org/pdf/2007/geo_resource.pdf

McKinsey&Company. (2015). Overcoming obstacles to effective scenario planning. Retrieved August 1, 2019, from https://www.mckinsey.com/business-functions/strategy-and-corporate-inance/our-insights/overcoming-obstacles-to-effective-scenario-planning#

Millennium Ecosystem Assessment. (2007). Scenarios Assessment. Retrieved July28, 2019, from https://www.millenniumassessment.org/en/Scenarios.aspx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย