การศึกษาปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาโท ศูนย์บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2015.6คำสำคัญ:
ปัญหา, ความต้องการ, เทคโนโลยีการศึกษาบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโทที่ใช้บริการศูนย์บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างข้อมูลทั่วไปกับความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษากับความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาโทของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2556 – 2557 ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 84 คน มาวิเคราะห์โดยโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความแตกต่างของข้อมูลทั่วไปกับความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา โดยใช้สถิติ T - test independent และ One-way ANOVA และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษากับความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา โดยใช้สถิติค่า Pearson’s Correlation กําหนดความมีนัยสําคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มประชากรเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 61.9 เพศชายคิดเป็นร้อยละ 38.1 มีอายุอยู่ในช่วง 26 – 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 53.6 รองลงมาคือมีอายุในช่วงต่ำกว่า 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.2 และมีอายุในช่วง 34 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 1.2 กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) คิดเป็นร้อยละ 61.9 รองลงมาคือกำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (MM) คิดเป็นร้อยละ 38.1 กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 65.5 กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 34.5 ผลการศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยีด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีการศึกษา พบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 3.04 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 1.31 ผลการศึกษาความต้องการใช้เทคโนโลยีด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีการศึกษา พบว่ามีความต้องการอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 3.76 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 0.99 ซึ่งสอดคล้องกับการเกิดปัญหาด้านการใช้เทคโนโลยีการศึกษาด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์การสื่อสารการศึกษาที่อยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างข้อมูลทั่วไปกับความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา ไม่แตกต่างกัน ประชากรที่มีระดับชั้นการศึกษาที่แตกต่างกันมีความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษาด้านเครื่องฉาย (LCD Projector) เครื่องฉายภาพสามมิติที่แตกต่างกัน ประชากรที่ศึกษาในหลักสูตรที่แตกต่างกันมีความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา ด้านระบบอินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Internet: LAN) และระบบอินทราเน็ตแบบใช้สาย (Intranet: LAN) ที่แตกต่างกัน ประชากรที่อายุแตกต่างกันมีความต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า ปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาไม่สัมพันธ์กับความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษา จากผลการวิจัยดังกล่าว วิทยาลัยฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรพิจารณาแก้ไขปัญหาการใช้เทคโนโลยีการศึกษาด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์สื่อสารการศึกษาเป็นลำดับแรก และควรปรับปรุงเรื่องสัญญาณของระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wi-Fi) ซึ่งมีสัญญาณอ่อน ต่อไม่ค่อยติด การสแกนไวรัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ PC อยู่เป็นประจำ เพิ่มความเร็วในการบริการอินเทอร์เน็ต เพิ่มจำนวนเครื่องพิมพ์ (Printer)
References
คมเดช ราชเนือง.(2545).การบริหารการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่ม 7 จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จเรวัตน์ เทวรัตน์.(2554).การศึกษาปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีการศึกษาของบัณฑิตศึกษา จากศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2545). ครูต้นแบบ ปี 2544.กรุงเทพมหานคร.
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต.(2528).เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อารีลักษณ์ ปุ๊กน้อย.(2555).การจัดกิจกรรมการเรียนอีเลิร์นนิงแบบชี้แนะที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งทิวา สุขแสง.(ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์).เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2557, จาก https://sites.google.com/site/rungtiwamai006/home/thekhnoloyi-laea-nwatkrrm-kar-suksa.