ความสัมพันธ์ของการจัดซื้อและการใช้หนังสือของ ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ 2549 - 2558

ผู้แต่ง

  • โสมรัศมิ์ พิบูลย์มณี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.12

คำสำคัญ:

การจัดซื้อหนังสือ, การศึกษาการใช้หนังสือ, ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดซื้อและการใช้หนังสือในปีงบประมาณ 2549 - 2558  รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดซื้อและการใช้หนังสือดังกล่าวของห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  เพื่อนำผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อหนังสือของห้องสมุด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) ค่าร้อยละ (Percentage)  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)

         ผลการวิจัยพบว่า ในปีงบประมาณ 2549 - 2558  ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดซื้อหนังสือภาษาต่างประเทศมากกว่าหนังสือภาษาไทย  หนังสือภาษาต่างประเทศและหนังสือภาษาไทยหมวดหมู่ที่มีการจัดซื้อและมีการใช้มากที่สุดคือ หมวด QV (Pharmacology)  หนังสือภาษาต่างประเทศหมวดหมู่ที่มีการจัดซื้อและมีการใช้น้อยที่สุดคือ หมวด QL (Zoology) และ WO (Surgery)  หนังสือภาษาไทยหมวดหมู่ที่มีการจัดซื้อและมีการใช้น้อยที่สุดคือ หมวด QY (Clinical Pathology), WM (Psychiatry) และ WW (Ophthalmology)  หมวดหมู่ที่ไม่มีการจัดซื้อเลยคือ หมวด QX (Parasitology), WN (Radiology. Diagnostic Imaging), WU (Dentistry. Oral Surgery) และ WV (Otolaryngology)  สำหรับอัตราการใช้ต่อเล่มของหนังสือสาขาเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพโดยรวมเท่ากับ 23.96 ครั้งต่อเล่ม   หนังสือภาษาต่างประเทศมีอัตราการใช้ต่อเล่มสูงสุดในหมวด WQ (Obstetrics) คือ 47.75 ครั้งต่อเล่ม  หนังสือภาษาไทยมีอัตราการใช้ต่อเล่มสูงสุดในหมวด QT (Physiology) คือ 25.13 ครั้งต่อเล่ม  และหมวดหมู่ที่มีอัตราการใช้ต่อเล่มต่ำที่สุดคือ หมวด QL (Zoology) และ WO (Surgery) คือ 2.00 ครั้งต่อเล่ม  รวมทั้งพบว่าการจัดซื้อและการใช้หนังสือในช่วงเวลาดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมากทั้งหนังสือภาษาต่างประเทศและภาษาไทย สำหรับหนังสือทั่วไป    ห้องสมุดจัดซื้อหนังสือสารคดีมากกว่าหนังสือบันเทิงคดี[1]  แต่พบว่าหนังสือบันเทิงคดีมีอัตราการใช้สูงกว่า โดยความสัมพันธ์ระหว่างการจัดซื้อและการใช้ของหนังสือทั่วไปมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก  งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า ห้องสมุดควรมีการศึกษาในลักษณะคล้ายกันนี้อย่างต่อเนื่องทุก 3 - 5 ปี  เพื่อตรวจสอบอัตราการใช้หนังสือในแต่ละหมวดหมู่  ควรเพิ่มเติมวิธีการพิจารณาจัดซื้อหนังสือจากแผนการสอนในรายวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในหลักสูตร  ควรมีการประชาสัมพันธ์แนะนำหนังสือใหม่ให้หลากหลายช่องทางและมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น  หรือส่งเสริมการใช้หนังสือที่มีการใช้น้อย  รวมถึงเนื้อหาที่มีการจัดพิมพ์ภาษาไทยน้อย  บรรณารักษ์ควรแนะนำผู้ใช้บริการในการค้นคว้าสารสนเทศจากหนังสือภาษาต่างประเทศ  เพื่อให้มีการใช้หนังสืออย่างคุ้มค่า

References

มัณฑนา เจริญแพทย์. (2542). การจัดหาและการใช้หนังสือของสำนักหอสมุดกลาง มศว ประสานมิตร พ.ศ. 2535 - 2537.กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มัณทะณี คำโพธิ์. (2555). ความสัมพันธ์ของการใช้หนังสือและการจัดซื้อของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีงบประมาณ 2550 - 2554. เชียงใหม่: สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลำยอง บัวเพชร. (2546). การจัดหาและการใชหนังสือของหอสมุดสาขา วังท่าพระ สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2542 - 2544. กรุงเทพฯ: หอสมุดสาขาวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สดศรี กันทะอินทร์. (2549). การจัดซื้อและการใช้หนังสือของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2545 – 2547. เชียงใหม่: สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมรักษ์ สหพงศ์. (2544). ความสัมพันธ์ของการใช้หนังสือทั่วไปภาษาต่างประเทศที่จัดซื้อด้วยเงินรายได้คณะฯ 2539 - 2543 ของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. กรุงเทพฯ: ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

สายพิณ จีนโน. (2551). รายงานการวิจัยการจัดซื้อและการใช้หนังสือของสำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปีงบประมาณ 2548 - 2550. กรุงเทพฯ: สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อังคณา สุริวรรณ์. (2557). รายงานผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2556 ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Adams, B., & Noel, B.(2008). Circulation statistics in the evaluation of collection development. Collection Building, 27(2), 71-73.

Hinkle, D.E., Wiersma, W., & Jurs, S.G. (2003). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. (5th ed.). Boston: Houghton Mifflin.

Littman, J., & Connaway, L.S. (2004). A circulation analysis of print books and e-books in an academic research library. Library Resources and Technical Services, 48(4), 256-262.

Nkereuwem, E.E., & Eteng, U. (1994). The Application of Operations Research in Library Management: A Case Study of In - library Book Use. Library Review, 43(6), 37 - 43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย