ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • อารี บัวแพร
  • จุฑามาศ ชัยวรพร
  • ศิวพร พิสิษฐ์ศักดิ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.10

คำสำคัญ:

ความผูกพัน, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

          ความผูกพันองค์กรของนักศึกษาต่อสถาบันการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นความรู้สึกประทับใจ  ศรัทธา ภาคภูมิใจ ตั้งใจและพร้อมที่จะใช้ความพยายามที่มีอยู่ของบุคคลเพื่อสร้างชื่อเสียงที่ดีแก่สถาบันการศึกษานั้น  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันและปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล  ประชากรศึกษาเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ที่ยังคงสภาพนักศึกษาในรอบปีการศึกษา 2557 จำนวน 172 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าไคส์-แควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  

          ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาคณะเวชศาสตร์เขตร้อนส่วนใหญ่ มีความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 51.2 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความทุ่มเทต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนและมีความศรัทธาต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50.6 และ 50.0  ตามลำดับ และมีความจงรักภักดีต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.4 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่ง มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนโดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.022)  แรงจูงใจในการเข้าศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อ  คณะเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับปานกลาง (p-value = 0.001, r = 0.687) และเมื่อจำแนกรายด้านพบว่าความคาดหวังในการศึกษาและการประกอบอาชีพ เหตุผลส่วนตัวและการสนับสนุนการศึกษามีความสัมพันธ์กับความผูกพันในเชิงบวกระดับปานกลาง (r = 0.731 และ 0.631 ตามลำดับ) ทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.848) และมีความสัมพันธ์กับความศรัทธา ความทุ่มเท และความจงรักภักดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.790, 0.786 และ 0.765 ตามลำดับ)และความพึงพอใจโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.788) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความศรัทธา ความจงรักภักดีและความทุ่มเท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.772, 0.704,  0.700 ตามลำดับ) สัมพันธภาพโดยรวมระหว่างความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนกับความศรัทธา ความทุ่มเท และความจงรักภักดี มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.715, 0.699, 0.681, ตามลำดับ)

          ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความผูกพันต่อสถาบันแก่นักศึกษาเพิ่มขึ้นโดยผู้บริหารควรกำหนดแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับช่องทางและกิจกรรมสร้างความผูกพันต่อองค์กรแก่นักศึกษา กำหนดแนวทางการประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างกิจกรรมระหว่างศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าเพิ่มขึ้น จัดบริการวิชาการ โดยกำหนดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ จัดสภาพสิ่งแวดล้อม และอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาเพิ่มขึ้น

References

ดลฤดี เพชรขว้าง และนันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). แรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธันย์ชนก เทศนา และนลินี ทองประเสริฐ. (2557, มกราคม – มิถุนายน). ความต้องการในการเข้าศึกษาต่อระดับดุษฎีบัณฑิตด้าน บริหารธุรกิจของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 2 (4),หน้า 39-48.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. รายงานการประเมินตนเองตามมาตรฐาน คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx, 2556: 1. นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศศิธร วงศ์ประเสริฐ. (2547). ความผูกพันต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจสำหรับ ผู้บริหาร จังหวัดสมุทรสาคร. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา. สำนักงานมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา. เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ 2556-2557. กรุงเทพมหานคร.

อภิรัตน์ บัวมณี. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันที่มีต่อโรงเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนพณิชยการเพชรบุรี. สารนิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อภิวดี วีระสมวงศ์. (2553). ความผูกพันของนักศึกษาระดับปริญญาโทที่มีต่อสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนของมหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Hom, Willard. (2004). A Model for researching student commitment. (Online). Available: http://www.ocari.org/files/ knowledgebase/willard/CommitmentAb.pdf.

Polit, D.F. & Hungler, B.P. (1997). Essentials of nursing research. Methods, appraisals, and utilization. Philadelphia : Lippincott.

Steer, R. M. and Porter, L. W. (1983). Motivation and work behavior. New York: McGraw Hill. UNESCO.

Tinto, Vincent. (1975). “Dropout from higher education: A theoretical synthesis of recent research.” Review of Educational Research. 45, 1 (Winter): 89-125.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย