การเปรียบเทียบผลการเรียนและระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาระดับปริญญาโท ตามสถาบันเดิมก่อนเข้าศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ฐานิตา ลิ่มวงศ์
  • ณัฐภพ บัวหลวง
  • สุภาภรณ์ ชูช่วย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.8

คำสำคัญ:

ผลการเรียน, ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา, สถาบันเดิม

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนเข้าศึกษาและหลังสำเร็จการศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา และวิเคราะห์แจกแจงความแตกต่างของผลการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาโท โดยแบ่งกลุ่มตามสถาบันการศึกษาเดิมเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) มหาวิทยาลัยมหิดล 2) มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติอื่นๆ ยกเว้นมหาวิทยาลัยมหิดล และ 3) มหาวิทยาลัยอื่นๆ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาโทที่สำเร็จการศึกษาแล้วจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 605 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องจากระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่า F-Test แบบ [One-Way ANOVA] โดยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
         1) ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนเข้าศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า ไม่แตกต่างกัน และหลังสำเร็จการศึกษาทั้ง
3 กลุ่ม พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลกับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติไม่แตกต่างกัน และสูงกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
         2) ผลการวิเคราะห์แจกแจงความแตกต่างของผลการเรียนหลังสำเร็จการศึกษา มีดังนี้
             2.1 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนสูงสุด รองลงมาคือ
มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ตามลำดับ
             2.2 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีผลการเรียนแต่
ละช่วงชั้นสูงขึ้นและเท่ากับผลการเรียนเข้า ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นๆ มีผลการเรียนแต่ละช่วงชั้นสูงขึ้น เท่ากับหรือต่ำกว่า
             2.3 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีการกระจายค่า
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อย และมหาวิทยาลัยอื่นๆ มีการกระจายค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมาก
             2.4 ผลการเรียนหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทระดับ A, B+, B ส่วนใหญ่มาจากมหาวิทยาลัย มหิดล และระดับ C+, C ส่วนใหญ่มาจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ
         3) ผลการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ และ
มหาวิทยาลัยอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน

References

มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย. (2556)ข้อบังคับมหาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557.กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

ปรีดา เบ็ญคาร และจงกล บัวแก้ว. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรีตามภูมิหลังก่อนเข้ารับศึกษาในคณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 16 พฤษภาคม 2557. สงขลา : 841-50.ปฐมา อาแวม, มนสิการ เปรมปราชญ์ และพิศมัย

เพียรเจริญ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และผลการเรียนระดับมหาวิทยาลัย กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2546 – 2550. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี. ปัตตานี: 64-68.

Bloom, B. S. (1976). Human chartacteristics and school learning. New York: Mc Graw-Hill, p. 73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย