การศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2016.20คำสำคัญ:
ระยะเวลา, สารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์, ฟลูออไรด์ไอออนซีเล็คทีฟอิเล็กโทรดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เป็นการศึกษาระยะเวลาการเก็บที่เหมาะสมของสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์ที่ยังสามารถนำมาทำ Calibration Curve ได้จาก Expandable Ion Analyzer EA 940 โดยเตรียมจากสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์ความเข้มข้น 100 ppm โดยปกติการเตรียมสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์สำหรับค่า Calibration Curve จะต้องเตรียมใหม่เสมอ ทุกครั้งที่เตรียม Calibration Curve ทำให้เกิดปัญหาการสิ้นเปลื้องทั้งสารเคมีและเวลา ในช่วงการเตรียมสารมาตรฐานฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้นต่างๆ สำหรับทำ Calibration Curve ในกรณีที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา ตัวอย่างความเข้มข้นของปริมาณฟลูออไรด์ 0.1 1.0 และ 10.0 ppm ซึ่งเก็บในตู้เย็น 4 องศาเซลเซียส นำมาวัดปริมาณฟลูออไรด์ในแต่ละสัปดาห์จนครบ 9 สัปดาห์ วิเคราะห์ปริมาณฟลูออไรด์ออกมาทุกตัวอย่างด้วย Expandable Ion Analyzer EA 940 โดยทำการเตรียมสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์ขึ้นใหม่ทุกครั้งที่ทำการ Calibration Curve เครื่อง วัดปริมาณฟลูออไรด์จากตัวอย่างที่เก็บไว้ บันทึกค่าไว้ เพื่อหาค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นของฟลูออไรด์ จากนั้นทำการวัดปริมาณฟลูออไรด์ซ้ำในทุกสัปดาห์จนครบกำหนด นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS Version 16
ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า ฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 0.1, 1.0 และ 10.0 ppm ในสภาวะอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน พบว่าเมื่อวัดปริมาณความเข้มข้นของฟลูออไรด์ตั้งแต่ ตั้งต้น จนถึง สัปดาห์ที่ 9 ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ทั้ง 3 ค่า (0.1, 1.0 และ 10.0 ppm) เมื่อดูจากค่า Mean ±SD พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่ 1 ถึง สัปดาห์ที่ 4 และจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในสัปดาห์ที่ 5 และ 9 ของความเข้มข้นฟลูออไรด์ที่ 10.0 ppm โดยมีค่า Mean ±SD เท่ากับ 10.94 ±.055 และ 10.78 ±.045 ตามลำดับ
บทสรุป ค่าเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบค่าความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์ 0.1, 1.0 และ 10 ppm พบว่าเมื่อพิจาณาจากค่าเฉลี่ย และกราฟพบว่าค่าในช่วงตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสัปดาห์ที่ 4 ในสภาวะอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะนำใช้ในในการสร้าง Calibration Curve เพื่อการวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของฟลูออไรด์ ซึ่งการทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบที่ควรต้องควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
References
2. Dean HT, Chronic endemic dental fluorosis (mottled enamel). J Am Med Assoc. 1936; 107: 1269-72.จ.นครปฐม
3. Ericsson Y, State of fluoride in milk and its absorption and retention when administered in milk. Acta. Odont. Scand. 1958; 16: 51-57.
4. Heifetz SB. Horowitz HS. The amounts of fluoride in current fluoride therapies: safety consideration for children. J Dent Child. 1984; 257-69.
5. LG Sillen, AE Martell. Stability constants of metal-ion complexes. Special Publication #17. London: The Chemical Society. Burlington House. 1964.
6. Robinson C, Kirkham J, Weatherell JA. Fluoride in teeth and bone. In Fejerskov O, Ekstrand J, Burt BA, eds. Fluoride in Dentistry, 2nd ed. Copenhagen: Munksgaard. 1996; 69-87.
7. Ten Cart JM, Featherstone JDB. Physiochemical aspects of fluoride-enamel interactions. In Fejerskov O, Ekstrand J, Burt BA, eds. Fluoride in Dentistry, 2nd ed. Copenhagen: Munksgaard. 1996; 252-72.
8. Volker, J.F., Sognnaes, R.F., Bibby, B.G. Studies on the distribution of 18F in the bones and teeth of experimental animals. Amer. J. Physiol. 1941; 132:707–712.