การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามผลการตรวจสอบภายใน

ผู้แต่ง

  • วิมลสิริ ศรีสมุทร

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.9

คำสำคัญ:

ตรวจสอบภายใน, ระบบสารสนเทศ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามผลการตรวจสอบภายใน  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามผลการตรวจสอบภายใน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามผลการตรวจสอบภายใน ที่ใช้ในการประเมินเพื่อหาค่าประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามผลการตรวจสอบภายในโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และผู้ใช้ระบบจำนวน 5 คน

          การพัฒนาระบบมีขั้นตอนในการดำเนินการ  ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ระบบงานเดิม  2) การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  3) การกำหนดความต้องการของระบบ  4) การออกแบบและพัฒนาระบบ  5) การทดสอบระบบ และ 6) การประเมินการพัฒนาระบบ

          จากการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามผลการตรวจสอบภายในที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพของระบบที่ได้รับจากประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน  อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65  และมีค่าประสิทธิภาพของระบบที่ได้รับการประเมินจากผู้ใช้ระบบ จำนวน 5 คน อยู่ในระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57 จากผลการประเมินดังกล่าวจึงอาจสรุปได้ว่าระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามผลการตรวจสอบภายในเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการติดตามผลการตรวจสอบของงานตรวจสอบภายใน และจะช่วยให้งานตรวจสอบภายในสามารถดำเนินการติดตามผลการตรวจสอบได้อย่างครบถ้วนในทุกหน่วยรับตรวจ

References

กรมบัญชีกลาง. (2555). แนวทางประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

กรมบัญชีกลาง. (2558). รายงานผลการประเมินการประกันคุณภาพ งานตรวจสอบภายในภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

กรมบัญชีกลาง. (ม.ป.ป.). แนวปฏิบัติการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

พิเชษฐ์ จันทวี, สุธาสินี ขุนเพ็ชร, และธนภัทร เจิมขวัญ. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานตรวจสอบภายใน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. ทุนอุดหนุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย