การพัฒนาเว็บไซต์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • วรินทร ซอกหอม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นครินทร์ ชัยแก้ว สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.10

คำสำคัญ:

การพัฒนาเว็บไซต์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา, วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ, การพัฒนาระบบสารสนเทศแบบวนซ้ำ

บทคัดย่อ

การพัฒนาเว็บไซต์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยาในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาด้านการศึกษาให้เหมาะสมแก่ผู้เยี่ยมชม นิสิต และบุคลากร โดยใช้กรอบเนื้อหาจากมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชั่น 2.0 ความต้องการและทิศทางการพัฒนาจากผู้บริหาร การค้นคว้าความเหมาะสมของเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยได้เลือกใช้ภาษา PHP (Personal Home Page) พัฒนาบน Laravel Framework จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Database Relationship) จัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในระบบ ในด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศได้ใช้วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC : System Develop life Cycle) ในรูปแบบหลักการพัฒนาระบบสารสนเทศแบบวนซ้ำ (Iterative Model) รองรับลักษณะการดำเนินงานที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ในด้านการประเมินผลการดำเนินงานได้เลือกใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ประเด็น ด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บไซต์ ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และด้านประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้ใช้งานระบบทั่วไปอยู่ในระดับมาก

References

ศิริลักษณ์ ทวีปวน. (2555) การพัฒนาเว็บไซต์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สมุทรปราการ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/

เกษมศักดิ์ ทองตัน. (2558) การพัฒนาเว็บไซต์สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/

ดุจมาดา ชูสงค์. (2550) พฤติกรรมการเปิดรับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์คณะของนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสาร ศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักหอสมุด. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/

Tegarden, David Paul, Alan Dennis, and Barbara Haley Wixom. (2013) Systems Analysis Design UML Version 2.0: An Object-Oriented Approach.

Tutorialspoint.com. n.d. (2020). SDLC - Iterative Model. from: https://www.tutorialspoint.com/sdlc/sdlc_iterative_model.htm

Tutorialspoint.com.(2020). Laravel Tutorialspoint Simply Easy Learnning. From : https://www.tutorialspoint.com/laravel/laravel_tutorial.pdf

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, (2003). การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)

สำนักรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน), (2018). มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย