การศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิของแผ่นประคบร้อนที่สัมพันธ์กับความหนา ของผ้าห่อแผ่นประคบร้อน ในช่วงเวลา 20 นาที

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุช ศรีไกรยุทธ
  • วรรณเฉลิม ชาววัง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.5

คำสำคัญ:

แผ่นประคบร้อน, เครื่องมือกายภาพบำบัด, หม้อต้มแผ่นประคบร้อน, แผลผุพอง

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิแต่ละช่วงเวลา ต่อความหนาของผ้าห่อแผ่นประคบร้อนที่ความหนา 4 เซนติเมตร  และ 2 เซนติเมตร

          วิธีการวิจัย ทำการทดลองในห้องที่มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 22-25 องศาเซลเซียส นำแผ่นประคบร้อนที่แช่ใน Hydrocollator  ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส มากกว่า 1 ชั่วโมง ถูกเตรียมโดยการห่อด้วยผ้าขนหนู ที่ทำด้วยผ้าฝ้าย 100 % ขนาด 27 X 54 นิ้ว ที่ถูกพับครึ่งแล้ววางซ้อนทับกันให้ได้ความหนา 4 เชนติเมตร และ 2 เชนติเมตร ในด้านที่จะใช้วางบนเครื่องวัดอุณหภูมิ  จากนั้นนำมาวางบนหมอนที่มี digital thermometer บริเวณกึ่งกลางของหมอน โดยวางด้านที่มีความหนาของแผ่นประคบร้อน เริ่มใช้นาฬิกาจับเวลา และทำการวัดอุณหภูมิตั้งแต่นาทีที่ 1  ถึงนาทีที่ 20 บันทึกอุณหภูมิทุกนาที จนครบ 20 นาที ด้วยความหนาของผ้าชุดละ 25 ครั้ง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสถิติ SPSS version PASW statistics 18 ใช้ student T-test ในการเปรียบเทียบอุณหภูมิของความหนาของผ้าที่ใช้ห่อแผ่นประคบร้อนที่ 2 และ 4 เซนติเมตร

          ผลการศึกษา: ในการใช้แผ่นประคบร้อนที่ความหนาของผ้าห่อ 4  เชนติเมตร ต้มในหม้อต้มที่อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 76.71±0.90 องศาเซลเซียส ตั้งแต่นาทีที่ 1 ถึงนาทีที่ 20 อุณหภูมิเฉลี่ย อยู่ในช่วง 22.86±0.63 องศาเซลเชียส ถึง 39.64 ±2.47 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 31.24±5.80 องศาเซลเชียส แผ่นประคบร้อนที่ความหนาของผ้าห่อ 2 เชนติเมตร ต้มในหม้อต้มที่อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 77.30±.44 องศาเซลเซียส ตั้งแต่นาทีที่ 1 ถึงนาทีที่ 20 อุณหภูมิเฉลี่ย อยู่ในช่วง 23.92 ±1.18 องศาเซลเชียส ถึง 48.69 ±1.64 องศาเซลเชียส พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยที่41.45 ±7.88 องศาเซลเชียส และอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างเห็นได้ชัดเจนในช่วงนาทีที่ 3 ถึง นาทีที่ 15 ตามเวลาที่เปลี่ยนไปที่อุณหภูมิ 30.25±3.02 องศาเซลเชียส ถึง 47.80±2.27 องศาเซลเชียส เมื่อเปรียบเทียบความหนาของผ้า พบว่าอุณหภูมิของผ้าที่ใช้ห่อแผ่นประคบร้อนมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p- value<  0.01)

          สรุปผลการศึกษา พบว่า ความหนาของผ้าที่ใช้ห่อแผ่นประคบร้อน ขนาด 2 เซนติเมตร และ 4 เซนติเมตร  มีความแตกต่างต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของแผ่นประคบร้อนอย่างมีนัยสำคัญ

References

1. กันยา ปาละวิวัธน์. การรักษาด้วยเครื่องไฟฟ้าทางกายภาพบำบัด. กรุงเทพ: บริษัทสำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด. 2543; 260-94.

2. กัลยา วิริยะ , สายสุนี ทองสัมฤทธิ์ , วิรีภรณ์ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ , ฟ้าใส พุ่มเกิด , วิลาวัลย์ ไทรโรจน์รุ่ง . ผลของการประคบร้อนและเย็นต่อการลดปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอด. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2554

3. ดารารัตน์ เบญจบุญญานุภาพ, อาทิตย์ พวงมะลิ, อุบล พิรุณสาร. การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลังจากลำดับการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อนร่วมกับคลื่นเสียงความถี่สูงบริเวณจุด

4. ธาริณี ขันธวิธ. การตรวจวัดประสิทธิภาพแผ่นประคบความร้อนของงานกายภาพบำบัด, เข้าถึงได้จาก www.klanghospital.go.th/.../435_การตรวจวัดประสิทธิภาพแผ่นประคบความร้อน.pdf

5. รังสินี พูลเพิ่ม การนำความร้อนไปใช้ในการลดความเจ็บปวดระยะที่ 1ของการคลอด. วารสารพยาบาลกองทัพบก 2557:15(2): 23-7.

6. ศศิธร พุ่มดวง. การลดปวดในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2546;21(4): 291-300.

7. เสาวนีย์ เหลืองอร่าม, โอปอร์ วีรพันธุ์. ผลของระยะเวลาต้มในน้ำร้อนต่อประสิทธิภาพของแผ่นร้อน ,วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ขอนแก่น. 2559;28(3): 300-8.

8. สุรัสวดี มรรควัลย์. สรีรวิทยาของการใช้ความร้อนเพื่อการรักษา.เข้าถึงได้จาก http://www.google.co.th/url?url=http://home.kku.ac.th/surmac/surussawadi49/word-study-document/3.

9. Lehman JF, Silverman D, Baum B, Kirk N, Johnson V. Temperature distribution in the human thigh produced by infrared, hot pack and microwave applications. Arch Phy Med and Rehab.1996; 47: 29-99.

10. Mun JH, Jeon JH, Jung YJ, Jang KU, Yang HT, Lim HJ, et al. The factors associated with contact burns from therapeutic modalities. Ann Rehabil Med. 2012; 36: 688-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย