การศึกษาเปรียบเทียบบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนจากมหาวิทยาลัยที่ติด 100 อันดับแรกในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกเฉพาะสาขาโดย QS และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของโลกโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย

ผู้แต่ง

  • กุลชา เลิศสิทธิพันธ์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุทธิศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.43

คำสำคัญ:

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก, QS Rankings, UI GreenMetric, ผลงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาแนวทางในการประเมินผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของโลกโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (UI GreenMetric) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวัดศักยภาพของมหาวิทยาลัยในด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีการศึกษาเปรียบเทียบตัวชี้วัดในระดับมหาวิทยาลัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ระหว่างมหาวิทยาลัยที่ติด 1 ใน 100 จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก 3 ประเภท ได้แก่ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขยวโลกโดย UI การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับโลกโดย QS สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาวิทยาศาสร์การเกษตร การศึกษานี้เก็บข้อมูลจำนวนผลงานวิจัยในระดับนานาชาติจากฐานข้อมูล ISI และ Scopus และใช้สถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลแบบไม่อิงพารามิเตอร์ได้แก่ Kruskal-Wallis Test

            ผลการศึกษาจากการเก็บข้อมูลจำนวน 191 มหาวิทยาลัย พบว่า มหาวิทยาลัยที่ติด 1 ใน 100 โดยการจัดอันดับของ UI มีความโดดเด่นของผลงานวิจัยในด้านความยั่งยืนและเทคโนโลยีสะอาด ธุรกิจและการจัดการ เศรษฐศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์โดยเฉพาะประเด็นเรื่องพลังงานหมุนเวียน มหาวิทยาลัยที่ติด 1 ใน 100 โดยการจัดอันดับของ QS สาขาการเกษตรมีความโดดเด่นในงานวิจัยสาขานิเวศวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร และประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่วนมหาวิทยาลัยในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมพบว่ามีความโดดเด่นเพียงประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยส่วนมากมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีชื่อเสียงในระดับโลก และมีผลงานตีพิมพ์ที่หลากหลายสาขา จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึง การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของโลกที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์กับมหาวิทยาลัยที่มีความต้องการพัฒนาศักยภาพทางด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน การจัดการพลังงานหมุนเวียนที่จะส่งผลโดยตรงต่อหลักการสร้างความสมดุลทั้ง 3 มิติ คือด้านสิ่งแวดล้อม ด้านศรษฐกิจ และสังคม

References

กุลชา เลิศสิทธิพันธ์, และสุทธิศักดิ์ ศรีสวัสดิ์. (2562). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนนการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก กับสัดส่วนบทความวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนบนฐานข้อมูล Scopus. การประชุมวิชาการมหาสารคามวิจัยครั้งที่ 15. จังหวัดมหาสารคาม: ประเทศไทย.

ธรัช อารีราษฎร์. (2557). มหาวิทยาลัยสีเขียว : การดาเนินงานกรีนไอที.วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 1(2), 64-77.

สุรวุฒน์ ช่อไม้ทอง. (2560). ปัจจัยขับเคลื่อนและความท้าทายต่อการนำนโยบายพลังงานหมุนเวียนสู่การปฏิบัติ: ประสบการณ์จากประเทศจีนและประเทศมาเลเซีย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 13(2), 78-99.

สุวรรณา ประณีตวตกุล, ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์, และกัมปนาท วิจิตรศรีกมล. (2562). ผลลัพธ์ ผลกระทบ และความยั่งยืนของการลงทุนงานวิจัย: กรณีศึกษาโครงการวิจัย ด้านปลานิล.Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(6), 2235-2249.

สมหวัง ศรีมุงคุณ,เบญจ์ พรพลธรรม,พลศักดิ์ จิรไกรศิริ, และวิทยา มีเนตรทิพย์. (2558). การพัฒนารัฐวิสาหกิจสู่องค์การแห่งความยั่งยืน: กรณีศึกษา บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน). วารสารช่อพยอม, 26(2), 87-98.

อนิรุทธิ์ ต่ายข่าว. (2557). พลังงานหมุนเวียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6 (2), 9-18.

อภินันท์ สีม่วงงาม. (2558). ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานกับโอกาสในการเป็นมหาวิทยาลัยเขียว. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(3), 137-145.

Adams, W. (2006). The future of sustainability: re-thinking environment and development in the twenty-first century. IUCN Renowned Thinkers Meeting.

Al Kuwaiti, A., Downing, K., & Subbarayalu, A. V. (2019). Performance of Saudi Universities in Global Rankings and appropriate strategies for its improvement. Library Philosophy and Practice, 2019.

Clarivate. (2020). ISI Web of Science Database. Retrieved 20 March – 30 April, 2020, from www.webofknowledge.com

Cohen, J. (1992). A power primer.

Psychological Bulletin, 112(1), 155-159.

Elsevier B.V. (2020). Scopus Database. Retrieved 20 March – 30 April, 2020, from https://www.scopus.com/search/form.uri?display=basic

Kivinen, O., Hedman, J., & Artukka, K. (2017). Scientific publishing and global university rankings. How well are top publishing universities recognized? Scientometrics, 112(1), 679-695.

Lauder, A., Sari, R. F., Suwartha, N., & Tjahjono, G. (2015). Critical review of a global campus sustainability ranking: GreenMetric. Journal of Cleaner Production, 108, 852-863.

Lozano, R., Ceulemans, K., & Scarff Seatter, C. (2015). Teaching organisational change management for sustainability: Designing and delivering a course at the University of Leeds to better prepare future sustainability change agents. Journal of Cleaner Production, 106, 205-215.

Lukman, R., Krajnc, D., & Glavič, P. (2010). University ranking using research, educational and environmental indicators. Journal of Cleaner Production, 18(7), 619-628.

N.K, S., Mathew K, S., & Cherukodan, S. (2018). Impact of scholarly output on university ranking. Global Knowledge, Memory and Communication, 67(3), 154-165.

Parvez, N., & Agrawal, A. (2019). Assessment of sustainable development in technical higher education institutes of India. Journal of Cleaner Production, 214, 975-994.

Puertas, R., & Marti, L. (2019). Sustainability in universities: DEA-GreenMetric. Sustainability, 11(11), 3766.

QS Quacquarelli Symonds Limited. (2019). QS World University Rankings by Subject 2019. Retrieved 15-20 March, 2020, from https://www.topuniversities.com/subject-rankings/2020

Ragazzi, M., & Ghidini, F. (2017). Environmental sustainability of universities: Critical analysis of a green ranking. Energy Procedia, (119), 111-120.

Suwartha, N., & Berawi, M. A. (2019). The role of Ui greenmetric as a global sustainable ranking for higher education institutions. International Journal of Technology, 10(5), 862-865.

Suwartha, N., & Sari, R. F. (2013). Evaluating UI GreenMetric as a tool to support green universities development: Assessment of the year 2011 ranking. Journal of Cleaner Production, 61, 46-53.

UI GreenMetric. (2019). Guideline UI GreenMetric world university rankings 2019 “Sustainable university in a changing world: lessons, challenges and opportunities”. Retrieved 15 March, 2020, from http://greenmetric.ui.ac.id/

UI GreenMetric. (2019). UI GreenMetric Rankings 2019. Retrieved 15 March, 2020, from http://greenmetric.ui.ac.id/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย