การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานประกอบการด้วยหลักอริยสัจ 4
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2019.11คำสำคัญ:
รูปแบบ, การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด, สถานประกอบการ, หลักอริยสัจ 4บทคัดย่อ
ประชากรวัยแรงงานเป็นวัยที่มีศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ หากประชากรวัยแรงงานหลงผิดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร รัฐบาลได้เล็งเห็นสำคัญดังกล่าวจึงได้มีนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกลุ่มแรงงานในสถานประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกลุ่มแรงงานในสถานประกอบการยังไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานกลาง จนกระทั่งปี 2561-2562 คณะทำงานจัดการองค์ความรู้สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้จัดทำองค์ความรู้รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการขึ้นและเพื่อให้เหมาะกับบริบทสังคมไทยที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ผู้เขียนจึงได้มีการพัฒนารูปแบบดังกล่าวด้วยการสังเคราะห์แก่นหลักอริยสัจ 4 กับบทเรียน และแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ เพื่อหาข้อสรุปโดยให้เหตุผลเชิงอุปมาน เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการด้วยหลักอริยสัจ 4 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการรูปแบบดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการให้สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้จริง ยั่งยืน และเหมาะกับบริบทวิถีสังคมไทยมากยิ่งขึ้น มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เจ้าของสถานประกอบการ แรงงาน และประชาชนโดยรอบ นำองค์ความรู้ใหม่ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของตนเอง เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
References
2. จรัส ลีกา และคณะ. (2562). พุทธจริยศาสตร์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น,6 (1) : 76.
3. นิภาภัทร อยู่พุ่ม และคณะ. (2561). ยุทธศาสตร์บูรณาการเชิงพุทธเพื่อสร้างสังคมปลอดยาเสพติดในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น,5 (1) : 254.
4. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2553). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
5. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
6. พุทธทาส อินทปัญโญ. (2554). อริยสัจ สำหรับคนสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.
7. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
8. สุวิชาญ รักษ์รตนากร. (2558). บทเรียนการดำเนินงานป้องกัน แก้ไข และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.
9. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ).
10. อภิรัชศักดิ์ รัชนีวงศ์. (2555). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดด้วยวิถีเชิงพุทธ.วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา,1 (2) :104.