โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็ง: แนวทางการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยโรค
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็ง, ค่า D-dimer, การตรวจเพทซีทีด้วยสารเภสัชรังสี, โรคหลอดเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือดที่ไม่ทราบสาเหตุ, ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติบทคัดย่อ
ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดที่ตรวจไม่พบสาเหตุถึงแม้ว่าจะได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างครบถ้วนแล้ว (cryptogenic stroke) ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดทั้งหมด โดยพบเป็นสาเหตุจากโรคมะเร็งประมาณร้อยละ 5-10 ด้วยความรู้ที่ก้าวหน้าขึ้นในปัจจุบันทำให้โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็งได้รับการวินิจฉัยมากขึ้น จากเดิมซึ่งมักจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันประเภทไม่ทราบสาเหตุ การวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อนดังกล่าว ส่งผลเสียให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และการวินิจฉัยต้นเหตุของโรค กล่าวคือ การสืบค้นโรคมะเร็งนั้นล่าช้าออกไป การเข้าใจถึงกลไกการเกิดโรคและแนวทางการสืบค้นเพื่อให้ได้มาซึ่งการวินิจฉัยโรคจึงมีความสำคัญ อันจะนำไปสู่การรักษาและการป้องกันการเกิดโรคซ้ำในระยะยาว การตรวจหาสาเหตุ ได้แก่ การตรวจเคมีในเลือด D-dimer, fibrinogen, hs-CRP ได้เข้ามามีบทบาทในการบ่งชี้สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็ง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดยังไม่ชัดเจน การตรวจภาพถ่ายทางรังสีสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีลักษณะหลายรอยโรคในหลายขอบเขตของหลอดเลือดแดง (multiple lesions within multiple arterial territories) ช่วยให้พิจารณาถึงสาเหตุจากโรคมะเร็งมากขึ้น รวมไปถึงการสืบค้นหามะเร็งต้นเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันด้วยการตรวจเพทซีที เพื่อตรวจดูการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายในระดับโมเลกุล (FDG PET/CT) และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การเรียนรู้ของเครื่อง เพื่อใช้ในการจำแนกกลุ่มผู้ป่วยระหว่าง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็งและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ไม่สัมพันธ์กับโรคมะเร็งซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนานั้นย่อมนำไปสู่การวินิจฉัยโรคและการรักษาป้องกันที่ถูกต้องตามมา บทความนี้จะช่วยให้เกิดแนวทางการสืบค้นโรคที่นำไปสู่การวินิจฉัยโรคได้ดียิ่งขี้น
References
Selvik HA, Bjerkreim AT, Thomassen L, Waje-Andreassen U, Naess H, Kvistad CE. When to Screen Ischaemic Stroke Patients for Cancer. Cerebrovasc Dis. 2018;45(1-2):42-47. doi:10.1159/000484668
Navi BB, Reiner AS, Kamel H, et al. Arterial thromboembolic events preceding the diagnosis of cancer in older persons. Blood. 2019;133(8):781-789. doi:10.1182/blood-2018-06-860874
Kuo, HsunYu & Liu, Tsai-Wei & Huang, Yo-Ping & Chin, Shy-Chyi & Ro, Long-Sun & Choi, Sungwon. (2023). Differential Diagnostic Value of Machine Learning–Based Models for Embolic Stroke. Clinical and Applied Thrombosis/Hemostasis. 29. 10.1177/10760296231203663.
Chaturvedi S, Ansell J, Recht L. Should cerebral ischemic events in cancer patients be considered a manifestation of hypercoagulability?. Stroke. 1994;25(6):1215-18. doi:10.1161/01.str.25.6.1215
Finelli PF, Nouh A. Three-Territory DWI Acute Infarcts: Diagnostic Value in Cancer-Associated Hypercoagulation Stroke (Trousseau Syndrome). AJNR Am J Neuroradiol. 2016;37(11):2033-36. doi:10.3174/ajnr.A4846
Navi BB, Kasner SE, Elkind MSV, Cushman M, Bang OY, DeAngelis LM. Cancer and Embolic Stroke of Undetermined Source. Stroke. 2021;52(3):1121-30. doi:10.1161/STROKEAHA.120.032002
Graus F, Rogers LR, Posner JB. Cerebrovascular complications in patients with cancer. Medicine (Baltimore). 1985;64(1):16-35. doi:10.1097/00005792-198501000-00002
El-Shami K, Griffiths E, Streiff M. Nonbacterial thrombotic endocarditis in cancer patients: pathogenesis, diagnosis, and treatment. Oncologist. 2007;12(5):518-23. doi:10.1634/theoncologist.12-5-518
Cocho D, Gendre J, Boltes A, et al. Predictors of occult cancer in acute ischemic stroke patients. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2015;24(6):1324-28. doi:10.1016/j.jstrokecerebrovasdis.2015.02.006
Beyeler M, Birner B, Branca M, et al. Development of a Score for Prediction of Occult Malignancy in Stroke Patients (Occult-5 Score). J Stroke Cerebrovasc Dis. 2022;31(8):106609. doi:10.1016/j.jstrokecerebrovasdis.2022.106609
Seystahl, K., Gramatzki, D., Wanner, M. et al. A risk model for prediction of diagnosis of cancer after ischemic stroke. Sci Rep 13, 111 (2023). https://doi.org/10.1038/s41598-022-26790-y
Hsu JY, Liu AB. Anticoagulants for cancer-associated ischemic stroke. Ci Ji Yi Xue Za Zhi. 2019;31(3):144-148. doi:10.4103/tcmj.tcmj_55_19
Kabrhel C, Mark Courtney D, Camargo CA Jr, et al. Factors associated with positive D-dimer results in patients evaluated for pulmonary embolism. Acad Emerg Med. 2010;17(6):589-97. doi:10.1111/j.1553-2712.2010.00765.x
Seok JM, Kim SG, Kim JW, et al. Coagulopathy and embolic signal in cancer patients with ischemic stroke. Ann Neurol. 2010;68(2):213-19. doi:10.1002/ana.22050
Hyung-Min Kwon, Bong Su Kang, Byung-Woo Yoon, Stroke as the first manifestation of concealed cancer, Journal of the Neurological Sciences, Volume 258, Issues 1–2, 2007, Pages 80-83, https://doi.org/10.1016/j.jns.2007.02.035.
Schwarzbach CJ, Fatar M, Eisele P, Ebert AD, Hennerici MG, Szabo K. DWI Lesion Patterns in Cancer-Related Stroke--Specifying the Phenotype. Cerebrovasc Dis Extra. 2015;5(3):139-45. Published 2015 Oct 30. doi:10.1159/000439549
Bang OY, Chung JW, Lee MJ, et al. Cancer-Related Stroke: An Emerging Subtype of Ischemic Stroke with Unique Pathomechanisms. J Stroke. 2020;22(1):1-10. doi:10.5853/jos.2019.02278
Carrier M, Le Gal G, Wells PS, Fergusson D, Ramsay T, Rodger MA. Systematic review: the Trousseau syndrome revisited: should we screen extensively for cancer in patients with venous thromboembolism?. Ann Intern Med. 2008;149(5):323-33. doi:10.7326/0003-4819-149-5-200809020-00007
Choi KH, Kim JH, Kim JM, et al. d-dimer Level as a Predictor of Recurrent Stroke in Patients With Embolic Stroke of Undetermined Source. Stroke. 2021;52(7):2292-2301. doi:10.1161/STROKEAHA.120.033217
Heo J, Lee H, Seog Y, et al. Cancer Prediction With Machine Learning of Thrombi From Thrombectomy in Stroke: Multicenter Development and Validation. Stroke. 2023;54(8):2105-13. doi:10.1161/STROKEAHA.123.043127
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทยเล่มนี้ ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้นิพนธ์ ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการแต่อย่างใด การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็นของบทความไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเล่มนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร