Journal Information
Publication Ethics
มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย
หน้าที่และความรับผิดชอบของนิพนธ์ (Author)
- ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอบทความ ผลงานวิจัยด้วยความถูกต้องและไม่เคยตีพิมพ์ที่มาก่อน ทั้งนี้หากตรวจพบว่า บทความมีการตีพิมพ์ซ้ำ/ซ้ำซ้อน (duplication/plagiarism) จะถือว่าผู้นิพนธ์ได้กระทำผิดด้านจริยธรรมการตีพิมพ์และอาจถูกดำเนินการเพิกถอนบทความนั้น
- ผู้นิพนธ์ควรเปิดเผยชี้แจงข้อมูลผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) รวมทั้งแหล่งทุนวิจัย
- บทความ ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ต้องได้รับความยินยอมจากคณะผู้นิพนธ์ทุกคน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนส่งผลงานเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้นิพนธ์และลำดับรายชื่อผู้นิพนธ์ ภายหลังผลงานได้รับการพิจารณาตอบรับการตีพิมพ์แล้ว
- ผู้นิพนธ์ควรอ้างอิงผลงานของผู้อื่นและรวบรวมในเอกสารอ้างอิง (references) ท้ายบทความหรือผลงานวิจัย ตามคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประเมินบทความ (Reviewer)
- ผู้ประเมินบทความควรทบทวน ให้ความเห็นเชิงวิชาการและประเมินตัดสินบทความ ด้วยความ ยุติธรรม เป็นกลาง และปราศจากอคติ
- ผู้ประเมินบทความซึ่งอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบและปฏิเสธคำเชิญให้ทบทวนบทความนั้น ๆ
- หากไม่สามารถทบทวนบทความหรือผลงานวิจัยได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันทีและปฏิเสธคำเชิญให้ทบทวนเพื่อให้บรรณาธิการสามารถติดต่อผู้ประเมินบทความท่านอื่นได้ต่อไป
- ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับ ไม่เปิดเผยต้นฉบับบทความตลอดจนความเห็น คำตัดสินแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง (confidentiality)
หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการวารสาร (Editor)
- บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับต้นฉบับให้กับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง
- บรรณาธิการควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ต้นฉบับได้รับการพิจารณาเพื่อการเผยแพร่โดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานี้อย่างน้อยสองคน
- บรรณาธิการดำเนินการวารสารเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้อ่านและผู้นิพนธ์
- บรรณาธิการรักษาคุณภาพและมาตรฐานวิชาการของบทความที่ตีพิมพ์และปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอ
- บรรณาธิการเปิดโอกาสให้มีอิสรภาพ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
- บรรณาธิการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
- บรรณาธิการพร้อมที่จะตีพิมพ์การแก้ไขความผิดพลาด คำชี้แจง การเพิกถอนบทความ และการขออภัย หากจำเป็น
หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้อ่าน
- บรรณาธิการควรรักษาคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์
- เปิดเผยให้ผู้อ่านทราบเกี่ยวกับผู้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยและบทบาทของผู้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยในการทำวิจัยนั้น ๆ
หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้นิพนธ์
- บรรณาธิการประเมินบทความที่ตีพิมพ์และพัฒนากระบวนการประเมินเพื่อให้ได้บทความที่มีคุณภาพ
- การตัดสินที่จะยอมรับหรือปฏิเสธบทความที่ตีพิมพ์ของบรรณาธิการต่อ ควรพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ (originality) และความชัดเจนของบทความ ตลอดจนเนื้อหาบทความซึ่งควรมีความสอดคล้องกับขอบเขตของวารสาร
- ควรมีการชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการประเมินบทความ (peer review) และหากกระบวนการดังกล่าวได้คลาดเคลื่อนไปจากกระบวนการปกติซึ่งได้ระบุไว้ บรรณาธิการควรมีความพร้อมในการชี้แจงได้
- วารสารควรกำหนดให้มีกระบวนการซึ่งผู้นิพนธ์สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อบรรณาธิการได้ หากความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินของบรรณาธิการ
- จัดพิมพ์คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ และปรับปรุงคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรเปลี่ยนแปลงคำตัดสินโดยการยอมรับบทความที่ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ไปแล้ว ยกเว้นกรณีพบปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการส่งบทความเพื่อพิจารณา
- บรรณาธิการใหม่ไม่ควรเปลี่ยนแปลงคำตัดสินโดยการยอมรับบทความที่ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์จากบรรณาธิการคนก่อนไปแล้ว เว้นแต่จะสามารถระบุปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้
หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ
- บรรณาธิการควรจัดพิมพ์คำแนะนำสำหรับผู้ประเมินบทความ
- บรรณาธิการควรมีระบบซึ่งปกป้องข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆของผู้ประเมินบทความ
กระบวนการพิจารณาประเมินบทความ
- ควรมีระบบจัดการความปลอดภัยของข้อมูล บทความตลอดจนข้อมูลที่ส่งเข้ามายังวารสารต้องได้รับการปกปิดเป็นความลับในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ
การร้องเรียน
- บรรณาธิการควรตอบข้อร้องเรียนในทันทีและแสดงให้เห็นถึงกระบวนการอย่างชัดเจนว่าผู้ร้องเรียนสามารถทำการร้องเรียนได้เพิ่มเติมหากไม่ได้รับความพอใจ ตลอดจนสามารถส่งข้อร้องเรียนซึ่งไม่ได้รับการแก้ไขไปยังคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ได้
การสนับสนุนการอภิปราย
- ควรเปิดเผยคำวิจารณ์ในประเด็นเชิงวิชาการของผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ยกเว้นกรณีที่มีเหตุผลอันสมควรต่อการไม่เปิดเผยคำวิจารณ์นั้น ผู้นิพนธ์บทความดังกล่าวควรมีโอกาสในการชี้แจงตอบกลับได้ ทั้งนี้รวมถึงการศึกษาซึ่งมีผลขัดแย้งกับผลงานที่เคยได้รับการตีพิมพ์ไปแล้ว หรือการศึกษาซึ่งผลออกมาในเชิงลบ
การสนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการ
- บรรณาธิการควรตรวจสอบรายละเอียดในงานวิจัยซึ่งได้รับการตีพิมพ์ให้มีความถูกต้อง สอดคล้องกับแนวทางหลักจริยธรรมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
- ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เหมาะสม เช่น คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย (research ethics committee), คณะกรรมการทบทวนประจําสถาบัน (institutional review board) อย่างไรก็ตามบรรณาธิการควรตระหนักว่า การอนุมัติดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นการรับประกันว่างานวิจัยนั้นถูกต้องตามหลักจริยธรรม
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- บรรณาธิการควรรักษาข้อมูลส่วนบุคคลเป็นความลับ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ในการดำเนินการวิจัยในคน จำเป็นต้องมีเอกสารลงนามยินยอมสำหรับงานวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ป่วย (informed consent) รวมถึงกรณีชื่อหรือภาพถ่ายของผู้ป่วยปรากฏในรายงานผู้ป่วยหรือบทความ ยกเว้นกรณีบทความนั้นมีความสำคัญต่อการสาธารณสุขมีความยากลำบากในการได้มาซึ่งเอกสารยินยอม และบุคคลผู้นั้นไม่คัดค้านต่อการตีพิมพ์เผยแพร่ (ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งสามประการ)
การติดตามความประพฤติมิชอบ
- กรณีที่พบเหตุอันสงสัยเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบ บรรณาธิการไม่ควรปฏิเสธบทความทันที ควรสอบสวนข้อเท็จจริงจากผู้ถูกกล่าวหา ผู้ว่าจ้างหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานกำกับดูแลด้วยความเป็นธรรม อีกทั้งบรรณาธิการควรพยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
การรับรองความถูกต้องสมบูรณ์ของผลงานทางวิชาการ
- หากตรวจพบข้อความหรือเนื้อหาบทความที่ไม่ถูกต้อง นำไปสู่ความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการต้องแก้ไขทันที
- หากตรวจพบการทุจริตภายหลังสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นจากระบบฐานข้อมูลและแจ้งให้ผู้อ่านทราบ
ความสัมพันธ์กับเจ้าของวารสารและสำนักพิมพ์
- บรรณาธิการควรมีอิสรภาพในการพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อตีพิมพ์โดยยึดหลักคุณภาพ มาตรฐานและความเหมาะสม โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจหรือการเมือง
ประเด็นพิจารณาเชิงพาณิชย์
- บรรณาธิการควรเปิดเผยนโยบายด้านการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของวารสารและกระบวนการสำหรับการตีพิมพ์เพิ่มเติม หากตรวจพบการโฆษณาซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจผิด บรรณาธิการต้องตีพิมพ์คำวิจารณ์โดยยึดหลักปฎิบัติเช่นเดียวกันกับวารสารส่วนที่เหลือ
- การตีพิมพ์บทความเดิมซ้ำต้องคงเนื้อหาและลักษณะเดิม ยกเว้นมีส่วนที่ต้องตีพิมพ์การแก้ไขความผิดพลาด
ผลประโยชน์ทับซ้อน
- บรรณาธิการควรมีระบบการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนของบรรณาธิการเอง เจ้าหน้าที่วารสาร ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และสมาชิกกองบรรณาธิการ
กระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนที่มีต่อบรรณาธิการซึ่งส่งมายังคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
- ข้อร้องเรียนอาจถูกส่งมายังคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์โดยผู้นิพนธ์ ผู้อ่าน ผู้ประเมิน บรรณาธิการหรือสำนักพิมพ์ กรณีบรรณาธิการหรือวารสารนั้น ๆเป็นสมาชิกของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
- การร้องเรียนบรรณาธิการวารสาร ควรกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรและถูกส่งไปยังบรรณาธิการโดยตรง หากข้อร้องเรียนไม่ได้รับการแก้ไข สามารถยื่นข้อร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่กำกับดูแลหรือผู้ตรวจการหน่วยงาน ข้อร้องเรียนที่ส่งมายังคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการร้องเรียนต่อวารสาร ทั้งนี้ควรแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาด้วย ทั้งนี้ทางคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์อาจรับพิจารณาเป็นกรณีพิเศษนอกระยะเวลาดังกล่าว ตามความเหมาะสม
- คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์จะไม่พิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาของการตัดสินตีพิมพ์บทความหรือข้อวิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาของกองบรรณาธิการ แต่จะคำนึงถึงกระบวนการ
- คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์จะไม่พิจารณาเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการตีพิมพ์เอกสารมาตรฐานทางจริยธรรมนี้
แนวปฏิบัติในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
- ผู้ร้องเรียนยื่นข้อร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
- เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ตรวจสอบข้อมูลเพื่อเป็นการยืนยันข้อร้องเรียนตามประเด็นดังต่อไปนี้
- เป็นข้อร้องเรียนต่อสมาชิกในคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
- เป็นข้อร้องเรียนที่อยู่ในขอบเขตการรับเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
- เป็นข้อร้องเรียนซึ่งไม่ได้รับการแก้ไข หลังจากส่งผ่านกระบวนการร้องเรียนของวารสาร
- เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ (วันที่ 1มกราคม พ.ศ. 2548)
- ผู้ร้องเรียนต้องส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวกับการร้องเรียนต่อวารสาร และการโต้ตอบที่เกี่ยวข้องกับการรับทราบข้อร้องเรียนจากวารสาร
- ประธานคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ทำการแจ้งให้บรรณาธิการของวารสารทราบถึงข้อร้องเรียนซึ่งส่งมายังคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
- สถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
- บรรณาธิการไม่ให้ความร่วมมือ ในกรณีนี้ประธานของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์แจ้งให้ผู้ร้องเรียนและเจ้าของวารสารทราบ
- บรรณาธิการตอบข้อร้องเรียน โดยมีประเด็นดังนี้
- ประธานของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์และตัวแทน 1คน ซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยสมาชิกในคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ ตัดสินว่าวารสารได้จัดการต่อข้อร้องเรียนจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว และแจ้งข้อมูลต่อผู้ร้องเรียนและบรรณาธิการให้ทราบ
- ประธานของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์และตัวแทน 1คน ซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยสมาชิกในคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ ตัดสินว่ามีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และแจ้งข้อมูลต่อผู้ร้องเรียนและบรรณาธิการให้ทราบ พร้อมทั้งรายงานไปยังคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องของสภาคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
- คณะอนุกรรมการที่พิจารณาตัดสินข้อร้องเรียน ประกอบด้วย ประธาน 1ท่านและสมาชิกของสภาคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์จำนวน 3 ท่าน ซึ่งสมาชิกจำนวน 2 ท่านต้องไม่ใช่บรรณาธิการ และสมาชิกของคณะอนุกรรมการต้องไม่เป็นสมาชิกของสำนักพิมพ์หรือต้นสังกัดเดียวกันกับบรรณาธิการผู้ถูกร้องเรียน
- หากประธานดำรงตำแหน่งอยู่ในสำนักพิมพ์หรือต้นสังกัดเดียวกันกับบรรณาธิการผู้ถูกร้องเรียน ประธานจะแต่งตั้งผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อพิจารณาแทน
- เมื่อข้อร้องเรียนถูกส่งมายังคณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการอาจดำเนินการดังนี้
- เพิกถอนการร้องเรียน และให้ข้อแนะนำ แจ้งเหตุผลต่อผู้ร้องเรียนและบรรณาธิการ
- ลงความเห็นว่า มีการฝ่าฝืนระเบียบที่กำหนด ทั้งนี้คณะอนุกรรมการต้องทำรายงานเสนอต่อสภาคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ เพื่ออธิบายถึงลักษณะของการฝ่าฝืนและให้ข้อแนะนำเพื่อดำเนินการต่อไป
- สภาคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์พิจารณารายงานดังกล่าวและอาจมีการปรับเปลี่ยนข้อแนะนำตามความเหมาะสมได้ จากนั้นจะทำการแจ้งไปยังผู้ร้องเรียน บรรณาธิการ และเจ้าของสำนักพิมพ์หรือวารสาร ทั้งนี้ข้อแนะนำสุดท้ายอาจมีดังนี้
- ให้บรรณาธิการทำการขอโทษต่อผู้ร้องเรียน
- ให้บรรณาธิการตีพิมพ์ข้อความที่ได้รับจากคณะกรรมการจริยธรรมในวารสารของตน
- ให้วารสารปรับปรุงกระบวนการดำเนินการของวารสาร
- ให้บรรณาธิการลาออกจากการเป็นสมาชิกของคณะกรรมการจริยธรรม ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือ
- ให้บรรณาธิการดำเนินการใด ๆ ซึ่งสภาคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมต่อข้อร้องเรียนดังกล่าว
ขั้นตอนการอุทธรณ์
- ผู้ร้องเรียนสามารถยื่นอุทธรณ์คำตัดสินหรือข้อแนะนำของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ได้ โดยสามารถร้องขอรายละเอียดได้ที่คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
(ปรับปรุงจาก COPE – COMMITTEE ON PUBLICATION ETHICS)
อ้างอิงจากhttps://www.publicationethics.org/files/2008%20Code%20of%20Conduct.pdf