ความถูกต้องและความแม่นยำของแบบประเมินที่ดัดแปลงจาก แบบประเมินการกลืนมาตรฐาน (SSA) เพื่อคัดกรองภาวะกลืน ลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
คำสำคัญ:
แบบประเมินการกลืนข้างเตียง, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน, ภาวะกลืนลำบากบทคัดย่อ
จุดประสงค์ เพื่อทดสอบความถูกต้องและความแม่นยำของแบบประเมินการกลืนข้างเตียงที่ดัดแปลง จากแบบประเมิน Standardized Swallowing Assessment (SSA)
วิธีวิจัย ดัดแปลงแบบประเมิน SSA โดยปรับปริมาณน้ำและเพิ่มการทดสอบด้วยอาหาร ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านประเมินความถูกต้องเชิงเนื้อหา จากนั้นทดสอบกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 100 คน ระหว่างเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2562 โดยพยาบาลวิชาชีพ 2 ท่านที่เป็นอิสระต่อกัน ประเมินความเที่ยงโดย Cohen’s Kappa ติดตามผู้ป่วยที่มีผลการประเมินกลืนผ่าน ว่ามีภาวะปอดอักเสบติดเชื้อจากการสำลักหรือไม่ หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 1 เดือน
ผลการวิจัย แบบประเมินนี้มีความแม่นยำเท่ากับ 0.798 ความเที่ยงระหว่างผู้ทดสอบ 2 คนของแบบทดสอบทั้งหมดเท่ากับ 0.83 และความเที่ยงของแต่ละข้อย่อยในแบบทดสอบอยู่ระหว่าง 0.928 – 1.00 ผู้ป่วยเป็นผู้ชายร้อยละ 62 อายุเฉลี่ย 63±15 ปี สมองขาดเลือดร้อยละ 74 เส้นเลือดในสมองแตกร้อยละ 14 สมองขาดเลือดชั่วคราวร้อยละ 11 ผู้ป่วย 94 คนไม่พบความเสี่ยงต่อภาวะกลืนลำบาก และไม่พบภาวะปอดอักเสบติดเชื้อจากการสำลักหลังจากติดตามการรักษาไป 1 เดือน
สรุป แบบทดสอบนี้มีความถูกต้อง 0.798 ความแม่นยำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และมีประโยชน์ในการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกลืนลำบาก
References
2. ปิยะภัทร เดชพระธรรม. ปัญหาการกลืนในผู้สูงอายุ. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2556;23:73-80.
3. Antinios N, Carnaby-Mann G, Crary M, Miller L, Hubbard H, Hood K, et.al. Analysis of a physician tool for evaluating dysphagia on an inpatient stroke unit: the modified Mann Assessment of Swallowing Ability. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2010;19(1):49-57.
4.พรชัย สถิรปัญญา. ภาวะการกลืนผิดปกติในระบบประสาท. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2550;25:561-568.
5. Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, Adeoye OM, Bambakidis NC, Becker K, et al. 2018 guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke. 2018;49(3):e46-e99.
6. Joundi RA, Martino R, Saposnik G, Giannakeas V, Fang J, Kapral MK. Predictors and outcomes of dysphagia screening after acute ischemic stroke. Stroke. 2017;48(4):900–906.
7. Campbell GB, Carter T, Kring D, Martinz C. Nursing bedside dysphagia screen: Is it valid?. J Neurosci Nurs.2016;48(2):75-79.
8. Ellis AL, Hannibal RR. Nursing swallow screen: Why is testing water only not enough?. J Neurosci Nurs.2013: 45(5): 244- 253.
9. สมสุดา ยาอินทร์, เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ, ภัทรา วัฒนพันธุ์. ความสอดคล้องของการประเมินภาวะกลืนลำบากสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยพยาบาล. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2555; 22: 27-33.
10. Ramsey DJ, Smithard DJ, Kalra L. Early assessments of dysphagia and aspiration risk in acute stroke patients. Stroke.2003;34(5):1252-1257.
11. รุ่งทิวา ชอบชื่น. บทบาทพยาบาลในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก. ศรีนครินทร์เวชสาร.2014;29:13-15.
12. Brodsky MB, Suiter DM, González-Fernández M, Michtalik HJ, Frymark TB, Venediktov R, et al. Screening accuracy for aspirate using bedside water swallow tests: A systematic review and meta-analysis. Chest.2016;150(1):148-162.
13. Vividaki LE, Nasios G, Kosmidou M, Giannopoulos S, Milionis H. Swallowing and aspirate risk: A critical review of non-instrumental bedside screening test. J Clin neurol. 2018;14(3):265-274.
14. Horiguchi S, Suzuki Y. Screening test in evaluating swallowing function. JMAJ.2011; 54(1):31-34.
15. ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ, ปรีดา อารยวิชานนท์, ณัฐเศรษฐ มนิมนากร, ภัทรา วัฒนพันธุ์. ความชุกของภาวะกลืนลำบากระดับช่องปากและลำคอในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2561; 28:49- 53 .
16. Fedder WN. Review of evidenced –based nursing protocol for dysphagia assessment. Stroke.2017;48(4): e99 -e101.
17. Osawa A, Maeshima S, Tanahashi N. Water-swallowing test: screening for aspiration in stroke patients. Cerebrovasc Disease.2013;35(3):276–281.
18. Perry L. Screening swallowing function of patients with acute stroke. Part two: detailed evaluation of the tool used by nurses. J Clin nurs.2001;10(4):474-481.
19. Cichero JAY, Lam P, Steele CM, Hanson B, Chen J, Dantas RO, et al. Development of International Terminology and Definitions for Texture-Modified Foods and Thickened Fluids Used in Dysphagia Management: The IDDSI Framework. Dysphagia. 2017;32(2):293-314
20. Cantor AB. Sample-size calculation for Cohen's kappa. Psychological Methods, 1996;1, 150-153.
21. Nachmias CF, Nachmias D. Research methods in the social sciences. London: Arnold,1998: 467.
22. Landis JR, Koch GG. The measurement of observer agreement for categorical data. Biometrics.1977;33(1):159–174.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทยเล่มนี้ ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้นิพนธ์ ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการแต่อย่างใด การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็นของบทความไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเล่มนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร