การใช้ Alberta stroke program early CT score (ASPECTS) ในการพยากรณ์ความสามารถในการ ใช้ชีวิตของผู้ป่วยภายในระยะเวลา 3 เดือน หลังเกิดภาวะ โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดของ middle cerebral artery ในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
คำสำคัญ:
ASPECTs, Modified Rankin Scale (mRS), โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดของ middle cerebral artery, หอผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดบทคัดย่อ
บทนำ โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับสองของประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปี และทำให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะเป็นอันดับสามในผู้ชาย และอันดับสองในผู้หญิง และเนื่องจากในอนาคตประชากรไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงทำให้แนวโน้มที่ผู้ป่วยจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองมีมากขึ้นเรื่อยๆ การศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาเครื่องมือ Alberta Stroke Program Early CT Score (ASPECTs) ที่ช่วยพยากรณ์ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง และความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยในอนาคต โดยใช้ Modified Rankin Scale ที่สามเดือน
วิธีการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งแบบตัดขวาง โดยทำการเก็บข้อมูล และประเมิน ASPECTs แรกรับในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันของ middle cerebral artery และได้พักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่ 1 กันยายน 2559 ถึง 31 สิงหาคม 2560 และสอบถามข้อมูลผู้ป่วยเพื่อประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้วย Modified Rankin Scale แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้สถิติพรรณนาด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางคลินิกระหว่าง ASPECTs และ Modified Rankin
Scale
ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดของ middle cerebral artery ทั้งหมด 109 คน เป็นเพศชาย 65 คน เพศหญิง 44 คน มีอายุเฉลี่ย 68.01 ปี ASPECTs เฉลี่ยที่ 6.99±1.984 modified Rankin scale เฉลี่ยที่ 2.94±1.964 และพบว่า ASPECTs และ Modified Rankin Scale มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกันอย่างมีนัยสำคัญ (sig = 0.001)
สรุป การใช้ Alberta stroke program early CT score (ASPECTS) สามารถพยากรณ์ความสามารถในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยในระยะเวลา 3 เดือนหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดของ middle cerebral artery ในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ได้อย่างมีนัยสำคัญ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทยเล่มนี้ ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้นิพนธ์ ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการแต่อย่างใด การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็นของบทความไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเล่มนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร