ผลการรักษามะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้าออกทั้งหมด ด้วยวิธีการฉายรังสีแบบสั้น ภายในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วรอนงค์ ถิรมนตรี กลุ่มงานรังสีรักษา โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
  • วิกรานต์ สอนถม กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
  • โสภิต ทับทิมหิน ภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การกลับเป็นซ้ำ, มะเร็งเต้านมผ่าตัดเต้าทั้งหมด, ฉายรังสีแบบสั้น, อัตราการปลอดโรค, อัตราการรอดชีพโดยรวม

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล การฉายรังสีแบบสั้นถูกนำมาใช้ภายหลังการผ่าตัดแบบสงวนเต้าในมะเร็งเต้านม แต่ข้อมูลเกี่ยวกับการนำมาใช้ภายหลังการผ่าตัดเต้าออกทั้งหมดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาระยะยาวเพื่อประเมินประสิทธิภาพและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ ศึกษาผลการรักษามะเร็งเต้านมที่ผ่าตัดเต้าออกทั้งหมดด้วยวิธีการฉายรังสีแบบสั้นเปรียบเทียบกับการฉายรังสีแบบปกติภายในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี

วัสดุและวิธีการ ศึกษาข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเต้าออกทั้งหมด ตามด้วยการฉายรังสี ภายในเดือนมกราคม พ.ศ.2559 ถึงธันวาคม พศ.2563 ในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ฉายรังสีแบบปกติ (50 Gy/25 ครั้ง) และกลุ่มที่ฉายรังสีแบบสั้น (40-42.56 Gy/15-16 ครั้ง) เพื่อเปรียบเทียบ อัตราการกลับเป็นซ้ำเฉพาะที่ อัตราการปลอดโรค และอัตราการรอดชีพโดยรวมที่ 5 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดย Kaplan-Meier method และ Log rank test วิเคราะห์ตัวแปรที่มีผลต่อการรักษาโดย Cox regression analysis

ผลการศึกษา จากผู้ป่วยจำนวน 552 คน ได้รับการฉายรังสีแบบปกติ 361 คน และฉายรังสีแบบสั้น 191 คน ค่ามัธยฐานการติดตามผลการรักษา 46 เดือน พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญของอัตราการกลับเป็นซ้ำเฉพาะที่ใน 5 ปี (87.37 % ในการฉายรังสีแบบปกติและ 86.60% ในการฉายรังสีแบบสั้น (p-value = 0.642))และอัตราการปลอดโรคที่ 5 ปี (65.14% ในการฉายรังสีแบบปกติและ 73.38% ในการฉายรังสีแบบสั้น (p-value = 0.058)) แต่การฉายรังสีแบบสั้นมีอัตราการรอดชีพโดยรวมที่ 5 ปี สูงกว่าการฉายรังสีแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 80.29% และ 70.38% ตามลำดับ (p-value=0.015) ระยะของก้อนมะเร็งและtriple negative subtype ถือเป็นปัจจัยพยากรณ์สำคัญที่มีผลต่ออัตราการกลับเป็นซ้ำเฉพาะที่ และอัตราการรอดชีพ

ข้อสรุป การฉายรังสีแบบสั้นให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกับการฉายรังสีแบบปกติในเรื่องการกลับเป็นซ้ำของโรคและระยะรอดชีพโดยปราศจากโรค อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลาการรักษา และค่าใช้จ่ายของคนไข้

References

EBCTCG, McGale P, Taylor C, Correa C, Cutter D, Duane F, et al. Effect of radiotherapy after mastectomy and axillary surgery on 10-year recurrence and 20-year breast cancer mortality: meta-analysis of individual patient data for 8135 women in 22 randomised trials. Lancet. 2014;383:2127-35.

Overgaard M, Nielsen HM, Tramm T, Hojris I, Grantzau TL, Alsner J, et al. Postmastectomy radiotherapy in high-risk breast cancer patients given adjuvant systemic therapy. A 30-year long-term report from the Danish breast cancer cooperative group DBCG 82bc trial. Radiother Oncol. 2022;170:4-13.

Qi XS, White J, Li XA. Is alpha/beta for breast cancer really low? Radiother Oncol. 2011;100:282-8.

Haviland JS, Owen JR, Dewar JA, Agrawal RK, Barrett J, Barrett-Lee PJ, et al. The UK Standardisation of Breast Radiotherapy (START) trials of radiotherapy hypofractionation for treatment of early breast cancer: 10-year follow-up results of two randomised controlled trials. Lancet Oncol. 2013;14:1086-94.

Whelan TJ, Pignol JP, Levine MN, Julian JA, MacKenzie R, Parpia S, et al. Long-term results of hypofractionated radiation therapy for breast cancer. N Engl J Med. 2010;362:513-20.

Wang SL, Fang H, Song YW, Wang WH, Hu C, Liu YP, et al. Hypofractionated versus conventional fractionated postmastectomy radiotherapy for patients with high-risk breast cancer: a randomised, non-inferiority, open-label, phase 3 trial. Lancet Oncol. 2019;20:352-60.

Liu L, Yang Y, Guo Q, Ren B, Peng Q, Zou L, et al. Comparing hypofractionated to conventional fractionated radiotherapy in postmastectomy breast cancer: a meta-analysis and systematic review. Radiat Oncol. 2020;15:17.

Akl FMF, Khater A. Hypofractionated versus Conventionally Fractionated Radiotherapy in Post-Mastectomy Breast Cancer Patients. Journal of Cancer Therapy. 2018;09:941-54.

Chitapanarux I, Klunklin P, Pinitpatcharalert A, Sripan P, Tharavichitkul E, Nobnop W, et al. Conventional versus hypofractionated postmastectomy radiotherapy: a report on long-term outcomes and late toxicity. Radiat Oncol. 2019;14:175.

Tovanabutra C, Katanyoo K, Uber P, Chomprasert K, Sukauichai S. Comparison of Treatment Outcome between Hypofractionated Radiotherapy and Conventional Radiotherapy in Postmastectomy Breast Cancer. Asian Pac J Cancer Prev. 2020;21:119-25.

Greenbaum MP, Strom EA, Allen PK, Perkins GH, Oh JL, Tereffe W, et al. Low locoregional recurrence rates in patients treated after 2000 with doxorubicin based chemotherapy, modified radical mastectomy, and post-mastectomy radiation. Radiother Oncol. 2010;95:312-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-04

How to Cite

1.
ถิรมนตรี ว, สอนถม ว, ทับทิมหิน โ. ผลการรักษามะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้าออกทั้งหมด ด้วยวิธีการฉายรังสีแบบสั้น ภายในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี. J Thai Assn of Radiat Oncol [อินเทอร์เน็ต]. 4 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 2 เมษายน 2025];31(1):R1-R17. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jtaro/article/view/273237