Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in Microsoft Word document file format. (Font Angsana New, 16 pt)
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 16-point Angsana font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

Author Guidelines

คำแนะนำสำหรับการใช้ทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์: คลิกอ่านเอกสาร

endnote style ได้ที่ คลิกดาวน์โหลด (ens)

CONSENT OF AUTHORSHIP AND DISCLOSURE OF POTENTIAL CONFLICT OF INTEREST  คลิกดาวน์โหลด (doc)

เรื่องที่จะตีพิมพ์

  1. บทบรรณาธิการ (Editorial) เป็นบทแสดงความคิดเห็นทางวิชาการหรือแนวทางการรักษา ศึกษา ค้นคว้าวิจัยทาง วิชาการที่ยังใหม่
  1. นิพนธ์ต้นฉบับ (Original articles) และรายงานผู้ป่วย (Case Report) ซึ่งเป็นผลงานการศึกษา หรือวิจัยของผู้เขียน เอง หรือรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ
  1. บทฟื้นฟูทางวิชาการ (Review articles) เป็นการรวบรวมสรุปหรือวิจารณ์ความก้าวหน้าทางวิชาการ ในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง
  1. ปกิณกะ (Miscellany) เป็น บทความทั่วไปเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น ซักถามปัญหา หรือการรวบรวมบันทึก การอภิปราย บทคัดย่อวารสารที่น่าสนใจ หรือจดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to editor)

การพิจารณาเชิงจริยธรรม

ผู้ประพันธ์ต้องไม่เปิดเผยชื่อของผู้ป่วยในผลงานที่จะตีพิมพ์สำหรับรายงานการศึกษาเชิงปฏิบัติการ (experimental report) ที่มีการใช้เนื้อเยื่อของมนุษย์ ให้ระบุว่าได้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในปัจจุบัน และสำหรับรายงานการศึกษาเชิงปฏิบัติการที่มีการใช้เนื้อเยื่อของสัตว์ทดลองให้ระบุว่าได้ทำการศึกษาภายใต้หลักการที่ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการผู้รับผิดชอบในเรื่องการดูแลและการปฏิบัติต่อสัตว์ทดลอง โดยให้ระบุไว้ในส่วนของวัสดุและวิธีการ (materials and methods)

ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflicts of Interest)

ผู้ประพันธ์ต้องเปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษร (ระบุในรายงาน)ถึงทุกปัจจัยรวมทั้งปัจจัยด้านการเงินที่อาจมีอิทธิผลต่อ การศึกษาผลการศึกษาหรือข้อสรุปจากรายงานการศึกษาวิจัย และจำเป็นต้องระบุหากได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก แหล่งทุนภายนอกเพื่อให้สอดคล้องกับคำประกาศของบรรณาธิการ ผู้ร่วมประพันธ์ทุกท่านต้องมีส่วนร่วมในผลงานการศึกษาวิจัย และควรมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในหนังสือปะหน้าประกอบการส่งเรื่องที่จะตีพิมพ์ รวมทั้งระบุไว้ในส่วนของกิตติกรรมประกาศ (acknowledgements) ในตอนท้ายของรายงานต้นฉบับ

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (Article page charge)

ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสาร Journal of Thai Association of Radiation Oncology ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ วารสารได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย จึงไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์หรือการทบทวนบทความจากผู้นิพนธ์ หรือผู้วิจัยใดๆทั้งสิ้น

การเตรียมต้นฉบับ

      1. ต้นฉบับสามารถพิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หากเลือกใช้ภาษาอังกฤษ กองบรรณาธิการคาดหวังว่าผู้ประพันธ์จะเตรียมต้นฉบับ โดยใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม และหากมีความจำเป็นผู้ประพันธ์ควรพิจารณาส่งผลงานให้แก่เจ้าของภาษาตรวจทาน ก่อนส่ง
      2. ขอให้ผู้ประพันธ์ส่งต้นฉบับ เป็น electronic file ในรูปแบบ Microsoft word เพียง 1 ไฟล์เท่านั้น ในการพิมพ์ให้ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 16 พอยต์ โดยหากเป็นนิพนธ์ต้นฉบับให้เรียงลำดับเนื้อหาดังนี้
        a. บทนำ (Introduction)
        b. วัสดุและวิธีการ (Materials and methods)
        c. ผลการศึกษา (Results)
        d. บทวิจารณ์ (Discussion)
        e. ข้อสรุป (Conclusion)
        f. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)
      3. การอ้างอิงเอกสารในบทความให้ใช้ระบบตัวเลขยกระดับอยู่เหนือข้อความที่อ้างอิงในเรื่องและเอกสารที่อ้างถึงในบทความนั้น การทำ citation ให้ใส่ในรูปแบบ [citation] เป็นตัวยกเรียงตามลำดับตั้งแต่ 1,2,3 จากต้นบทความถึงหลังสุด เช่น มาตรฐานที่กำหนดตามระเบียบปฏิบัติการควบคุมคุณภาพสารกัมมันตรังสีจากองค์กรปรมาณูเพื่อสันติระหว่างประเทศที่แนะนำ[1,2]

บทคัดย่อ (Abstract)

บทความประเภทนิพนธ์ต้นฉบับและรายงานผู้ป่วยจะต้องมีบทคัดย่อเป็นทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ไม่ว่าต้นฉบับจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ตาม โดยบทคัดย่อต้องมีจำนวนไม่เกิน 400 คำ ภายใต้ 5 หัวข้อดังต่อไปนี้

  1. หลักการและเหตุผล Backgrounds
  2. วัตถุประสงค์ objective(s)
  3. วัสดุและวิธีการ materials and methods
  4. ผลการศึกษา results
  5. ข้อสรุป conclusion

คำสำคัญ (Key words)

เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย สามารถระบุคำสำคัญได้ไม่เกิน 5 คำ โดยให้เรียงตามลำดับอักษร

คำย่อ (Abbreviations)

การ ใช้คำย่อ ให้เขียนคำเต็มกำกับคำย่อไว้ในวงเล็บ เมื่อมีการใช้ ณ ตำแหน่งแรกสุด ทั้งในต้นฉบับ ตาราง และรูปภาพ ยกเว้นกรณีที่ใช้คำย่อสำหรับมาตราวัดที่เป็นสากล

สัญลักษณ์และหน่วยมาตราวัด

ควรใช้สัญลักษณ์และหน่วยมาตราวัดที่เป็นสากล โดยอ้างอิงตาม The American Medical Association Manual of Style (9th edition)

การระบุถึงยา ให้ใช้ชื่อสามัญ (generic หรือ chemical name) และไม่ต้องใช้คำย่อ สำหรับรหัสทางยาควรใช้เฉพาะกรณีที่ยังไม่มีชื่อสามัญ กรณีของสิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์ (copyright) รวมทั้งชื่อทางการค้า (trade name) สามารถระบุได้โดยใช้อักษรพิมพ์ใหญ่ในวงเล็บหลังชื่อสามัญ สำหรับชื่อและสถานที่ของบริษัทผู้ผลิตยา รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่กล่าวถึงในต้นฉบับให้เป็นไปตามกฎหมาย ทางการค้า(trademark laws) และควรระบุไว้ในวงเล็บ

ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) สามารถรายงานในหน่วยที่เลือกใช้แต่แรก ดังเช่นข้อมูลของ นํ้าหนักตัวมวล หรืออุณหภูมิ

ตาราง

ควรพิมพ์ตารางในรูปแบบของ Excel หรือ Word การเว้นระยะในแต่ละตารางควรใช้ double-spaced และแยกหน้า โดยให้กำหนดหมายเลขตารางตามลำดับที่กล่าวถึงในต้นฉบับ รวมทั้งระบุชื่อของแต่ละตารางสั้นๆ ซึ่งสามารถเขียนคำบรรยายกำกับไว้ในตอนล่างของตารางได้

รูปภาพ

ผู้ประพันธ์ต้องส่งรูปภาพโดยแนบไว้ในส่วนท้ายของต้นฉบับซึ่งผู้นิพนธ์ควรส่งเฉพาะภาพขาวดำ เนื่องจากวารสารตีพิมพ์เฉพาะสีขาวดำเท่านั้น หากเป็นภาพสีควรแต่งรูปเป็นภาพขาวดำก่อน

ภาคผนวก (Appendices)

เอกสารหรือข้อมูลเสริมควรรวบรวมไว้ในภาคผนวก และจัดลำดับให้อยู่ก่อนหน้าเอกสารอ้างอิง

กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)

การกล่าวคำประกาศเกียรติคุณถึงบุคคล แหล่งทุน ทุนอุดหนุนวิจัย และ ผลประโยชน์ทับซ้อน ควรรวบรวมไว้ในกิตติกรรมประกาศ และจัดลำดับให้อยู่ก่อนหน้าเอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง (References)

เอกสาร อ้างอิงต่างๆให้รวบรวมไว้ในตอนท้ายสุด โดยให้เรียงตามลำดับที่ได้กล่าวถึงในต้นฉบับ ซึ่งสามารถอาศัยหลักการเขียนเอกสารอ้างอิงแต่ละรูปแบบได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้ โดยใช้รูปแบบของ vancouver reference style

ท่านสามารถดาวน์โหลด endnote style ได้ที่ คลิกดาวน์โหลด

Entire book

Sherlock S, Dooley J. Diseases of the liver and biliary system. 9th ed. London: Backwell; 1993.

Book chapter

Hewlett EL. Microbial virulence factors. In: Mandell GL, Douglas RG, Benette JE, editors. Principles and practice of infectious diseases 3rd ed. New York: Churchill Livingstone; 1990. p. 2-9.

Journal article

- Mutirangura A. Quantitative PCR analysis for methylation level of genome: clinical implications in cancer. Asian Biomed. 2007; 1:121-8.

- Futrakul N, Butthep P, Patumraj S, Siriviriyakul P, Futrakul P. Microvascular diseases and endothelial dysfunction in chronic kidney diseases: therapeutic implication. Clin Hemorheol Microcirc. 2006; 34:265-71.

- Udomsawaengsup S, Pattana-arun J, Tansatit T, Pungpapong SU, Navicharern P, Sirichindakul B, et al. Minimally invasive surgery training in soft cadaver (MIST-SC). J Med Assoc Thai. 2005; 88(Suppl 4):S189-94.

Proceedings articles

Bunnag SC. Microcirculation, endothelial cell injury and pathogenesis of non-insulin dependent diabetes mellitus (NIDDM). Proceedings of the third Asian Congress for Microcirculation; 1997 Oct 23-25; Bangkok, Thailland. Bolonga: Monduzzi; 1998. p. 27-32.

Electronic journal articles

Bos R. Health impact assessment and health promotion. Bull World Health Organ [on line]. 2006 [cited 2007 Feb 12]; 84(11):914-5, Available from: https://www.scielosp.org/pdf/bwho/v84n11/v84n11a19.pdf

ส่วนของชื่อผู้แต่งให้ระบุจำนวน 6 ชื่อ ใส่นามสกุลและชื่อ ถ้าหากเกินจำนวน 6 ชื่อ ส่วนที่เหลือให้ใช้เป็น et al. โดยการใช้อักษรย่อควรใช้ตาม Index Medicus ในกรณีของ articles in preparation or articles submitted for publication, unpublished observations, personal communications และอื่นๆ นั้นไม่ควรรวมอยู่ในส่วนของเอกสารอ้างอิง แต่หากมีการอ้างถึงให้ระบุไว้ในต้นฉบับเลย ดังเช่น (P. Futrakul, personal communication) อีกทั้งการได้รับอนุญาตเมื่อมีการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ประพันธ์รูปแบบของการอ้างอิงต้องระบุ ปีพิมพ์; ปีที:ชื่อหน้าเลขหน้าเริ่มต้นบทความ-เลขหน้าสุดท้ายบทความ โดยไม่ต้องใส่วงเล็บและไม่ต้องระบุ DOI

เช็คลิสต์การส่งบทความถึงบรรณาธิการ

ส่งทางระบบ e-journal เท่านั้น

ผู้ส่งบทความกรุณาลงทะเบียน เข้าระบบที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/jtaro/

  1. ทำจดหมายถึงบรรณาธิการ (letter to editor) ระบุ
    a. หัวข้อเรื่องที่จะขอตีพิมพ์ ความสำคัญของบทความที่จะตีพิมพ์
    b. ข้อความแสดงว่าบทความดังกล่าวไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น และไม่ได้ลอกเลียนผลงานวิชาการของบุคคลที่สาม
    c. หากเป็นบทความวิจัยต้องได้รับการรับรองผ่านกรรมการจริยธรรมประจำสถาบัน
    d. ข้อความแสดง conflict of interest
  2. แนบไฟล์ในรูปแบบของ Microsoft word เท่านั้น (Font Angsana New ขนาด 16 พอยต์) เรียงตามลำดับ ดังคำแนะนำด้านบน
  3. ตรวจสอบลำดับของ citation และ format ในการอ้างอิงทั้งหมด

กรุณาตรวจสอบตามขั้นตอนที่ 1-3 ให้เรียบร้อยแล้ว แล้วจึงส่งบทความมาที่บรรณาธิการ 

หากมีข้อสงสัยขอให้อีเมล์ที่ Thairedjournal@gmail.com

Editorial

เป็นบทแสดงความคิดเห็นทางวิชาการหรือแนวทางการรักษา ศึกษา ค้นคว้าวิจัยทาง วิชาการที่ยังใหม่

Case Reports

รายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจ

Miscellany

บทความทั่วไปเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น ซักถามปัญหา หรือการรวบรวมบันทึก การอภิปราย บทคัดย่อวารสารที่น่าสนใจ

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.