การประเมินประสิทธิภาพเครื่อง myQA Daily สำหรับการวัดปริมาณรังสีของเครื่องเร่งอนุภาค

ผู้แต่ง

  • ศักดา กิ่งแก้ว สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • นภปิณฑ์ โสวรรณะ ภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์การแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปณิดา ศิลป์ประกอบ ภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์การแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภัทราวดี พรมงูเหลือม ภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์การแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สรจรส อุณห์ศิริ สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

เครื่องเร่งอนุภาค, myQA Daily, การประกันคุณภาพ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เครื่อง myQA Daily เป็นเครื่องมือสำหรับการประกันคุณภาพของเครื่องเร่งอนุภาค สามารถทดสอบได้ทั้ง dose output, flatness, symmetry, center, field size และ energy นอกจากนี้มี temperature sensor และ pressure sensor เพื่อใช้วัดอุณหภูมิและความดัน
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของเครื่อง myQA Daily ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับการควบคุมคุณภาพของเครื่องเร่งอนุภาคประจำวัน
วัสดุและวิธีการ: ในการประเมินประสิทธิภาพใช้เครื่องเร่งอนุภาค ยี่ห้อ Varian รุ่น TrueBEAM ทดสอบรังสีโฟตอนที่พลังงาน 6 MV และลำอนุภาคอิเล็กตรอนที่พลังงาน 9 MeV พารามิเตอร์ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพ ประกอบด้วย short term reproducibility, linearity, temperature, pressure, dose rate และ output constancy จากนั้นเปรียบเทียบค่าที่ได้จากเครื่อง myQA Daily กับหัววัดรังสีชนิดไอออนไนเซชั่น, เทอร์โมมิเตอร์ และบารอมิเตอร์
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าเครื่อง myQA Daily มีค่า coefficient of variation ของ short-term reproducibility < 0.05% มีการตอบสนองต่อรังสีแบบเป็นเส้นตรง อุณหภูมิและความดันที่วัดจาก sensor ภายในมีความน่าเชื่อถือเหมือนกับเทอร์โมมิเตอร์และบารอมิเตอร์ที่ได้รับการสอบเทียบแล้ว สำหรับการทดสอบ dose rate dependent พบว่าปริมาณรังสีแปรผันอยู่ในช่วง 0.30% และการทดสอบ Output constancy เปรียบเทียบระหว่างเครื่อง myQA Daily กับหัววัดรังสีชนิดไอออนไนเซชั่นมีความแตกต่างที่มากที่สุด 1.30%
ข้อสรุป: เครื่อง myQA Daily มีความน่าเชื่อถือและสามารถใช้ประเมินประสิทธิภาพของเครื่องเร่งอนุภาคประจำวันได้

References

สาขารังสีรักษา และมะเร็งวิทยาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รังสีรักษา. 2559 [สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563]. จาก https://www.chulacancer.net/.

Klein EE, Hanley J, Bayouth J, Yin F-F, Simon W, Dresser S, et al. Task Group 142 reports: quality assurance of medical accelerator. Med Phys. 2009; 36: 4197-212.

IBA Dosimetry GmbH., Schwarzenbruch, Germany. myQA Daily User's Guide. 2019 [Retrieved July 31, 2020]. Available from: https://www.iba-dosimetry.com/product/myqa-daily/.

Podgorsak E.B. Radiation oncology physics: a handbook for teachers and student. Vienna: International Atomic Energy Agency; 2005.

Michael P Barnes, Peter B Greer. Evaluation of the TrueBeam machine Performance check (MPC) beam constancy checks for flattened and flattening filter-free (FFF) photon beams. J Appl clin Med Phys. 2017; 18: 139-150.

Binny D, Lancaster C.M, Karin T, Trapp J.V, Crowe S.B. Monitoring Daily QA3 constancy for routine quality assurance on linear accelerators. Phys Med. 2016; 32: 1479-1487.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-13

How to Cite

1.
กิ่งแก้ว ศ, โสวรรณะ น, ศิลป์ประกอบ ป, พรมงูเหลือม ภ, อุณห์ศิริ ส. การประเมินประสิทธิภาพเครื่อง myQA Daily สำหรับการวัดปริมาณรังสีของเครื่องเร่งอนุภาค. J Thai Assn of Radiat Oncol [อินเทอร์เน็ต]. 13 สิงหาคม 2021 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];27(2):R1-R12. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jtaro/article/view/248723