การศึกษาคุณลักษณะของอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท สำหรับพลังงานรังสีเอกซ์ 6 เมกะโวลต์ในงานรังสีรักษา

ผู้แต่ง

  • ดวงกมล วรรณวิกรม์ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พาชื่น โพทัพ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณนันท์ อุทิตสาร กลุ่มงานรังสีรักษา โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
  • ศุภวิทู สุขเพ็ง ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

อุปกรณ์วัดรังสี, โอเอสแอล, นาโนดอท, รังสีรักษา

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: งานรังสีรักษาใช้รังสีพลังงานสูงในการทำลายเซลล์มะเร็ง การตรวจสอบปริมาณรังสีเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับนั้นถูกต้อง อุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท ถูกนำมาใช้ในการวัดปริมาณรังสี การศึกษาลักษณะของอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท จึงเป็นสิ่งจำเป็นก่อนจะนำมาใช้ในทางคลินิก

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท  สำหรับโฟตอน 6 เมกะโวลต์

วัสดุและวิธีการ: ทำการวัดด้วยอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท (Landauer Inc. , Glenwood, IL, USA) โดยใช้โฟตอน 6 เมกะโวลต์ เพื่อประเมินคุณลักษณะอุปกรณ์ในการนับวัดปริมาณรังสีในหัวข้อดังต่อไปนี้ การจางหายของสัญญาณ ผลการวัดปริมาณรังสีซ้ำ การสูญเสียสัญญาณต่อการอ่านค่า ความเป็นเชิงเส้นต่อปริมาณรังสี การตอบสนองต่อทิศทางของลำรังสี การตอบสนองต่ออัตราปริมาณรังสี และการตอบสนองต่อระยะทางที่ได้รับรังสี วัดปริมาณรังสีโดยทำการการติดตั้งอุปกรณ์ทั้งเทคนิคระยะทางจากแหล่งกำเนิดไปยังอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท (SAD) และเทคนิคระยะทางจากแหล่งกำเนิดไปหุ่นจำลองพลาสติกเทียบเท่าเนื้อเยื่อชนิดแข็ง (SSD) การตั้งค่าการทดลองและพารามิเตอร์เป็นไปตามการใช้งานทางคลินิก หลังจากการฉายรังสีทำการอ่านค่าอย่างน้อย 5 ครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา: ผลการจางหายของสัญญาณของอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท มีค่ามากว่า 15% หลังการฉายรังสีทันทีหลังจากฉายรังสีนาทีที่ 5 เป็นต้นไป  อุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท มีผลการวัดปริมาณรังสีซ้ำ ± 2.5 % และการสูญเสียสัญญาณต่อการอ่านค่า 0.05%/ครั้ง อุปกรณ์วัดรังสีนี้มีความสัมพันธ์กับปริมาณรังสีอ้างอิงแบบเชิงเส้น โดยมีค่า R2 คือ 0.9991 อุปกรณ์วัดรังสีมีการตอบสนองต่อทิศทางของลำรังสีที่มุมตั้งฉากกับอุปกรณ์เท่านั้น อุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอทไม่ขึ้นกับอัตราปริมาณรังสีต่าง ๆ แต่การตอบสนองของอุปกรณ์วัดรังสีมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มระยะทาง SSD

ข้อสรุป: การศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติของอุปกรณ์วัดรังสีก่อนการใช้งานต้องทำโดยผู้ใช้งาน เพื่อการวัดและตรวจสอบรังสีที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย โดยการศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ นี้จะนำไปสู่การรักษาที่มีคุณภาพและลดความผิดพลาดในการรักษาได้

References

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. หลักการรักษาด้วยรังสี. [cited 2020 10 march]; Available from: https://www.chulacancer.net/patient-list-page.php?id=420.

Agazaryan N. Patient specific quality assurance for the delivery of intensity modulated radiotherapy. Journal of Applied Clinical Medical Physics. 2003;4(1):40.

Son J, Baek T, Lee B, Shin D, Park SY, Park J, et al. A comparison of the quality assurance of four dosimetric tools for intensity modulated radiation therapy. Radiology and oncology. 2015 Sep;49(3):307-313.

Spezi E, Angelini AL, Romani F, Ferri A. Characterization of a 2D ion chamber array for the verification of radiotherapy treatments. Physics in medicine and biology. 2005 Jul 21;50(14):3361-3373.

Campajola L, Casolaro P, Capua FD. Absolute dose calibration of EBT3 Gafchromic films. Journal of Instrumentation. 2017;12(08):P08015-P.

Devic S, Tomic N, Lewis D. Reference radiochromic film dosimetry: Review of technical aspects. Physica medica : PM : an international journal devoted to the applications of physics to medicine and biology : official journal of the Italian Association of Biomedical Physics. 2016 Apr;32(4):541-556.

Syam Kumar SA, Sukumar P, Sriram P, Rajasekaran D, Aketi S, Vivekanandan N. A patient-specific quality assurance study on absolute dose verification using ionization chambers of different volumes in RapidArc treatments. Medical dosimetry : official journal of the American Association of Medical Dosimetrists. 2012 Winter;37(4):436-441.

Carlino A, Stock M, Zagler N, Marrale M, Osorio J, Vatnitsky S, et al. Characterization of PTW-31015 PinPoint ionization chambers in photon and proton beams. Physics in medicine and biology. 2018 Sep 19;63(18):185020.

Low DA, Parikh P, Dempsey JF, Wahab S, Huq S. Ionization chamber volume averaging effects in dynamic intensity modulated radiation therapy beams. Medical physics. 2003 Jul;30(7):1706-1711.

ศุภวิทู สุขเพ็ง. เครื่องมือวัดปริมาณรังสีเอกซ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2016:67 - 91.

Alvarez P, Kry SF, Stingo F, Followill D. TLD and OSLD dosimetry systems for remote audits of radiotherapy external beam calibration. Radiat Meas. 2017 Nov;106:412-425.

จินดา ทองเรือง สิริชัย, เธียรรัตนกุล และวีรชัย ดิสวัฒน์ .คุณลักษณะของอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท สำหรับงานรังสีวินิจฉัย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2016;158(3):141-148.

Landauer N. OSL Dosimeters. [cited 2020 10 march]; Available from: https://www.nagase-landauer.co.jp/english/inlight/dosimeters.html.

Dunn L, Lye J, Kenny J, Lehmann J, Williams I, Kron T. Commissioning of optically stimulated luminescence dosimeters for use in radiotherapy. Radiation Measurements. 2013;51-52:31-39.

Jain GK, Chougule A, Kaliyamoorthy A, Akula SK. Study of dosimetric characteristics of a commercial optically stimulated luminescence system. Journal of Radiotherapy in Practice. 2017;16(4):461-475.

Jursinic PA. Characterization of optically stimulated luminescent dosimeters, OSLDs, for clinical dosimetric measurements. Medical physics. 2007 Dec;34(12):4594-4604.

Ponmalar R, Manickam R, Ganesh KM, Saminathan S, Raman A, Godson HF. Dosimetric characterization of optically stimulated luminescence dosimeter with therapeutic photon beams for use in clinical radiotherapy measurements. Journal of cancer research and therapeutics. 2017 Apr-Jun;13(2):304-312.

Viamonte A, da Rosa LA, Buckley LA, Cherpak A, Cygler JE. Radiotherapy dosimetry using a commercial OSL system. Medical physics. 2008 Apr;35(4):1261-1276.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-30

How to Cite

1.
วรรณวิกรม์ ด, โพทัพ พ, อุทิตสาร ค, สุขเพ็ง ศ. การศึกษาคุณลักษณะของอุปกรณ์วัดรังสีโอเอสแอล ชนิดนาโนดอท สำหรับพลังงานรังสีเอกซ์ 6 เมกะโวลต์ในงานรังสีรักษา . J Thai Assn of Radiat Oncol [อินเทอร์เน็ต]. 30 กรกฎาคม 2020 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];26(2):R14-R29. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jtaro/article/view/242269