ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่ออาการผิวหนังอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา

ผู้แต่ง

  • มยุเรศ ปัญญาวงค์ โรงพยาบาลวัฒโนสถ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ
  • นภาพร แก้วนิมิตชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • กนกพร นทีธนสมบัติ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

มะเร็งศีรษะและคอ, รังสีรักษา, อาการผิวหนังอักเสบ, ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุน และให้ความรู้

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา จะได้รับรังสีในปริมาณที่สูง ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับขนาดและระยะของมะเร็ง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิวหนังอักเสบได้สูง จึงมีแนวความคิดในการนำกระบวนการ พยาบาล โดยประยุกต์ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้มาเป็นแนวทางในการดูแลอาการผิวหนังอักเสบใน ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา ซึ่งจะมีผลดีต่อการรักษาด้วยรังสีในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ วัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษาความรุนแรงของอาการผิวหนังอักเสบของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ ที่ได้รับรังสีรักษาในกลุ่มที่ได้รับ ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ 2. เพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของอาการผิวหนังอักเสบของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาระหว่าง กลุ่มที่ได้รับระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ วัสดุและวิธีการ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เป็นการศึกษาผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุน และให้ความรู้ต่ออาการผิวหนังอักเสบ ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยแผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลวัฒโนสถ ศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ จำนวน 32 ราย ผู้วิจัยจัดให้ผู้ป่วย 16 รายแรกเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และ 16 รายหลังจัดเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับ การดูแลตามระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ประกอบไปด้วยการสร้าง สัมพันธภาพ การให้ความรู้ การชี้แนะ การสนับสนุน และการสร้างสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดูแลตนเอง รวมระยะเวลาการ ศึกษา 7 สัปดาห์ การเก็บข้อมูลใช้ แบบประเมินอาการผิวหนังอักเสบ แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกของผู้ป่วยต่อการดูแลผิวหนัง บริเวณที่ฉายรังสี และแบบบันทึกการดูแลผิวหนังแต่ละสัปดาห์ด้วยตัวเองของผู้ป่วย เก็บข้อมูล 7 ครั้ง คือ สัปดาห์ที่ 1 ก่อนทดลอง (T0) สัปดาห์ ที่ 2 (T1) สัปดาห์ที่ 3 (T2) สัปดาห์ที่ 4 (T3) สัปดาห์ที่ 5 (T4) สัปดาห์ที่ 6 (T5) และสัปดาห์ที่ 7 (T6) ผล การทดลองพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของอาการอักเสบของผิวหนัง ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้สถิติใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด และสถิติ ANOVA repeated measures ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับรังสีรักษาทั้งสองกลุ่มมีอาการผิวหนังอักเสบ โดยระดับความรุนแรงของ อาการผิวหนังอักเสบเพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงสัปดาห์ที่ได้รับรังสีรักษา แตกต่างจากระยะก่อนทดลอง (T0) และระหว่างการ ทดลอง (T1 ถึง T6) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และกลุ่มทดลองที่ได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความ รู้ มีความรุนแรงของอาการผิวหนังอักเสบในระหว่างการทดลอง (T1 ถึง T6) ตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ขอ้ สรปุ : ผลจากการศึกษาครั้งนี้ การใช้ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความร้มู าใช้ในการดูแลผ้ปู ว่ ยมะเร็ง ศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา สามารถลดระดับความรุนแรงของอาการผิวหนังอักเสบได้

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

สถิติสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. สาเหตุการตาย 10 อันดับแรก ปี พ.ศ. 2551-2554. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2556]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.19.191/2.3.4-49.xls

พรชัย โอเจริญรัตน์. ศัลยศาสตร์ ศีรษะ คอ และเต้านม (Vol.4). กรุงเทพมหานคร : บริษัทสยามการพิมพ์ จำกัด; 2547.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York : Lawrence Erlbaum Associates; 1998.

อภันตรี กองทอง. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับรังสีรักษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. รังสีรักษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช; 2552.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. อยู่กับมะเร็งอย่างเป็นสุข. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2551.

ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ, สืบวงศ์ จุฑาสิทธิ์, อดุลย์ รัตนวิจิตรศิลป์. ศัลยศาสตร์ ศีรษะ คอ และเต้านม. นนทบุรี: พี ซี เค ดีไซน์; 2552.

อรพรรณ สุพรรณภพ. กระบวนการพัฒนาแผนการดูแลผู้ป่วย: Clinical Pathway for Post Radiation Head and Neck Cancer in Patient Receiving HBOT. ม.ป.ท.; 2552.

Orem, D. E. Nursing concept of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.

สมจิต หนุเจริญกุล. การพยาบาล : ศาสตร์ของการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง; 2543.

วันทนีย์ ดวงแก้ว. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่ออาการปากแห้งและเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2554.

Benomar S, Boutayeb S, Lalya I, Errihani H, et al. Treatment and prevention of acute radiation dermatitis: Cancer Radiotherapy; 2010.

สุจิตรา ชัยกิตติศิลป์. การศึกษาเปรียบเทียบผลการดูแลผิวหนังด้วยวิธีที่แตกต่างกันในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2532.

บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน์. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่กำลังรับรังสีรักษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533.

อภิรดี ชูพันธ์. ผลของการประยุกต์การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-29

How to Cite

1.
ปัญญาวงค์ ม, แก้วนิมิตชัย น, นทีธนสมบัติ ก. ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่ออาการผิวหนังอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา. J Thai Assn of Radiat Oncol [อินเทอร์เน็ต]. 29 ธันวาคม 2015 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];21(2):50-61. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jtaro/article/view/203272