ประสบการณ์อาการวิธีการจัดการกับอาการและ คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ ที่เกิดภาวะน้ำลายแห้งหลังครบรังสีรักษา ณ ศูนย์มะเร็งลพบุรี
คำสำคัญ:
ประสบการณ์อาการ, วิธีการจัดการกับ อาการ, ภาวะน้ำลายแห้ง, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วย มะเร็งศีรษะและคอ, รังสีรักษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์อาการ วิธีการจัดการกับ อาการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและ คอที่เกิดภาวะน้ำลาย แห้งหลังครบรังสีรักษา ตามแบบจำลองการจัดการกับอาการของดอดด์และ คณะ (2001) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งศีรษะ และคอภายหลังครบรังสีรักษาของศูนย์มะเร็งลพบุรี รวม 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงมีนาคม 2551 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ประสบการณ์ อาการ วิธีการจัดการกับอาการและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่เกิดภาวะน้ำลาย แห้งหลังครบการรักษาด้วยรังสี ประกอบด้วยแบบ ประเมินภาวะน้ำลายแห้งที่พัฒนาโดยอิชบุชและ คณะ แบบประเมินคุณภาพชีวิตในภาวะน้ำลายแห้ง พัฒนาโดยเฮนสันและคณะ แบบสอบถามทั้งสอง ส่วนพรรณวดี พุธวัฒนะและคณะนำมาแปลเป็น ภาษาไทย และแบบสัมภาษณ์วิธีการจัดการได้รับ การพัฒนาโดยบุษกร แสงแก้ว (2549)และสุจิรา ฟุ้งเฟื่อง (2550) ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้าน ความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านมีค่า CVI เท่ากับ .95 ทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของแบบประเมินความรุนแรงของภาวะน้ำลาย แห้งและแบบประเมินคุณภาพชีวิตเท่ากับ .81 และ .74 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มี การรับรู้ภาวะน้ำลายแห้ง(90%) มีความรุนแรงของ ภาวะน้ำลายแห้งโดยรวมอยู่ใน ระดับความรุนแรง ปานกลาง อาการที่รับรู้ว่ามีความรุนแรงมาก คือ น้ำลายแห้งจนรู้สึกกลืนอาหารที่แห้งหรือแข็งได้ ยากลำบาก วิธีการจัดการกับภาวะน้ำลายแห้งใน ด้านบรรเทาอาการ ส่วนใหญ่เลือกการรับประทาน อาหารที่มีลักษณะนุ่ม ชุ่มชื้น ชิ้นเล็ก งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จิบน้ำบ่อยๆ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ คาเฟอีนและดื่มน้ำมากกว่า 2000 ซีซีต่อวัน ในด้าน การป้องกันฟันผุส่วนใหญ่เลือกใช้การแปรงฟันอย่าง น้อยวันละ 2 ครั้ง ผลของการจัดการกับอาการด้าน คุณภาพชีวิตพบว่า ภาวะน้ำลายแห้งรบกวน คุณภาพชีวิตโดยรวม ในระดับค่อนข้างมากและ พบว่าความรุนแรงของภาวะน้ำลายแห้งมีความ สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (p=.01) ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าภาวะ น้ำลายแห้งเป็นภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่สำคัญ และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตภายหลังครบรักษาด้วย รังสีของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ ดังนั้นทีมสุขภาพ ควรให้ความสนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยวางแนว ทางการจัดการกับอาการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
References
Otto, S.E. (2001). Chemotherapy. In S.E. Otto (Ed.), Oncology nursing (4th ed., pp. 638-683). Philadelphia: Mosby.
Haggood, A.S. (2001). Head and neck cancer. In S.E. Otto (Ed.), Oncology nursing (pp. 285 - 325). St. Louis: Mosby.
ภัทรจิต บวรสมบัติ. (2547). มะเร็งศีรษะและคอ : การจัดการภาวะแทรกซ้อนในช่องปาก. วารสารพยาบาลศาสตร์, 22(3), 8-14.
Epstein, J.B., Emerton, S., Kolbinson, A., Le, N., Phillips, N., Stevenson, M., et al. (1999). Quality of life and oral function following radiotherapy for head and neck cancer. Head and neck, 21(1). 1-11. Retrieved December 10, 2006, from
http://www3.interscience.wiley.com/cgi-bin/fulltext/30000655/PDFSTART
ประยุทธ์ โรจน์พรประดิษฐ์. (2544). Head and neck cancer. ใน วิชาญ หล่อวิทยา, ไพรัช เทพมงคล, ประมุข พรหมรัตนพงศ์ และชนวัธน์ เทศะวิบุล (บรรณาธิการ.), Manual of radiation oncology (หน้า 64 -84). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพพร แซ่เตีย. (2544). สิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอภายหลังได้รับการฉายรังสี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Dodd, M.J., Miaskowski, C., & Paul, S.M. (2001). Symptom clusters and their effect on the functional status of patients with cancer. Oncology Nursing Forum, 28(3), 465-470.
Eisbruch, M., Kim, H., Terrell, G., Marsh, L., Dawson, L., & Ship, J. (2001) Xerostomia and its predictors following parotid-sparing irradiation of head-and-neck cancer. International journal of Oncology Biology Phhsics, 50(3), 695-704.
Henson, B.S., Inglehart, M.R., Eisbruch, A., & Ship, J.A. (2001). Preserved salivary output and xerostomia-related quality of life in head and neck cancer patients receiving parotid-sparing radiotherapy. Oral oncology, 37(1), 84-93
บุษกร แสงแก้ว. (2549). การสำรวจประสบการณ์อาการที่พบบ่อย การจัดการกับอาการและผลลัพธ์ ของการจัดการในผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมที่มีถิ่นพำนักในภาคกลางของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง. (2550). ประสบการณ์อาการ วิผีการจัดการ และผลของการจัดการกับอาการของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดในศูนย์มะเร็งภาคกลางของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่,
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
นิรมล พจน์ด้วง. (2550). แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลช่องปาก เพื่อบรรเทาภาวะน้ำลายแห้งจากรังสีรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ. สารนิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Jham, BC., Reis, PM., Miranda, EL., Lopes, RC., Carvalho., AL., & Scheper MA. (2007). Oral health status of 207 head and neck cancer patients before, during and after radiotherapy. Clinical Oral Investigation, 12(1), 19-24.
Logemann, J.A., Pauloski, B. R., Rademaker, A. W., Lazarus, C.L., Mittal, B.,& Gazino, J., et al. (2003). Xerostomia: 12-month changes in siliva Production and its relationship to perception and performance of swallow function oral intake and diet after
chemoradiation. Head and Neck, 25(6), 432 -437.
Dirix P., Nuyts, S., & Bogaert, W. (2006). Radiation-induced xerostomia in patients with head and neck cancer. Cancer, 107(11), 2525-2534.
Wijers, O., Levendag, D., & Braaksma, M. (2002). Patients with head and neck cancer cured by radiation therapy: a survey of the dry mouth syndrome in long-term survivors. Head neck, 24, 737-747.
Shakes, J.(2007) The management and treatment of xerostomia from the patients perspective.Retrieved May 27, 2007 from http://www.nutrition.otago.ac.nz/_data/assets/file/0004/1966/dtp_JShakes.pdf.
The British Columbia Cancer Agency. (2005). Cancer management guideline. Retrieved March 27, 2007 from The BC Cancer Agency Web site: http://www.bccancer.bc.ca treatment/Nutrition/Nutritional ChallengesduringCancerTreatment/Dry+Mouth.htm.
Seifert, G., Michike, A., Hanbrich, J., & Chilla, R. (1986). Disorder of secretion. In P.M. Stell (Ed.), Disease of the salivary gland (pp. 70-75). Stutgart: Gutmann & Co.
Davies, A.N. (2000). A comparison of artificial saliva and chewing gum in the management of xerostomia in patient with advance cancer. Palliative Medicine, 14(3), 197-203. Retrieved April 10, 2006, from http://search.epnet.com/direct.asp?jid=31I&db=aph
Olsson, H., & Axell, T. (1991). Objective and subjective efficacy of saliva substitutes containing mucin and carboxymethylcellulose. Scandinavian Journal of Dentristry, 49, 316-319.
Epstein, J.B., & Meij, H.E. (1996). Effects of compliance with fluoride gel application on caries and caries risk in patients after radiation therapy for head and neck cancer. Oral Surgery, Oral Medicine, Oral Pathology, Oral Radiology, & Endodontics, 82(3), 268-275.Retrieved April 25, 2006, from http://www.sciencedirect.com/science?_ ob= ArticleListURL &_method= list&ArticleListID=583754252
National Cancer Institute. Management of oral complication of chemotherapy and Head & Neck radiation. Retrieved August 27, 2007 from National Cancer Institute Web site: http://www.cancer.gov/cancertopics/pdq/supportivecare/
oralcomplications/
Pearson, L.S. & Hutton, J.L. (2002). A control trial to compare the ablity of foam swabs and toothbrushes to remove dental plaque. Journal of Advance Nursing, 39, 480-489.
โขมพักตร์ มณีวัต. (2541). การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนและการให้ความรู้เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Chambers, M.S., Rosenthal, D.I., & Weber, R.S. (2006). Radiation- induced xerostomia. Head & Neck, 29(1), 58-63.
Iwamoto, R.R. (2001). Radiation therapy. In S.E. Otto (Ed.), Oncology nursing (4th ed., pp. 606 - 637). Philadelphia: Mosby. 29. Jellema, AP., Slotman, BJ., Doornaert, P., Leemans, CR. & Langendijk JA. (2007)Impact of radiation-induced xerostomia on quality of life after primary radiotherapy among patients with head and neck cancer. Int J Radiat Oncol Biol Phy, 69(3), 751-760.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมะเร็งวิวัฒน์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับ และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ใน สมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว