จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมการตีพิมพ์ Publication Ethics

มาตรฐานทางจริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์

วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ มีนโยบายเผยแพร่ผลงานวิชาการ รายงานการวิจัย (Research article) บทความวิชาการ (General article) รายงานผู้ป่วย (Case Report) บทความฟื้นวิชา (Review article) บทความพิเศษ (Special article) บทคัดย่อ (Journal abstract) และบทบรรณาธิการ (Editorial) ที่มีคุณภาพมาตรฐานและมีความโปร่งใส สอดคล้องกับมาตรฐานสากลของแนวทางจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงาน (Publication Ethics) ทั้งในด้านของผู้เขียน (Author) ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) และบรรณาธิการ (Editor) วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ จึงได้กำหนดบทบาทตามแนวปฏิบัติจริยธรรมการตีพิมพ์ อ้างอิงจาก คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ (Committee on Publication Ethics: COPE)

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

บรรณาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์  กล่าวคือ:

  1. สนับสนุน ส่งเสริม ควบคุม และกำกับ การเผยแพร่วารสาร ให้ตรงตามนโยบายการตีพิมพ์ของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์
  2. คัดกรอง พิจารณา ตัดสินตอบรับหรือปฏิเสธบทความ ก่อนการดำเนินการประเมินบทความเพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายการตีพิมพ์บทความ
  3. ประเมิน คัดกรอง ตรวจสอบ เสนอแนะ แก่ผู้แต่งบทความก่อนส่งผู้ประเมินบทความ
  4. คัดเลือกผู้ประเมินบทความให้ตรงกับสาขา หรือความเชี่ยวชาญตามเนื้อหาของบทความ โดยผู้ประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งจะไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double blind)
  5. ติดตาม ประสานงาน และตอบรับ ผลการประเมินบทความของผู้ประเมินบทความ
  6. แจ้งผลการพิจารณาของผู้ประเมินบทความให้แก่ผู้แต่ง
    1. พิจารณา ตัดสิน ตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินบทความจำนวน 3 ท่าน โดยใช้ความเห็นพ้องกันตามเสียงส่วนใหญ่ของผู้ประเมินบทความทั้งหมด
    2. กรณีผู้ประเมินบทความคนใดคนหนึ่งพิจารณาปฏิเสธการตีพิมพ์ บรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความให้ทีมบรรณาธิการหลักของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ประเมินบทความอย่างน้อย 1 ท่าน หรือบรรณาธิการจะดำเนินการขอความเห็นของทีมบรรณาธิการของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์เพิ่มอย่างน้อย 2 ท่านต่อผลการพิจารณาของผู้ประเมินบทความและถือตามความเห็นของทีมบรรณาธิการของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์
  7. ติดตาม ตรวจสอบการแก้ไขบทความจากผู้แต่ง โดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินบทความ
  8. ให้คำแนะนำ และเป็นผู้ประสานส่งต่อความเห็นระหว่างผู้แต่งกับผู้ประเมินบทความ กรณีมีข้อขัดแย้งทางวิชาการและข้อคิดเห็น
  9. รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้แต่ง ให้มีการอุทธรณ์ได้หากผู้แต่งมีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
  10. แก้ไขและให้คำแนะนำข้อผิดพลาด การเขียนบทความเพื่อทำให้เกิดความกระจ่าง
  11. ติดตาม ตรวจสอบ จัดทำ และเผยแพร่บทความ อ้างอิงความถูกต้องตามหลักวิชาการ ความสำคัญ และประโยชน์ที่ได้รับของบทความ
  12. เก็บรักษาความลับของข้อมูล เอกสาร บทความของผู้แต่ง ผู้ประเมินบทความ และเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  13. เผยแพร่บทความที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานให้แก่ผู้อ่านอย่างต่อเนื่องตรงเวลา
  14. สร้างมาตรฐานของวารสารให้มีคุณภาพทุกขั้นตอนจนถึงขั้นตอนการเผยแพร่ พร้อมกับดำเนินการปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอ
  15. จัดพิมพ์คำแนะนำการติดต่อ การเขียน รูปแบบ ขั้นตอนการส่งบทความ แก่ผู้แต่งบทความผ่านเว็ปไซต์วารสาร
  16. จัดพิมพ์คำแนะนำการติดต่อ การเขียน รูปแบบ ขั้นตอนการประเมินบทความ แก่ผู้ประเมินบทความผ่านเว็ปไซต์วารสาร
  17. สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
  18. ปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
  19. ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอดหรือถอนบทความ และการขออภัย หากจำเป็น
  20. สนับสนุนผลงานทางวิชาการตามมาตรฐานเรื่องจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  21. สนับสนุนให้มีการชี้แจงการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน(การขัดกันด้านผลประโยชน์)ของบรรณาธิการเองรวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้แต่ง ผู้ประเมินบทความ และสมาชิกกองบรรณาธิการ
  22. มีความอิสระด้านความสัมพันธ์กับสำนักพิมพ์และเจ้าของวารสาร การตัดสินใจเกี่ยวกับการรับบทความเพื่อตีพิมพ์ จะเน้นคุณภาพและหลักวิชาการมากกว่าผลตอบแทนทางการเงินหรือการเมือง

 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้แต่ง

  1. ดำเนินการให้ผลงานวิชาการมีความถูกต้องทางวิชาการ มีรูปแบบและเนื้อหาสอดคล้องกับนโยบายการตีพิมพ์ของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์
  2. ผู้แต่งจะต้องดำเนินการส่งบทความ แก้ไข และตรวจสอบความถูกต้องของบทความผ่านระบบ Thaijo
  3. บทความของผู้แต่งจะได้รับการประเมินความถูกต้องของเนื้อหาทางวิชาการจากผู้ประเมินบทความอย่างน้อย 3 ท่าน
  4. ผู้แต่งจะได้รับผลการประเมินบทความ และดำเนินการแก้ไขบทความตามคำแนะนำของบรรณาธิการและผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัด กรณีไม่แก้ไขในประเด็นที่เสนอแนะ ผู้แต่งสามารถชี้แจงเหตุผลมายังวารสารได้
  5. ผู้แต่งจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของบทความก่อนขึ้นระบบ Thaijo ทั้งนี้หากมีประเด็นผิดพลาดทางวารสารจะไม่ดำเนินการแก้ไขบทคความที่ขึ้นระบบ Thaijo แล้ว
  6. ผู้แต่งติดต่อทีมบรรณาธิการได้ผ่านระบบกระทู้สนทนาในระบบ Thaijo ของวารสาร
  7. บทความของผู้แต่งจะถูกตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเนื้อหา (Plagiarism) จากระบบ Thaijo หากมีความซ้ำซ้อนคัดลอกเกินร้อยละ 20 ผู้แต่งจะต้องชี้แจงและแก้ไข
  8. ผู้แต่งจะต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนเอง
  9. ผู้แต่งจะต้องแสดงหรือมีเอกสารรับรองว่าบทความวิจัยได้การรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  10. ผู้แต่งจะต้องไม่ส่งบทความไปยังวารสารอื่น ๆ ในขณะที่รอพิจารณาตีพิมพ์ หากมีการส่งตีพิมพ์พร้อมกับวารสารอื่น ทางวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์จะดำเนินการยกเลิกากรตีพิมพ์บทความของท่าน

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประเมินบทความ

  1. หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ จะทำการตรวจสอบ ประเมินบทความตามความเชี่ยวชาญ ความถูกต้องทางวิชาการ และให้ความเห็น เสนอแนะ การแก้ไขบทความโดยอิสระ
  2. ผู้ประเมินบทความจะต้องประเมินบทความผ่านระบบ Thaijo หรือผ่านบรรณาธิการ ตามแนวทางการประเมินบทความของวารสารเป็นแนวทางเดียวกัน
  3. ผู้ประเมินบทความทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของบทความตามระเบียบวิธีการวิจัย หลักวิชาการเป็นสำคัญ ส่วนรูปแบบการตีพิมพ์และการพิสูจน์อักษรถือเป็นประเด็นรอง
  4. ผู้ประเมินบทความติดต่อกับบรรณาธิการวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์เพื่อประสานขอข้อมูล หรือเอกสารเพิ่มเติมจากผู้แต่งได้ ทั้งนี้ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่แสดงตนหรือติดต่อกับผู้แต่งโดยตรง โดยยึดหลัก Double blind
  5. กรณีที่ผู้ประเมินพิจารณาปฏิเสธการตีพิมพ์ยังไม่ถือว่าหมดสิทธิ์การตีพิมพ์ในวารสารนี้ บรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความให้ทีมบรรณาธิการหลักของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ประเมินบทความอย่างน้อย 1 ท่าน หรือจะดำเนินการขอความเห็นของทีมบรรณาธิการของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์เพิ่มอย่างน้อย 2 ท่านต่อผลการพิจารณาของผู้ประเมินบทความและถือตามความเห็นของทีมบรรณาธิการของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์
  6. ผู้ประเมินบทความจะไม่เรียกร้องผลประโยชน์จากผู้แต่ง
  7. หากผู้ประเมินบทความเห็นว่าอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมีความสัมพันธ์กับผู้แต่งทางใดทางหนึ่ง ขอให้ผู้ประเมินบทความปฏิเสธการประเมินหรือให้ความเห็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกับบรรณาธิการก่อนทำการประเมินบทความนั้น
  8. ผลการพิจารณาบทความถือเป็นสิทธิ์ขาดของบรรณาธิการวารสาร

อ้างอิงจาก คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ (Committee on Publication Ethics: COPE) https://publicationethics.org/files/2008%20Code%20of%20Conduct.pdf  

 

มาตรฐานทางจริยธรรมการวิจัย

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ ต้องได้รับการพิจารณาและรับรองโดยคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ในสถาบันก่อนดำเนินการวิจัย ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลของแนวปฏิบัติการทำวิจัยในมนุษย์ อ้างอิงจาก ปฏิญญาเฮลซิงกิ (WMA Declaration of Helsinki - Ethical Principles for Medical Research Involving Human Subjects: 2013) แนวปฏิบัติของ CIOMS (International Ethical Guidelines for Health-related Research Involving Humans: CIOMS : 2016) แนวปฏิบัติของ ICH (International Council For Harmonisation Of Technical Requirements For Pharmaceuticals For Human Use:2016) และอาจรวมถึงแนวปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดีที่เกี่ยวข้อง

วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ มีนโยบายให้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในมนุษย์ ผู้วิจัยต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี รวมถึงแสดงเอกสารรับรองโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในสถาบันที่เกี่ยวข้อง ในการส่งตีพิมพ์

                                                                                                   วันที่แก้ไข:4 November 2023_Th