ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลนครพิงค์
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการตนเอง, ภาวะน้ำเกิน, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, พฤติกรรมการบริโภคอาหารบทคัดย่อ
บทนำ: โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาของการสาธารณสุขทั่วโลก ภาวะน้ำเกินพบบ่อยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ดังนั้นการจัดการตนเองที่ดีของผู้ป่วยจึงเป็นส่วนสำคัญ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อน และหลังการทดลองโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ทำการศึกษาระหว่าง 1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567 ณ หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลนครพิงค์ ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมประจำ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความรู้ในการควบคุมภาวะน้ำเกิน พฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำ และน้ำหนักตัวที่ลดลงต่อวัน ก่อน และหลังการทดลอง โดยใช้การทดสอบ paired samples t-test
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 21 คน อายุเฉลี่ย 64.67±12.93 ปี เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.90 มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ร้อยละ 48.38 มีระยะเวลาการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 1 – 5 ปี ร้อยละ 57.10 ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 66.70 ผลการประเมินคะแนนก่อน และหลังโปรแกรมพบว่า ความรู้ในการควบคุมภาวะน้ำเกิน และการบริโภคอาหาร มีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 19.09 ± 4.73 เป็น 22.62 ± 1.86 (p = 0.001) คะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำเพิ่มขึ้นจาก 51.38 ± 6.05 เป็น 58.24 ± 6.22 (p = 0.001) และมีน้ำหนักตัวต่อวันลดลงเฉลี่ยจาก 3.66 ± 1.49 กิโลกรัม เป็น 2.23 ± 0.94 กิโลกรัม (p < 0.001)
สรุป: จากการศึกษานี้ ผู้ป่วยมีความรู้ในการจัดการตนเองดีขึ้น การนำโปรแกรมการจัดการตนเองเข้าไปบูรณาการกับงานประจำเพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ และพฤติกรรมที่ถูกต้องส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นควรนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่นต่อไป
References
Vijitsunthornkul K. Epidemiology and control measures to prevent chronic kidney disease [Internet]. Nonthaburi: Department of Disease Control; c2022 [updated 2022 Jun 25; cited 2023 October 9]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1308820220905025852.pdf [In Thai]
Department of Health, Ministry of Public Health. The Department of Health reveals that Thailand is among the top 5 countries with the highest rates of kidney disease. It is recommended to avoid 8 types of food [Internet]. c2023 [updated 2023 Mar 9; cited 2023 October 9]. Available from: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/090366/ [In Thai]
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Communicate risks and report health behaviors [internet]. 2023 [cited 2023 October 9]. Available from: https://ddc.moph.go.th/brc/new [In Thai]
The Nephrology Society of Thailand, Karunruk Palliative Care center, The Nephrology Nurses Association of Thailand, Kidney Health Service Development Committee, Thai Dietetic Association, Kidney Friends Association of Thailand. Kidney Supportive and Palliative Cares 2023 [Internet]. Bangkok: The Nephrology Society of Thailand; c2023 [update 2023 Jun; cited 2023 October 20]. Available from: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2023/06/e-BOOK-palliative-care.pdf [In Thai]
Planning and Information Department, Nakornping Hospital. Annual patient statistics report at Nakornping Hospital. Chiang Mai: Nakornping Hospital; 2023. [In Thai]
Putthiphol T, Leethong-in M. Development of a Self- Management Program on Volume Overload Control Behaviors among Caregivers and Older Persons with Chronic Kidney Disease Undergoing Hemodialysis : A Pilot. National Graduate Research Conference Research number 20; 2019 Mar 15; Khon Kaen University. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2019. [In Thai]
Rungprai T. The effect of individual and family self-management program on volume overload in older persons with chronic kidney disease undergoing hemodialysis [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2017. [In Thai]
Poolma S. Study of self-management programs regarding water and food consumption in patients with chronic kidney failure. Complete research report, Lampang Hospital. 2018. [In Thai]
Havas K, Bonner A, Douglas C. Self-management support for people with chronic kidney disease: Patient perspectives. J Ren Care. 2016;42(1):7-14. doi: 10.1111/jorc.12140.
Kanfer FH, Gaelick-BL. Self management methods. In: Kanfer FH, Goldstein AP, Editor. Helping people change: A textbook of methods. New York: PergamonPress; 1991.
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods. 2007;39(2):175-91. doi: 10.3758/bf03193146.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
Sittiwang S. Effects of Self-management Promoting Program on Health Behaviors and Blood Pressure Level of Persons with Uncontrolled Hypertension Author [dissertation]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2017. [In Thai]
KanKarn W, Damnok K, Anutrakulchai S. Effectiveness of Care Model for Chronic Kidney Disease Patients Using Integrated Disease Management and Case Management in Primary Care Units, Northeast. Journal of Nursing and Health Care. 2019;37(3):173-82. [In Thai]
Lee MC, Wu SV, Hsieh NC, Tsai JM. Self-Management Programs on eGFR, Depression, and Quality of Life among Patients with Chronic Kidney Disease: A Meta-Analysis. Asian Nurs Res (Korean Soc Nurs Sci). 2016;10(4):255-62. doi: 10.1016/j.anr.2016.04.002.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 โรงพยาบาลนครพิงค์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องบทความในวารสารวิชาการและวิจัยเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลนครพิงค์ และบุคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเองแต่ละท่าน