การศึกษาย้อนหลังเปรียบเทียบขนาดของหลอดเลือดดำลึกที่ขาในภาวะปกติ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลัน และภาวะลิ่มเลือดอุดตันเรื้อรังด้วยวิธีการตรวจอัลตราซาวน์ในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ในโรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัสสร สุขสุคนธ์ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลพระพุทธบาท

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยหลอดเลือดดำลึกที่ต้นขาอุดตัน, หลอดเลือดดำลึกที่ขาหนีบ, หลอดเลือดดำลึกที่ข้อพับเข่า

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดดำลึกที่ขาพบได้บ่อย การตรวจอัลตราซาวด์ดูการยุบตัวของหลอดเลือด ไม่สามารถแยกภาวะดังกล่าวกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันเรื้อรังได้ จึงมีการวินิจฉัยเพิ่ม จากขนาดและการพองตัวของหลอดเลือดดำส่วนที่มีภาวะโรค

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดดำลึกที่ขาและหลอดเลือดแดงที่ตำแหน่งเดียวกันในภาวะปกติ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลัน และภาวะลิ่มเลือดอุดตันเรื้อรังในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะลิ่มเลือดอุดตันด้วยวิธีอัลตราซาวน์

รูปแบบและวิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขา เข้ารับการตรวจด้วยอัลตราซาวน์ในโรงพยาบาลพระพุทธบาท ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 กรกฎาคม 2566 ผ่านโปรแกรมแสดงผลและภาพทางรังสี (envision imaging) จำแนกเป็นกลุ่มภาวะปกติ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและภาวะลิ่มเลือดอุดตันเรื้อรังกลุ่มละ 49 ราย

ผลการศึกษา: ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.10 อายุเฉลี่ย 60.43±15.25 ปี BMI 42.16±8.74 kg/m2 และมีโรคประจำตัว 104 ราย (ร้อยละ 70.75) ความแตกต่างค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดดำลึกที่ขา ระหว่างภาวะปกติและภาวะลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันของ CFV 1.76 มม. (95% CI 0.91-2.60) p<0.001, SFV 1.20 มม. (95% CI 0.55-1.86) p<0.001, Popliteal vein 1.47 มม. (95% CI 0.83-2.11) p<0.001 ระหว่างภาวะปกติและภาวะลิ่มเลือดอุดตันเรื้อรังพบว่า CFV 1.66 มม. (95% CI 0.94-2.38) p<0.001, Popliteal vein 0.70 มม. (95% CI 0.27-1.13) p=0.001, และระหว่างภาวะลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและภาวะลิ่มเลือดอุดตันเรื้อรัง CFV 3.42 มม. (95% CI 2.84-4.01) p<0.001, SFV 1.62 มม. (95% CI 1.02-2.23) p<0.001, popliteal vein 2.18 มม. (95% CI 1.60-2.76) p<0.001. ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดแดงที่ตำแหน่งเดียวกันมีเฉพาะ SFA เพียงเส้นเดียวที่แตกต่างกันในทั้ง 3 กลุ่ม

สรุป: ขนาดของหลอดเลือดดำลึกที่ขาในภาวะลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและเรื้อรังแตกต่างจากภาวะปกติ สามารถใช้วินิจฉัยได้ การศึกษานี้พบข้อจำกัดของการตรวจด้วยอัลตราซาวน์หากพบการยุบตัวของหลอดเลือดดำที่ไม่แนบสนิทควรมีข้อมูลอื่นประกอบในการวินิจฉัย

References

Dauzat M, Laroche JP, Deklunder G, Ayoub J, Quére I, Lopez FM, et al. Diagnosis of acute lower limb deep venous thrombosis with ultrasound: trends and controversies. J Clin Ultrasound JCU. 1997;25(7):343–58. doi: 10.1002/(sici)1097-0096(199709)25:7<343::aid-jcu1>3.0.co;2-a.

Cronan JJ. Ultrasound evaluation of deep venous thrombosis. Semin Roentgenol. 1992;27(1):39–52. doi: 10.1016/0037-198x(92)90045-4.

Bhatt M, Braun C, Patel P, Patel P, Begum H, Wiercioch W, et al. Diagnosis of deep vein thrombosis of the lower extremity: a systematic review and meta-analysis of test accuracy. Blood Adv. 2020;4(7):1250–64. doi: 10.1182/bloodadvances.2019000960.

Cronan JJ. Venous thromboembolic disease: the role of US. Radiology. 1993;186(3):619–30. doi: 10.1148/radiology.186.3.8430164.

Comerota AJ, Katz ML, Hashemi HA. Venous duplex imaging for the diagnosis of acute deep venous thrombosis. Haemostasis. 1993;23(Suppl 1):61–71. doi: 10.1159/000216911.

Needleman L, Cronan JJ, Lilly MP, Merli GJ, Adhikari S, Hertzberg BS, et al. Ultrasound for Lower Extremity Deep Venous Thrombosis: Multidisciplinary Recommendations From the Society of Radiologists in Ultrasound Consensus Conference. Circulation. 2018;137(14):1505-15. doi:10.1161/CIRCULATIONAHA.117.030687.

McArdle M, Hernandez-Vila EA. Management of Chronic Venous Disease. Tex Heart Inst J. 2017;44(5):347–9. doi: 10.14503/THIJ-17-6357.

Saha P, Black S, Breen K, Patel A, Modarai B, Smith A. Contemporary management of acute and chronic deep venous thrombosis. Br Med Bull. 2016;117(1):107–20. doi: 10.1093/bmb/ldw006.

Gornik HL, Sharma AM. Duplex Ultrasound in the Diagnosis of Lower-Extremity Deep Venous Thrombosis. Circulation. 2014;129(8):917–21. doi: 10.1161/CIRCULATIONAHA.113.002966.

Hertzberg BS, Kliewer MA, DeLong DM, Lalouche KJ, Paulson EK, Frederick MG, et al. Sonographic assessment of lower limb vein diameters: implications for the diagnosis and characterization of deep venous thrombosis. AJR Am J Roentgenol. 1997;168(5):1253–7. doi: 10.2214/ajr.168.5.9129422.

Murphy TP, Cronan JJ. Evolution of deep venous thrombosis: a prospective evaluation with US. Radiology. 1990;177(2):543–8. doi: 10.1148/radiology.177.2.2217798.

Keiler J, Seidel R, Wree A. The femoral vein diameter and its correlation with sex, age and body mass index - An anatomical parameter with clinical relevance. Phlebology. 2019;34(1):58–69. doi:0.1177/0268355518772746.

Gaitini D, Kaftori JK, Pery M, Markel A. Late changes in veins after deep venous thrombosis: ultrasonographic findings. Rofo. 1990;153(1):68-72. doi: 10.1055/s-2008-1033334.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14