การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ศรีวรรณ เรืองวัฒนา โรงพยาบาลลำพูน
  • พรธนา แก้วคำปา โรงพยาบาลลำพูน
  • อรทัย ธรรมป๊อก โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศ, การนิเทศทางการพยาบาล, ผู้บริหารระดับต้น, ความปลอดภัยของผู้ป่วย

บทคัดย่อ

ที่มา: การนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เป็นหัวใจสำคัญของการบริหารการพยาบาล เพื่อพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และคุณภาพการพยาบาล

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบ และประเมินผลการนำรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย มาใช้ในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน

วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ระยะเวลาดำเนินงานวิจัยระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 – กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารระดับต้น จำนวน 25 ราย และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 54 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสำหรับผู้บริหารระดับต้น ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ แบบประเมินทักษะ และแบบประเมินสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Samples t-test และ Fisher’s exact probability test

ผลการวิจัย: รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย พัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดการนิเทศทางการพยาบาลของ Proctor และแนวคิดความปลอดภัยของผู้ป่วยของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ การนิเทศเพื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน การนิเทศเพื่อการสนับสนุนเชิงวิชาชีพ และการนิเทศเพื่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน ผลของการนำรูปแบบมาใช้ พบว่า หลังการใช้รูปแบบผู้บริหารระดับต้นมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ (mean+SD=13.88±1.16, p<0.001) และทักษะการนิเทศทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean+SD=4.07±0.28, p<0.001) พยาบาลวิชาชีพผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจต่อการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย อยู่ในระดับมาก (mean+SD=4.06+0.42) และหลังใช้รูปแบบอุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ และปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุปและข้อเสนอแนะ: รูปแบบที่พัฒนาขึ้นช่วยในการพัฒนาความรู้ ทักษะการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้น สร้างความพึงพอใจให้แก่พยาบาลวิชาชีพผู้รับการนิเทศ และช่วยลดอุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้นผู้บริหารทางการพยาบาลทุกระดับควรสนับสนุนให้นำรูปแบบการนิเทศทางคลินิกนี้ ไปช่วยพัฒนาความรู้ด้านการนิเทศทางคลินิกแก่ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นอย่างเหมาะสม

References

Jirathamkhun S, Thepna A, Ongmikiarat T. Nursing Administration in the 4G Era. Bangkok: Faculty of Nursing, Mahidol University; 2016. [In Thai]

Sriyanalak N. Nursing Administration. Bangkok: Thana Press; 2014. [In Thai]

Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention. In: Butterworth T, Cutcliffe JR, Proctor B. Fundamental Themes in Clinical Supervision. London: Routledge; 2001.

Marquis BL, Huston CJ. Leadership roles and management functions in nursing. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.

Yusiri R. Nursing Administration. Bangkok: Pitak Printing; 2013. [In Thai]

Intensive Care Nursing Group Lamphun Hospital. Risk Report in the Intensive Care Nursing Group Lamphun Hospital, 2019 - 2022. Lamphun: Intensive Care Nursing Group Lamphun Hospital; 2022. [In Thai]

Daungkaew W, Mooncheep T, Srisuta A. The development of a professional nurse staffing management model for patient safety, Lamphun Hospital. Journal of Nakornping Hospital. 2023;14(1):176–92. [In Thai]

Jeerapat W, Jeerapat K. Patient Safety Management concept Clinical Practice Process. Bangkok: Elevan Colors; 2015. [In Thai]

World Health Organization. Safe surgery saves lives WHO guidelines for safe surgery 2020 [Internet]. Geneva: World Health Organization; c2020. [cited 2022 Dec 22]. Available from: http://whqlibdoc.who.int/publications /2020/9789241598552_eng.pdf

Hospital Quality Development and Accreditation Institute. Patient Safety Goal: SIMPLE. Nonthaburi: Printing Master; 2015. [In Thai]

Dhupawiroch O. The Development of Participatory Clinical Supervision Model in Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital. Journal of Nursing and H. 2022;40(4):e259680. [In Thai]

Sangmane W, Kaewvichit N, Thongsuk P, Thiangchanya P, Boonyoung N, Kulkea J. The Development of Nursing Supervision Program Model for the First-Line Manager based on 2P safety: SIMPLE (Medication error, Fall) at a Tertiary Care Hospital in Southern Thailand. Princess of Naradhiwas University Journal. 2022;14(1):1-16. [In Thai]

Songkarak S, Khaikeow S, Puttiungkoon B. The Effects of Clinical Supervision Program for First LevelNursing Manager at a Tertiary Level Hospital in Phetchaburi Province. Journal of Charoenkrung Pracharak Hospital. 2018;14(2):35-47. [In Thai]

Juntachum W, Jumpamool A, Volrathongchai K, Sirimontri J, Srijakkot J, Dapha S, et al. Relationship Model between Clinical Supervision and Nursing Outcomes in Intensive Care Units at Tertiary Care Hospitals in the Northeast of Thailand: A Structural Equation Model Analysis. Journal of Sakon Nakhon Hospital. 2023;26(1):115-26. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-20