การสร้างสมการทำนายความลึกที่เหมาะสมของสายสวนหลอดเลือดดำ ของสายสะดือในทารกแรกเกิด

ผู้แต่ง

  • พญ.ประภาวรรณ เมธาเกษร โรงพยาบาลนครพิงค์
  • ปุณยาพร สืบนุช โรงพยาบาลนครพิงค์

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิด, สายสวนหลอดเลือดดำของสะดือ, ตำแหน่งของสายสวนหลอดเลือดดำของสะดือ

บทคัดย่อ

บทนำ: การใส่สายสวนหลอดเลือดดำทางสะดือ (Umbilical venous catheters ;UVC) เป็นหัตการที่สำคัญในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ยาหรือสารน้ำ ปัจจุบันยังไม่มีสมการทำนายความลึกที่เหมาะสมของสายสวนหลอดเลือดดำของสะดือที่เป็นมาตรฐานสากล การคำนวณความลึกของสายสวนหลอดเลือดดำของสะดือนิยมใช้สมการของ Shukla และ Ferrara แต่จากหลายการศึกษาพบว่าวิธีดังกล่าวทำให้ได้ความลึกที่มากเกินไป และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ จึงนำไปสู่การศึกษาเพื่อสร้างสมการทำนายความลึกของสายสวนหลอดเลือดดำของสะดือเพื่อให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์: เพื่อหาสูตรคำนวณความลึกของสายสวนหลอดเลือดดำของสายสะดือในทารกแรกเกิดที่เหมาะสม

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ Retrospective observational cohort design ในผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติโรงพยาบาลนครพิงค์ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 จนถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 รวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำของสะดือสำเร็จ และหาตำแหน่งของสายสวนสะดือที่เหมาะสมโดยวัดตำแหน่งค่าเฉลี่ยกึ่งกลางจากตำแหน่งขอบบนของกระดูกสันหลังทรวงอกที่ 9 และขอบล่างของกระดูกสันหลังทรวงอกที่ 10 จากโปรแกรม INFINIT Version 1.2.3.0 BN8 Interface 2.1.4.6

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำของสะดือตามข้อบ่งชี้ได้สำเร็จ มีจำนวน 135 คน อายุครรภ์เฉลี่ย 34.39 ± 4.35 สัปดาห์ แบ่งเป็นกลุ่มอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ จำนวน 44 คน และอายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 32 สัปดาห์ จำนวน 91 คน ค่าเฉลี่ยความลึกของสายสวนหลอดเลือดดำของสะดือของทารกทั้งหมด และค่าเฉลี่ยความลึกของสายสวนหลอดเลือดดำของสะดือในตำแหน่งที่เหมาะสม คือ 9.43 ± 1.53 และ7.97 ± 1.54 ซม. ตามลำดับ น้ำหนักแรกเกิดมีความสัมพันธ์กับความลึกของสายสวนหลอดเลือดดำของสะดือในตำแหน่งที่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) เมื่อนำน้ำหนักตัวของทารกและค่าเฉลี่ยความลึกของสายสวนหลอดเลือดดำของสะดือในตำแหน่งที่เหมาะสมมาสร้างสมการทำนายความลึก (ซม.) ของสายสวนหลอดเลือดดำของสะดือ ได้สมการคือ (1.10*น้ำหนักตัวแรกเกิด (กิโลกรัม))+5.57 พบว่าค่าความสามารถในการทำนายคิดเป็นร้อยละ 50% (R2=0.4795) เมื่อวิเคราะห์ในกลุ่มทารกแรกเกิดที่อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ จะได้สมการคือ (1.07*น้ำหนักตัวแรกเกิด (กิโลกรัม))+5.70 ค่าความความสามารถในการทำนายคิดเป็นร้อยละ 8.8 (R2=0.0886) ส่วนกลุ่มทารกแรกเกิดที่อายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 32 สัปดาห์ จะได้สมการคือ (1.20*น้ำหนักตัวแรกเกิด (กิโลกรัม))+5.25 ค่าความความสามารถในการทำนายคิดเป็นร้อยละ 44 (R2=0.4350)

สรุปผลการศึกษา: การใส่สายสวนหลอดเลือดดำของสะดือด้วยสมการ (1.10*น้ำหนักตัวแรกเกิด(กิโลกรัม))+5.57 (ซม.) พบว่าทำให้ได้ค่าความลึกของสายสวนสะดือใกล้เคียงกับความลึกของสายสวนหลอดเลือดดำของสะดือในตำแหน่งที่เหมาะสม (P-value = 0.983) 

References

Egan EA, Eitzman DV. Umbilical vessel catheterization. Am J Dis Child. 1971;121(3):213-8. doi:10.1001/archpedi.1971.02100140079005

Tsui BC, Richards GJ, Van Aerde J. Umbilical vein catheterization under electrocardiogram guidance. Paediatr Anaesth. 2005;15(4):297-300. doi: 10.1111/j.1460-9592.2005.01433.x.

Gomella TL, Cunningham MD, Eyal FG. Neonatology, management, procedures, on-call problems, diseases and drugs. 5th ed. New York: McGraw-Hill; 2005.

Park CK, Paes BA, Nagel K, Chan AK, Murthy P; Thrombosis and Hemostasis in Newborns (THiN) Group. Neonatal central venous catheter thrombosis: diagnosis, management and outcome. Blood Coagul Fibrinolysis. 2014;25(2):97-106. doi: 10.1097/MBC.0b013e328364f9b0.

Aiyagari R, Song JY, Donohue JE, Yu S, Gaies MG. Central venous catheter-associated complications in infants with single ventricle: comparison of umbilical and femoral venous access routes. Pediatr Crit Care Med. 2012;13(5):549-53. doi: 10.1097/PCC.0b013e31824fbdb4.

Ergaz Z, Simanovsky N, Rozovsky K, Leil SA, Ofek-Shlomai N, Revel-Vilk S, et al. Clinical outcome of umbilical artery catheter-related thrombosis - a cohort study. J Perinatol. 2012;32(12):933-40. doi: 10.1038/jp.2012.4.

Stuttaford L, Webb J, Smith SL, Powell C, Watkins WJ, Chakraborty M. Estimating insertion length of umbilical arterial and venous catheters in newborn infants: time for change. J Matern Fetal Neonatal Med. 2022;35(19):3770-5. doi: 10.1080/14767058.2020.1838478.

Dunn PM. Localization of the umbilical catheter by post-mortem measurement. Arch Dis Child. 1966;41(215):69-75. doi: 10.1136/adc.41.215.69.

Shukla H, Ferrara A. Rapid estimation of insertional length of umbilical catheters in newborns. Am J Dis Child. 1986 Aug;140(8):786-8. doi: 10.1001/archpedi.1986.02140220068034.

Vali P, Fleming SE, Kim JH. Determination of umbilical catheter placement using anatomic landmarks. Neonatology. 2010;98(4):381-6. doi: 10.1159/000316918.

Verheij GH, te Pas AB, Smits-Wintjens VE, Šràmek A, Walther FJ, Lopriore E. Revised formula to determine the insertion length of umbilical vein catheters. Eur J Pediatr. 2013;172(8):1011-5. doi: 10.1007/s00431-013-1981-z.

Ades A, Sable C, Cummings S, Cross R, Markle B, Martin G. Echocardiographic evaluation of umbilical venous catheter placement. J Perinatol. 2003;23(1):24-8. doi: 10.1038/sj.jp.7210851.

Gupta AO, Peesay MR, Ramasethu J. Simple measurements to place umbilical catheters using surface anatomy. J Perinatol. 2015;35(7):476-80. doi: 10.1038/jp.2014.239.

Harabor A, Soraisham A. Rates of intracardiac umbilical venous catheter placement in neonates. J Ultrasound Med. 2014;33(9):1557-61. doi: 10.7863/ultra.33.9.1557.

Kumar PP, Kumar CD, Nayak M, Shaikh FA, Dusa S, Venkatalakshmi A. Umbilical arterial catheter insertion length: in quest of a universal formula. J Perinatol. 2012;32(8):604-7. doi: 10.1038/jp.2011.149.

Krishnegowda S, Thandaveshwar D, Mahadevaswamy M, Doreswamy SM. Comparison of JSS Formula with Modified Shukla's Formula for Insertion of Umbilical Venous Catheter: A Randomized Controlled Study. Indian Pediatr. 2019;56(3):199-201.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-26

How to Cite

เมธาเกษร พ., & สืบนุช ป. . (2022). การสร้างสมการทำนายความลึกที่เหมาะสมของสายสวนหลอดเลือดดำ ของสายสะดือในทารกแรกเกิด. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์, 13(2), 47–56. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnkp/article/view/255907