ปัจจัยพยากรณ์ที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็กโดยศึกษาย้อนหลัง 5 ปี
คำสำคัญ:
โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ, เด็ก, การพยากรณ์โรค, การวินิจฉัยโรค, อัตราการเสียชีวิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์ที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็ก
วิธีการวิจัย: ศึกษารูปแบบ retrospective cohort study ย้อนหลัง 5 ปี ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเด็กอายุ 0 – 15 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบโดยกุมารแพทย์โรคหัวใจที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพิงค์ ระยะเวลาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2559 จนถึง 1 มิถุนายน 2564 จำนวน 52 คน โดยการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลัง 5 ปี วิเคราะห์ผลการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตระหว่างกลุ่มที่รอดชีวิตและกลุ่มที่เสียชีวิต
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การศึกษาจำนวน 52 คน (ชาย 28 คน และ หญิง 24 คน) ผู้ป่วยเสียชีวิต 15 คน (ร้อยละ 28.8) ค่ามัธยฐานอายุของผู้ป่วยกลุ่มเสียชีวิตและรอดชีวิตอยู่ที่ 6.2 [2-38.9] เดือนและ 18 [4.4-89] เดือนตามลำดับ ส่วนอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมีความหลากหลายของปัจจัยพยาการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย ปัจจัยพยากรณ์ที่มีผลเกี่ยวข้องกับอัตราการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ คือ ผู้ป่วยที่มี chest wall retraction มีค่า Adjusted odds ratio 1.30 ที่ P<0.001, LVEF แรกรับ <55% มีค่า Adjusted odds ratio 2.87 ที่ P=0.045 และ lactate> 8 mmol/L มีค่า Adjusted odds ratio 13.60 ที่ P<0.001 และเมื่อนำปัจจัยข้างต้นดังกล่าวไปคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ พบว่าปัจจัยดังกล่าวสามารถทำนายแนวโน้มการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็กได้ 94.62%
สรุปผลการศึกษา: จากงานวิจัยพบว่าปัจจัยพยากรณ์ที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็ก คือ chest wall retraction การมีค่า LVEF แรกรับน้อยกว่า 55% และระดับ lactate ในกระแสเลือด > 8 mmol/L
References
Bejiqi R, Retkoceri R, Maloku A, Mustafa A, Bejiqi H, Bejiqi R. The Diagnostic and Clinical Approach to Pediatric Myocarditis: A Review of the Current Literature. Open Access Maced J Med Sci. 2019;7(1):162-73.
Tunuguntla H, Jeewa A, Denfield SW. Acute Myocarditis and Pericarditis in Children. Pediatr Rev. 2019;40(1):14-25.
Hsiao HJ, Hsia SH, Wu CT, Lin JJ, Chung HT, Hwang MS, et al. Clinical presentation of pediatric myocarditis in Taiwan. Pediatr Neonatol. 2011;52(3):135-9.
Chang YJ, Hsiao HJ, Hsia SH, Lin JJ, Hwang MS, Chung HT, et al. Analysis of clinical parameters and echocardiography as predictors of fatal pediatric myocarditis. PLoS One. 2019;14(3):e0214087.
Teele SA, Allan CK, Laussen PC, Newburger JW, Gauvreau K, Thiagarajan RR. Management and outcomes in pediatric patients presenting with acute fulminant myocarditis. J Pediatr. 2011;158(4):638-43. e1.
Saji T, Matsuura H, Hasegawa K, Nishikawa T, Yamamoto E, Ohki H, et al. Comparison of the clinical presentation, treatment, and outcome of fulminant and acute myocarditis in children. Circ J. 2012;76(5):1222-8.
Kosaraju A, Goyal A, Grigorova Y, Makaryus AN. Left Ventricular Ejection Fraction. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2021.
Soongswang J, Durongpisitkul K, Nana A, Laohaprasittiporn D, Kangkagate C, Punlee K, et al. Cardiac troponin T: a marker in the diagnosis of acute myocarditis in children. Pediatr Cardiol. 2005;26(1):45-9.
Abrar S, Ansari MJ, Mittal M, Kushwaha KP. Predictors of Mortality in Paediatric Myocarditis. J Clin Diagn Res. 2016;10(6):SC12-6.
Aydin S, Ugur K, Aydin S, Sahin İ, Yardim M. Biomarkers in acute myocardial infarction: current perspectives. Vasc Health Risk Manag. 2019;15:1-10.
Xu D, Zhao RC, Gao WH, Cui HB. A Risk Prediction Model for In-hospital Mortality in Patients with Suspected Myocarditis. Chin Med J (Engl). 2017;130(7):782-90.
Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) vaccines [Internet]. Atlanta, GA: Centers for Disease Control and Prevention (CDC); 2021 [cited 2021 July 6]. Available from: https://www.cdc.gov/vaccines/acip/meetings/slides-2021-06.html
Cheewamaitreewong O. Treatment outcomes in children with myocarditis [Journal article]. Bangkok: Queen Sirikit national institute of children health; 2017.
Tananchai W. Clinical and outcome of pediatric myocarditis in Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital [Report]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2012.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลนครพิงค์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องบทความในวารสารวิชาการและวิจัยเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลนครพิงค์ และบุคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเองแต่ละท่าน