ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจด้วยเอกเรย์คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลสิชล
คำสำคัญ:
ปริมาณรังสีอ้างอิง, ปริมาณรังสี, เอกเรย์คอมพิวเตอร์บทคัดย่อ
ที่มา: ปัจจุบันการตรวจด้วยเอกเรย์คอมพิวเตอร์สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้จำนวนการตรวจด้วยเอกเรย์คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การได้รับปริมาณรังสีจะเพิ่มความเสี่ยงแบบแปรผันตรงต่อการเกิดมะเร็งในอนาคต เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันผู้ป่วยไม่ให้ได้รับรังสีมากเกินความจำเป็นจึงควรมีการสำรวจและเฝ้าระวังการใช้ปริมาณรังสีให้เหมาะสม
วัตถุประสงค์: เพื่อหาค่าปริมาณรังสีของการสร้างภาพด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนศีรษะ ลำคอ ทรวงอก ช่องท้องและเชิงกรานในโรงพยาบาลสิชล ในค่า CT dose index volume (CTDIvol) และ dose length product (DLP)
วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยเก็บค่า CTDIvol และ DLP จากการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนศีรษะ ลำคอ ทรวงอก ช่องท้องและเชิงกราน จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย 100 ราย ในช่วงเวลา 1 กรกฎาคม-30 สิงหาคม 2564 แล้วหาค่าควอไทล์ที่ 3 ของ CTDIvol และ DLP หรือค่าปริมาณรังสีอ้างอิง แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของไทยและต่างประเทศ
ผลการศึกษา: ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากการตรวจด้วยเอกเรย์คอมพิวเตอร์ของ
โรงพยาบาลสิชล ส่วนศีรษะมีค่า CTDIvol 52.3 mGy, DLP 993 mGy.cm ลำคอ CTDIvol 7.4 mGy, DLP 256 mGy.cm ทรวงอก CTDIvol 10.0 mGy, DLP 369 mGy.cm ช่องท้องและเชิงกราน CTDIvol 17.1 mGy, DLP 843 mGy.cm ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงระดับประเทศ พบว่า CTDIvol และ DLP ส่วนศีรษะ ส่วนลำคอ และ ทรวงอกต่ำกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของระดับประเทศไทยและต่างประเทศ ขณะที่ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของ DLP ส่วนช่องท้องและเชิงกรานกลับสูงกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของไทย ACR ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหภาพยุโรป
สรุป : ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงส่วนช่องท้องและเชิงกราน DLP มีค่าสูงกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของไทยและต่างประเทศ บ่งชี้ว่าควรพัฒนาปรับปรุงเทคนิคการสร้างภาพจากรังสีเอกเรย์ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนช่องท้องและเชิงกรานเพื่อลดการใช้ปริมาณรังสีให้น้อยลง
References
Brenner DJ, Hall EJ. Computed tomography--an increasing source of radiation exposure. N Engl J Med. 2007;357(22):2277-84. doi: 10.1056/NEJMra072149.
Mettler FA Jr, Bhargavan M, Faulkner K, Gilley DB, Gray JE, Ibbott GS, et al. Radiologic and nuclear medicine studies in the United States and worldwide: frequency, radiation dose, and comparison with other radiation sources--1950-2007. Radiology. 2009;253(2):520-31. doi: 10.1148/radiol.2532082010.
Rehani MM, Yang K, Melick ER, Heil J, Šalát D, Sensakovic WF, et al. Patients undergoing recurrent CT scans: assessing the magnitude. Eur Radiol. 2020;30(4):1828-36. doi: 10.1007/s00330-019-06523-y.
Costello JE, Cecava ND, Tucker JE, Bau JL. CT radiation dose: current controversies and dose reduction strategies. AJR Am J Roentgenol. 2013;201(6):1283-90. doi: 10.2214/AJR.12.9720.
Smith-Bindman R, Lipson J, Marcus R, Kim KP, Mahesh M, Gould R, et al. Radiation dose associated with common computed tomography examinations and the associated lifetime attributable risk of cancer. Arch Intern Med. 2009;169(22):2078-86. doi: 10.1001/archinternmed.2009.427.
Vassileva J, Rehani M. Diagnostic Reference Levels. AJR Am J Roentgenol. 2015;204(1):W1-W3. doi: 10.2214/AJR.14.12794.
Vañó E, Miller DL, Martin CJ, et al. ICRP Publication 135: Diagnostic Reference Levels in Medical Imaging. Ann ICRP. 2017;46(1):1-144. doi: 10.1177/0146645317717209.
Department of Medical Sciences, Bureau of Radiation and Medical Devices. Radiography referencing diagnostic radiography [Internet]. Bangkok: Bureau of Radiation and Medical Devices; 2018. Available from:http://radiation.dmsc.moph.go.th/post-view/107.
The American College of Radiology. ACR–AAPM–SPR PRACTICE PARAMETER FOR DIAGNOSTIC REFERENCE LEVELS AND ACHIEVABLE DOSES IN MEDICAL X-RAY IMAGING. Virginia: The American College of Radiology; 2018. Available from: https://www.acr.org/-/media/ACR/Files/Practice-Parameters/diag-ref-levels.pdf.
Kanal KM, Butler PF, Sengupta D, Bhargavan-Chatfield M, Coombs LP, Morin RL. U.S. Diagnostic Reference Levels and Achievable Doses for 10 Adult CT Examinations. Radiology. 2017;284(1):120-33.
National Diagnostic Reference Levels in Japan (2020) Japan: Japan Network for Research and Information on Medical Exposure (J-RIME); 2020. Available from: https://www.jsmp.org/en/info/national-diagnostic-reference-levels-in-japan-2020-has-been-released/
Shrimpton PC, Hillier MC, Meeson S, Golding SJ. Doses from Computed Tomography (CT) Examinations in the UK – 2011 Review [Internet]. London: Public Health England; 2014. Available from: https://www.gov.uk/government/publications/doses-from-computed-tomography-ct-examinations-in-the-uk.
EUROPEAN COMMISSION. RADIATION PROTECTION N° 180 Diagnostic Reference Levels in Thirty-six European Countries Part 2/2 [Internet]. Luxembourg: European Union; 2014. Available from: https://ec.europa.eu/energy/sites/ener/files/documents/RP180%20part2.pdf.
Berrington de Gonzalez A, Darby S. Risk of cancer from diagnostic x-rays: Estimates for the UK and 14 other countries. Lancet. 2004; 363:345–351. doi: 10.1148/radiol.2015142728.
Christner JA, Kofler JM, McCollough CH. Estimating Effective Dose for CT Using Dose–Length Product Compared With Using Organ Doses: Consequences of Adopting International Commission on Radiological Protection Publication 103 or Dual-Energy Scanning. AJR Am J Roentgenol. 2010;194(4):881-9.
Pema D, Kritsaneepaiboon S. Radiation Dose from Computed Tomography Scanning in Patients at Songklanagarind Hospital: Diagnostic Reference Levels. J Health Sci Med Res. 2020;38(2):135-43.
Sookpeng S, Butdee C, Sanbunlerng W. A Survey on Radiation Dose from Computed Tomography Examinations in Phitsanulok Province. J Health Sci. 2017;26(1):210-9.
Atlı E, Uyanık SA, Öğüşlü U, Çevik Cenkeri H, Yılmaz B, Gümüş B. Radiation doses from head, neck, chest and abdominal CT examinations: an institutional dose report. Diagn Interv Radiol. 2021;27(1):147-51. doi: 10.5152/dir.2020.19560.
Badawy MK, Galea M, Mong KS, U P. Computed tomography overexposure as a consequence of extended scan length. J Med Imaging Radiat Oncol. 2015;59(5):586-9.
Singh R, Digumarthy SR, Muse VV, Kambadakone AR, Blake MA, Tabari A, et al. Image Quality and Lesion Detection on Deep Learning Reconstruction and Iterative Reconstruction of Submillisievert Chest and Abdominal CT. AJR Am J Roentgenol. 2020;214(3):566-73. doi: 10.2214/AJR.19.21809.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องบทความในวารสารวิชาการและวิจัยเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลนครพิงค์ และบุคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเองแต่ละท่าน