การศึกษาความเสี่ยงเกิดภาวะกระดูกทะลุระหว่างการยึดตรึงกระดูกคอปล้องที่ 2 โดยวิธีใส่สกรูยึดตรึงส่วนลามินาศึกษาในร่างอาจารย์ใหญ่ไทย

ผู้แต่ง

  • ชนกันต์ วณิชชานนท์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ชนกันต์ วณิชชานนท์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ธงชัย ก่อสันติรัตน์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การยึดตรึง, กระดูกคอปล้องที่ 2, การบาดเจ็บต่อเส้นเลือดแดงใหญ่ vertebral, กระดูกแตกหัก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การยึดตรึงกระดูกคอปล้องที่ 2 หรือ axis เข้า sub-axial constructs มีความจำเป็นต่อการรักษาภาวะผิดปกติที่คอส่วนบน โดยมีวิธีการยึดตรึงกระดูกคอปล้องที่ 2 อยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีนั้นมีความต้องการทางเทคนิคค่อนข้างสูงและยังมีอันตรายที่จะเกิดการบาดเจ็บต่อ vertebral artery เทคนิคการยึดตรึงกระดูกคอปล้องที่ 2 ด้วยวิธีใหม่คือ bilaterally crossing C2 laminar screws ของ Wright และคณะ ซึ่งลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บต่อ vertebral artery ในระหว่างการยึดตรึงกระดูกคอปล้องที่ 2 แต่การศึกษาการยึดตรึงกระดูกด้วยเทคนิคนี้ในปัจจุบันถูกทำขึ้นในประชากรชาวตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเทียบขนาดทางกายวิภาคของกระดูกประชากรไทยนั้นจะพบว่ากระดูกประชากรไทยจะมีขนาดที่เล็กกว่าเมื่อเทียบกับประชากรชาวตะวันตก ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เมื่อนำวิธีดังกล่าวมาใช้ในประชากรไทย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่า จะสามารถนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้ในประชากรไทยได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ งานวิจัยเป็นแบบรูปแบบเชิงพรรณนา โดยนำร่างอาจารย์ใหญ่จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้าร่วมงานวิจัย ในงานวิจัยครั้งนี้ได้นำร่างอาจารย์ใหญ่ทั้งหมด 60 ร่างเข้างานวิจัยลามินาของ C2 ทั้งสิ้น 120 ลามินา โดยอาจารย์ใหญ่แต่ละร่างถูกจัดกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแพทย์ออร์โธปิดิกส์ และแพทย์ประจำบ้าน ด้วยวิธีการสุ่มและทำการยิงสกรูตามเทคนิคของ Wright และคณะ ข้อมูลของอาจารย์ใหญ่ เช่น เพศ อายุ โรคประจำตัวผู้ทำการยิงสกรู ขนาดและความยาวสกรู และภาวะอันไม่พึงประสงค์ได้ถูกบันทึกและนำมาวิเคราะห์ทางสถิติจากการยิงสกรูที่ลามินาของกระดูกคอปล้องที่ 2 ในทั้งหมด 120 ลามินา ด้วยเทคนิคของ Wright และคณะ มีภาวะไม่พึงประสงค์ คือ แตกออกจากลามินา ทั้งหมด 11 ลามินา (11/120 = ร้อยละ 9.2) โดย 1 ครั้งจาก 11 ครั้ง แตกเข้าบริเวณของโพรงประสาท (1/120 = ร้อยละ 0.8) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มแพทย์ออร์โธปิดิกส์กับแพทย์ประจำบ้านพบว่าเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ในกลุ่มแพทย์ประจำบ้านมากกว่าแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (-15.29-5.29, p=0.341) โดยสรุป การยิงสกรูด้วยเทคนิค bilaterally crossing C2 laminar screws ของ Wright และคณะ สามารถทำได้ในประชากรไทยโดยมีอัตราการเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ในงานวิจัยนี้ ร้อยละ 9.2

References

Wright NM. Posterior C2 fixation using bilateral, crossing C2 laminar screws: case series and technical note. J Spinal Disord Tech 2014;17:158-62.

Brooks AL, Jenkins EB. Atlanto-axial arthrodesis by the wedge compression method. J bone Joint Surg (Am) 1978;60:279-84.

Dickman CA, Sonntag VK, Papadopoulos SM et al. The interspinous method of posterior atlantoaxial arthrodesis. J Neurosurg 1991;74:190-8.

Jenneret B, Magerl F. Primary posterior fusion C1/2 in odontoid fractures: indications, techniques, and results of transarticular screw fixation. J Spinal Disord 1992;5:464-75.

Dorward IG, Wright NM. Seven years of experience with C2 translaminar screw fixation: clinical series and review of literature. Neurosurgery 2011;68:1491-9.

Nakanishi K, Tanaka M, Sugimoto Y, et al. Application of laminar screws to posterior fusion of cervical spine: Measurement of the cervical vertebral arch diameter with a navigation system. Spine (Phila Pa 1976) 2008;33:620-3.

Saetia K, Phankhongsab A. C2 anatomy for translaminar screw placement based on computerized tomographic measurements. Asian Spine J 2015;9;205-9. http://dx.doi.org/10.4184/asj.2015.9.2.205.

Laopreeda K, Korsuntirat T. Lamina morphology of axis for safety translaminar screws fixation in Thai populations [Internet]. He01.tci thaijo.org. 2019 [cited 7 November 2020]. Available from:https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/185686.

Cassinelli EH, Lee MJ, Skalak A, et al. Anatomic considerations for the placement of C2 laminar screws. Spine (Phila Pa 1976) 2006;31:2767-71.

Kim YJ, Rhee WT, Lee SB, et al. Computerized tomographic measurements of morphometric parameters of the C2 for the feasibility of laminar screw fixation in Korean population. J Korean Neurosurg Soc 2008;44:15-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

How to Cite

1.
วณิชชานนท์ ช, วณิชชานนท์ ช, ก่อสันติรัตน์ ธ. การศึกษาความเสี่ยงเกิดภาวะกระดูกทะลุระหว่างการยึดตรึงกระดูกคอปล้องที่ 2 โดยวิธีใส่สกรูยึดตรึงส่วนลามินาศึกษาในร่างอาจารย์ใหญ่ไทย. J Med Health Sci [อินเทอร์เน็ต]. 31 สิงหาคม 2022 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];29(2):106-13. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/258414

ฉบับ

บท

บทความวิจัย