Lamina morphology of axis for safety translaminar screws fixation in Thai populations
Keywords:
laminar morphology of axis, Thai population, CT imagingAbstract
ในปัจจุบันการผ่าตัดยึดระหว่างกระดูกคอปล้องที่หนึ่งและสองทางด้านหลังด้วยการใส่สกรูมีความ
แข็งแรงมากกว่าการยึดด้วยลวด การใส่สกรูบริเวณกระดูกคอปล้องที่สอง โดยผ่านบริเวณ pedicle และ
par interarticularis ของกระดูกคอปล้องที่สอง อาจเกิดภาวะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของ vertebral artery,
spinal nerve root และ spinal cord จึงมีการใช้วิธี translaminar screws fixation ในการผ่าตัดกระดูกคอ
เนื่องจากมีความปลอดภัยมากกว่า ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้ทราบถึงลักษณะโครงสร้างของกระดูกคอ
ปล้องที่สองส่วนลามิน่าในกลุ่มประชากรไทย เพื่อเปรียบเทียบขนาดของกระดูกคอระหว่างประชากรไทย
กับชาวตะวันตก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่ได้รับการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณกระดูกคอจำนวน
60 ราย (เพศชาย 35 ราย, เพศหญิง 25 ราย) มาวัดกระดูกคอปล้องที่สอง ตามค่าดังต่อไปนี้ ความยาวของ
กระดูกลามิน่า ความกว้างของกระดูกลามิน่าส่วนที่แคบที่สุด ความสูงของกระดูก spinous process และ
spino-lamina angle ด้วยโปรแกรม Picture Archiving and Communication system (PACs) พบว่า
ค่าเฉลี่ยความหนาส่วนนอกที่แคบที่สุดของกระดูกลามิน่าของกระดูกคอปล้องที่สองในภาพตัดขวาง คือ
3.42±0.35 มิลลิเมตร ในเพศชาย และ 3.39±0.32 มิลลิเมตร ในเพศหญิง ค่าเฉลี่ยความกว้างส่วนนอกที่แคบ
ที่สุดของกระดูกลามิน่าของกระดูกคอปล้องที่สองในภาพตัดขวางทางด้านข้าง คือ 9.1±0.33 มิลลิเมตร ใน
เพศชาย และ 9.0±0.31 มิลลิเมตรในเพศหญิง ค่าเฉลี่ยความสูงของกระดูก spinous process ของกระดูกคอ
ปล้องที่สอง คือ 9.82±0.33 มิลลิเมตร ในเพศชาย และ 9.78±0.32 มิลลิเมตร ในเพศหญิง ค่าเฉลี่ยความยาว
ของกระดูกลามิน่าของกระดูกคอปล้องที่สอง คือ 32.9±1.45 มิลลิเมตรในเพศชาย และ 32.7±1.43 มิลลิเมตร
ในเพศหญิง ค่าเฉลี่ยองศาจุดเข้าของลามิน่าคือ 45.8°±3° ในเพศชาย และ 46.4°±4° ในเพศหญิง การวิจัยนี้จึง
สรุปได้ว่า การผ่าตัดยึดกระดูกคอปล้องที่สองโดยวิธี translaminar screws fixation ในผู้ป่วยชาวไทย แพทย์
ผู้ให้การรักษาพึงระวังการใช้สกรูที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 3 มิลลิเมตร และความยาวมากกว่า 30
มิลลิเมตร โดยแพทย์สามารถใส่สกรูในตำแหน่งที่ไม่ทะลุโพรงประสาทส่วนกลางถ้าจุดเข้าทำมุมมากกว่า 43
องศา และในผู้ป่วยทุกคนแพทย์สามารถใส่สกรูได้ทั้งสองข้าง