การประเมินโรงเรียนสุขภาวะ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : โรงเรียนสุขภาวะ เป็นโจทย์สำคัญของการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ให้ผู้เรียนมีความสุขในมิติของกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ และเป็นประเด็นท้าทายต่อการเสริมสร้างสุขภาวะ
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาระดับโรงเรียนสุขภาวะ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
วิธีการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา ตัวแปรระดับโรงเรียนสุขภาวะมี 5 องค์ประกอบ 25 ตัวชี้วัด ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 115 คน ข้อพิจารณาด้านจริยธรรม ซึ่งสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามของมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .93 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : พบว่า การประเมินระดับโรงเรียนสุขภาวะ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.51, SD = 0.34) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านชุมชนเป็นสุขมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านผู้เรียนเป็นสุข ด้านโรงเรียนเป็นสุข ด้านสภาพแวดล้อมเป็นสุข และด้านครอบครัวเป็นสุข ตามลำดับ (M = 4.56, 4.56, 4.56, 4.45, และ 4.44, SD = 0.45, 0.27, 0.40, 0.37, และ 0.51) นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะที่เอื้อต่อการเป็นโรงเรียนสุขภาวะ ได้แก่ การสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน การจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย การส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองนักเรียน และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียนต่อชุมชน
สรุปผล : การส่งเสริมให้เกิดโรงเรียนสุขภาวะ จะเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน โรงเรียน ครอบครัว สภาพแวดล้อม และชุมชน เกิดพลังการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาโดยใช้การสร้างเครือข่าย เพื่อพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้เข้มแข็งต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Erawan P, Erawan W. The assessment of the project of empowerment on education management to generate health in schools. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University. 2017;23(2):104-13. (in Thai).
Erawan P. Healthy schools promotion: An experience in Thailand. Procedia - Social and Behavioral Sciences; 2015;186:513–21. (in Thai).
Institute for Research on Education System Foundation. Development tools to become a health school. Mahasarakham: Sarakham Printing Company; 2017.
Thai Health Promotion Foundation. Thai health master plan 2018-2020. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation; 2018. (in Thai).
Allison KR, Adlaf EM, Irving HM, Mychasiw NS, Rehm J. The search for healthy schools: A multilevel latent class analysis of schools and their students. Prev Med Rep. 2016;4:331-7.
Shamsheun D, Chomeya R. Developing of the health school operating guidelines under Udonthani Primary Education Service Area Office 1. Journal of Educational Administration and Supervision. 2017;8(1):96-106. (in Thai)
Bunkanan B, Sringan K, Deelon S. A model of linear structural relationship of factors influencing on administration for health promoting schools at diamond level of basic educational schools. Buabandit Journal of Educational Administration. 2017;17(3):659-68. (in Thai)
Healthy school Network. Towards healthy schools: Reducing risks to children. USA: New York; 2016.
Cho EYN, Chan TMS. Children’s wellbeing in a high-stakes testing environment: the case of Hong Kong. Children and Youth Services Review. 2020;109:11. (Article in Press).
Pattani Primary Educational Service Area Office, Area 2. Annual Plan of Action, Fiscal Year 2019. Revised ed Pattani, 2019. (in Thai).
Pattani Primary Educational Service Area Office, Area 2. Small School Management Plan 2016-2020. Pattani : Primary Educational Service Area Office, Area 2, 2016. (in Thai).
Ministry of Education. Education Act 1999. Bangkok: Teachers Council of Thailand, Ladprao; 1999. (in Thai).
Woodward-Lopez G, Kao J, Kiesel K, Miller ML, Boyle M, Drago-Ferguson S, et al. Is scratch-cooking a cost-effective way to prepare healthy school meals with US department of agriculture foods?. J the Acad Nutr Diet. 2014;114(9):1349-58.
Schroeder K, Kubik MY. Policy, systems, and environmental approaches to a healthy school environment. J Adolesc Health. 2019;65(2):169-70.
The Secretariat of the Council of Education, Ministry of Education. National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Prigwhan Graphic Company 2017. (in Thai).
Thorringtona D, Jita M, Eames K. Targeted vaccination in healthy school children – Can primary school vaccination alone control influenza?. Vaccine. 2015; 33(41):5415–24.
Noraza RA, Norhayati NM, Rosediani M, Harmy YM. Prevalence of optimal cardiovascular screening activities and associated factors among apparently healthy school teachers in Kota Bharu, Kelantan. J Taibah Univ Med Sci. 2018; 13(2):188-94.
Askelson N, Brady P, Ryan G, Jung YS, Nguyen P, Scheidel C. P80 Mixed methods evaluation of healthy schools’ healthy students: Implementation and outcomes from a school-based intervention. J Nutr Educ Behav. 2019;51(7 Supplement): S68.
Kururatana O. The effects of sense of coherence intervention on Thai students plaque level and gingival status in Chonburi Province. Journal of Health Science Research. 2018;12(Supplement): 1-11. (in Thai).
Warakhum T. A Study of environmental management contributed to learning of Watchanpradittharam School, Phasicharoen District Master of Education [Thesis]. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2011. (in Thai).