การวิจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นิฐิคุณ เขียวอยู่ โรงพยาบาลขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก , การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

        การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน เครือข่ายสุขภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 400 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความรู้ การสร้างแนวทางการพัฒนา การสร้างแนวทางปฏิบัติ และการสรุปประเมินผล เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้สถิติ t-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 64.25) มีอายุเฉลี่ย 47.65 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 46.75) มีบทบาทในการมีส่วนร่วมดำเนินการตามแผนงาน (ร้อยละ 100.00) มีการจัดการความเสี่ยงในครัวเรือนและชุมชน (ร้อยละ 100.00) ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หลังการพัฒนาการมีส่วนร่วม ด้านความรู้ ด้านพฤติกรรม การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผน การมีส่วนร่วมดำเนินการตามแผนหรือกิจกรรม การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบติดตามผล การสนับสนุนและความพึงพอใจการมีส่วนร่วม ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน เครือข่ายสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สูงกว่าก่อนการพัฒนา โดยค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) 2) แนวทางตามแผนการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ 2.1) การสร้างความรู้ 2.2) การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.3) การพัฒนากิจกรรม 2.4)การสนับสนุนการปฏิบัติการ 2.5)การประเมินผล ถอดบทเรียน ข้อเสนอด้านนโยบาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นำผลการวิจัยเข้าสู่นโยบายระดับจังหวัด ร่วมกับคณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ด้านการปฏิบัติ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณ อย่างต่อเนื่อง ด้านการวิจัย ควรมีการวิจัยถอดบทเรียนเพื่อขยายผลพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

 

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นนทบุรี: กระทรวงสธารณสุข; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก คปสอ. ขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ของปี 2565. 2565. (เอกสารอัดสำเนา)

อรทัย ก๊กผล. การมีส่วนร่วมของประชาชน. คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. [ม.ป.ท.]: มูลนิธิปริญญาโทสำหรับนักบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (EPAF); 2546. หน้า 1-2.

Yamane T. Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row; 1973.

Likert R. The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw-Hill, Inc; 1967.

Rovinelli and Hambleton. On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research. 1977; 2: 49-60.

Cronbach, Lee J. Coefficient Alpha and The Internal Structure of Tests. Psychometrika. 16(1951): 297–334.

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 10.2 จังหวัดมุกดาหาร. รายงานผลการสำรวจความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง พฤติกรรมป้องกันตนเอง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ของพื้นที่ที่มีการดำเนินงานการจัดการยุงพาหะนำโรคแบบผสมผสาน ตำบลสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ. อุบลราชธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี; 2562.

เกียรติศักดิ์ คำดีราช. การมีส่วนร่วมของประชาชนในป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 4 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/index.php?fn=detail&sid=214.

เกดแก้ว หลวงไซ, กุลชญา ลอยหา, เด่นดวงดี ศรีสุระ. โปรแกรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนพื้นที่แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2565: 29(3): 14-26.

พงษ์ระพี ดวงดี, มธุริน มาลีหวล, ปณิตา ครองยุทธ, ถนอมศักดิ์ บุญสู่. การมีส่วนร่วมของประชาชนในป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 3(1): 1-12.

วิทยา ศรแก้ว. พฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 3(2): 13-26.

เกษม ปันตา. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลทุ่งกระเชาะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วารสารวิชาการสาธารณสุขจังหวัดตาก 2566; 3(3): 5-21.

อรัญญา ทิพย์ชาติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 2564; 10(3): 133-48.

กาญจนา ปัญญาธร, รจนา วรวิทย์ศรางกูร, ณัฏฐกุล บึงมุม, เอกสิทธิ์ โสดาดี. การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบ้านเชียงพิณ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 38(3): 147-56.

ฐิติชญา ฉลาดล้น, จักรีรัช ราชบุรี, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม, จักรีรัช ราชบุรี. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก:กรณีศึกษาตำบลต้นแบบ หมู่ 3 บ้านทุ่งทอง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2562; 2(1): 153-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31