ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา หล่าอุดม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • อนุพงศ์ สุขใจ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

บทคัดย่อ

        อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก ต้องมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ถูกต้องให้กับประชาชนในชุมชน การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม.อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทำการสุ่มแบบเป็นระบบ จำนวน 381 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ การรู้เท่าสื่อ และการจัดการตนเอง และตัวแปรตามด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบถดถอยลอจิสติก

        ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ได้แก่ อสม.ที่มีทักษะการสื่อสารในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 5.19 เท่า เมื่อเทียบกับอสม.ที่มีความรอบรู้ด้านทักษะการสื่อสารในระดับน้อยถึงปานกลาง (ORAdj=5.19; 95%CI=1.82-14.78) อสม.ที่มีทักษะการตัดสินใจในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 3.97 เท่า เมื่อเทียบกับอสม.ที่มีความรอบรู้ด้านทักษะการตัดสินใจในระดับน้อยถึงปานกลาง (ORAdj=3.97; 95%CI=1.28-12.29) และ อสม.ที่มีการจัดการตนเองในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 9.41 เท่า เมื่อเทียบกับอสม.ที่มีความรอบรู้ด้านการจัดการตนเองในระดับน้อยถึงปานกลาง (ORAdj=9.41; 95%CI=3.11-28.39) ดังนั้น อสม.ควรได้รับการส่งเสริมด้านทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ และการจัดการตนเองในเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อให้สามารถสื่อสารความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนในชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันโรคไข้เลือดออก

References

สีวิกา แสงธาราทิพย์. โรคไข้เลือดออกฉบับประเกียรณก พ.ศ.2544. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2545.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ระบบรายงานและฐานข้อมูล R506 [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds=262766

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี พ.ศ. 2566 (วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2566) [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://brm.moph.go.th/cds_alert/

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. รายงานประเมินความเสี่ยงการระบาดโรคติดต่อนำโดยแมลง ปี พ.ศ. 2566 [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1398220230310075357.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.คู่มือ อสม.ยุคใหม่. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ ; 2554.

พิชัย พวงสด, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, พุฒิพงษ์ มากมาย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2563; 1(3): 1-11.

อัญชลี จันทรินทรากร. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในเขตเทศบาลตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน “จำนวน อสม.ที่มีสิทธิรับค่าป่วยการ” [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP000BBE.php

มารยาท โยทองยศ, ปราณี สวัสดิสรรพ์. การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://shorturl-ddc.moph.go.th/CPQIj

Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York: McGraw-Hill Companies; 1976.

Kiess HO. Statistical concepts for the behavioral sciences. Boston: Allyn and Bacon; 1989.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into 21st century. Health promotion international 2000; 15(3): 259-67.

พลภัทร เครือคำ, รชานนท์ ง่วนใจรัก. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของครัวเรือนในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2566; 16(1): 39-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31