ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนท่าอิฐศึกษา อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนาย, พฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่, นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยระดับบุคคล พฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ การควบคุมตนเอง การรับรู้โทษของบุหรี่ การส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่จากครอบครัว จากโรงเรียน และอิทธิพลของตัวแบบจากสื่อ และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนท่าอิฐศึกษา จังหวัดนนทบุรี ขนาดตัวอย่างจำนวน 105 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ด้วยสถิติ Stepwise Multiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ (Mean = 3.52, S.D. = 0.75) การควบคุมตนเอง (Mean = 3.86, S.D. = 0.92) การรับรู้โทษของบุหรี่ (Mean = 4.20, S.D. = 0.62) การส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่จากครอบครัว (Mean = 3.96, S.D. = 0.86) และอิทธิพลตัวแบบจากสื่อ (Mean = 3.60, S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมาก และมีการส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่จากโรงเรียน (Mean = 0.88, S.D. = 0.21) อยู่ในระดับน้อย ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การควบคุมตนเองและอิทธิพลของตัวแบบจากสื่อ สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 19.8 ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมการควบคุมตนเอง และกำกับดูแลในการเข้าถึงสื่อต่างๆ ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี รวมทั้งควรเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียนที่นอกเหนือจากนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ปกครองและครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการไม่สูบบุหรี่แก่นักเรียน
References
ประกิต วาทีสาธกกิจ. ข้อมูลบุหรี่กับสุขภาพสำหรับพระสงฆ์เพื่อเผยแพร่แก่ญาติโยม. กรุงเทพฯ: รักษ์พิมพ์; 2552.
World Health Organization. Tobacco [Internet]. 2005 [cited 2024 January 5]. Available from: https://www.who.int/health-topics/tobacco#tab=tab_1
Action on Smoking and Health. Young people and smoking [Internet]. 2024 [cited 2024 January 6]. Available from: https://ash.org.uk/uploads/Youth-Smoking-Fact-Sheet-2024.pdf?v=1710950114
อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. โทษของบุหรี่มีผลต่อสุขภาพและคนรอบข้าง [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 06 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://n9.cl/9tocz
อารยา ศรีไพโรจน์. บุหรี่...พิษภัยร้ายกับวัยรุ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/20190328_03.pdf
Nso of Thailand. Summary of important results survey of smoking and drinking behavior of the Thai population 2014 [Internet]. 2015 [cited 2024 January 6]. Available from: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/smokePocket57.pdf
ธนธร กานตอาภา. ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2564; 28(2): 41-52.
ไพฑูรย์ วุฒิโส, ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์, บวรวิช รอดรังษี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาล 2565; 71(1): 1-9.
ศศิธร ชิดนายี, วราภรณ์ ยศทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2561; 10(1): 83-93.
ลักษมล ลักษณะวิมล, เรวดี เพชรศิราสัณห์, สายฝน เอกวรางกูร, นัยนา หนูนิล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาล 2563; 69(1): 1-9.
จิราภรณ์ จันทร์แก้ว, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2558; 27(2): 99-110.
กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร กรมควบคุมโรค. แผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สาม พ.ศ.2565-2570. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.
Bandura A. Social learning theory. New Jersey: Englewood Cliffs; 1997.
พรพัชรี ศิริอินทราทร. ความสามารถในการพยากรณ์ของทัศนคติต่อการหลีกเลี่ยงในการสูบบุหรี่ และความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาพัฒน์; 2552.
วิกานต์ดา โหม่งมาตย์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.
Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice-Hall; 1977.
Rosenbaum M. A Schedule for assessing self-control behavior: preliminary findings. Behavior Therapy 1980; 11(1): 109-21.
ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์. การศึกษาจิตลักษณะบางประการที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการเสี่ยงทางเพศและทางการใช้ยาเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี [ วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทนทรวิโรฒ ประสานมิตร; 2554.
ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, ประกายดาว สุทธิ, วิชานีย์ ใจมาลัย. พฤติกรรมสูบบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นจังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(3): 57-67.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น