การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน แบบมีส่วนร่วมของเครือข่าย อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รุ่งทอง วัชรนุกูลเกียรติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • วรรณกร ตาบ้านดู่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง, กลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน แบบมีส่วนร่วมของเครือข่าย อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และบริบทของปัญหาการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงานแบบมีส่วนร่วมของเครือข่าย อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น และระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเสี่ยงวัยทำงาน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่นจำนวน 72 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสนทนากลุ่ม โดยเครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และหาความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช ในด้านกระบวนการพัฒนาสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงานเท่ากับ 0.95 ด้านการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเท่ากับ 0.95 และด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังด้วยสถิติ Paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า 1. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงานแบบมีส่วนร่วมของเครือข่าย อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ด้วยหลัก 3ก. 1ข. 1ส. ดังนี้ 1) กองทุน 2) กิจกรรม 3) การติดตามกลุ่มเสี่ยง 4) ข้อมูลทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย และ 5) ส่วนร่วม 2. การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงวัยทำงานแบบมีส่วนร่วมของเครือข่าย พบว่าการมีส่วนร่วมหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = 0.29, 95% CI 0.11-0.45, p-value < 0.001) ด้านกระบวนการพัฒนาหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = 0.41, 95% CI 0.23-0.57, p-value < 0.001) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ หลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = 0.54, 95% CI 0.37-0.70, p-value < 0.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพ หลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = 1.43, 95% CI 1.28-1.57, p-value < 0.001) ความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนารูปแบบภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.80 (S.D.=0.57)

References

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, หทัยชนก เกตุจุนา, เบญจมาศ นาคราช, วขวัญชนก ธีสระ, สุภาพร ศุภษร. แนวทางการจัดการเมื่อพบผู้รับบริการมีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2565.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิตัลในชุมชน. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดัน โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นทางสู่...ความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์; 2561.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. Health data center (HDC) รายงานมาตรฐานการคัดกรองความดันโลหิตสูง. [อินเทอร์เน็ต]. มปป [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48.

อิสรา จุมมาลี, ณัฐสิทธิ์ สินโท, วิโรจน์ คำแก้ว, ธาริณี ศรีศักดิ์นอก. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(3): 99-113.

นาฏยา คลี่เกษร. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลระนอง.วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 2566; 38(1): 56-65.

สมจิตต์ สินธุชัย, นุสรา นามเดช, ประไพ กิตติบุญถวัลย์, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, กันยารัตน์ อุบลวรรณ และคณะ. รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การจัดการตนเอง และผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มีความดันโลหิตสูงในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี. วารสารสภาการพยาบาล 2565; 37(1): 58-74.

อาภรณ์ คำก้อน, สุพัตรา บัวที, อัจฉรา ชัยชาญ, บุญญภัสร์ ภูมิภู, กัญจน์ณิชา เรืองชัยทวีสุข. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและกึ่งเมือง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2565; 28(2): e258838.

Smith, William E. The AIC model: concepts and practice. Washington D.C.: ODII; 1991.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ.2ส.ของประชาชนวัยทำงาน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/news/3268.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2549.

Kemmis S, McTaggart R. Participatory action research: communicative action and the public sphere. In: Denzin N, Lincoln Y, Editors. The sage handbook of qualitative research. 3rd Ed. Sage: Thousand Oaks; 2005. P.559-603.

ทะนงศักดิ์ หลักเขต. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2565; 1(3): 61-72.

โสภณา จิรวงศ์นุสรณ์, ณัฐวดี จิตรมานะศักดิ์. การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ. ของผู้สูงอายุ. Journal of Roi Kaensarn Academi 2565; 7(4): 233-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30