ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พีรญา พาอ่อนตา สาขาสภาวะผู้นำและนวัตกรรมการจัดการสุขภาพ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
  • วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา สาขาสภาวะผู้นำและนวัตกรรมการจัดการสุขภาพ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
  • ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุล สาขาสภาวะผู้นำและนวัตกรรมการจัดการสุขภาพ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย

คำสำคัญ:

โปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี, พยาธิใบไม้ตับ , มะเร็งท่อน้ำดี , ภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

บทคัดย่อ

        การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 2 โรงเรียน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ) กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีที่พัฒนาขึ้น และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบไปด้วย 1) ความรู้ 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) ทักษะกระบวนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค 4) พฤติกรรมการป้องกันโรค และ 5) ความพึงพอใจในการใช้โปแกรมฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนานำเสนอ ค่าเฉลี่ย  ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์เปรียบเทียบ ด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test

         ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังจากการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ ระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะกระบวนการเสริมสร้างภูุมิคุ้มกัน และระดับพฤติกรรมสุขภาพในระดับที่สูงขึ้น แตกต่างจากก่อนการใช้โปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value<0.001 รวมถึงความพึงพอใจภายหลังการได้รับโปรแกรมฯของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.84, S.D.=0.17) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ทักษะกระบวนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และพฤติกรรมสุขภาพที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value<0.001

References

เทพพร มังธานี. วัฒนธรรมไท-ลาวกับการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี: กรณีศึกษาลุ่มน้ำสงครามตอนกลาง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562; 27(55): 60-82.

ณรงค์ ขันตีแก้ว. เมื่อพิชิตเขาลูกแรก: มหาวิทยาลัยขอนแก่นผลักดันการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีให้เป็นวาระแห่งชาติ. วารสารโครงการ CASCAP โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีภาคะวัน ออกเฉียงเหนือ 2559; 2(6): 5-8.

ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, เกษร แถวโนนงิ้ว, สุมาลี จันทลักษณ์. ประสิทธิผลของหลักสูตรการเรียนรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 4-6 จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี 2565; 1(1): 44-55.

ธิดารัตน์ เลิศวิทยากุล, ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์, วัชรินทร์ ลอยลม. ประสิทธิผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค 2563; 46(3): 381-92.

ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3): 607-10.

Likert R. The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son; 1967.

บวรพิพัฒน์ กระแสเสน, จุฬาภรณ์ โสตะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562; 12(2): 91–103.

สมจิตร บุญยงค์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตำบลกุดบง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566; 8(2): 275–82.

หทัยกาญจน์ ยางศรี, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์ จันทรโมลี. การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพในชุมชน เพื่อป้องกันการติดโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารควบคุมโรค 2564; 47(เพิ่มเติม1): 848–58.

เบญจมาศ อุนรัตน์,พรรณรัตน์ เป็นสุข. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ในสถานศึกษาต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 9. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 2564; 6(1): 175–92.

ปรีชา ปิยะพันธ์. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2566; 21(1): 52–68.

ภาคภูมิ สายหยุด, สุทธีพร มูลศาสตร์, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. ประสิทธิผลของรูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลทหารบก 2566; 24(3): 232–42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31