การประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เสี่ยงสูง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น : ประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินผลการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

ผู้แต่ง

  • บุญทนากร พรมภักดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • วิภาพร ต้นภูเขียว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • จุลจิลา หินจำปา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การประเมินผล, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้านผลผลิต ผลกระทบ และผลลัพธ์ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย อสม. ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบ้านขามเปี้ย และโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลโนนสมบูรณ์ จำนวน 186 คน และประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ จำนวน 704 คน  เครื่องมือวิจัยการวิจัย มี 2 ฉบับ คือ 1) ฉบับสำหรับ อสม. ประเมินความรู้ ทัศนติ การปฏิบัติงาน และความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วม และ 2) ฉบับสำหรับประชาชน ประเมินความรู้ ทัศคติ พฤติกรรมการปฏิบัติตน การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 90.9 อายุเฉลี่ย 53.15 สมรส ร้อยละ 81.7 จบประถมศึกษา ร้อยละ 51.1 และอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 56.5 รายได้เฉลี่ย 4,253.81 บาท/เดือน (300-50,000 บาท/เดือน) และปฏิบัติงานอสม. เฉลี่ย 13.52 ปี สำหรับกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.2 อายุเฉลี่ย 54.00 ปี สมรส ร้อยละ 71.3 จบประถมศึกษา ร้อยละ 63.4 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 48.6 รายได้เฉลี่ย 5,416.83 บาท/เดือน การประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม. พบว่า ด้านผลผลิต อสม. มีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับสูง การปฏิบัติงานของ อสม. ทั้ง 3 ระยะ คือ ระยะก่อนระบาด ระยะระบาด และระยะหลังการระบาด อยู่ในระดับมากที่สุด  ทัศนคติเกี่ยวกับดำเนินงาน อยู่ในระดับดี และความพึงพอใจ อยู่ระดับมากที่สุด ด้านผลลัพธ์ ประเมินความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการป้องกันตนเองของประชาชน อยู่ในระดับดี  ทัศคติเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับดี การมีส่วนร่วมของประชาชนภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานของ อสม. อยู่ในระดับมาก และการประเมินผลกระทบจากการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม. พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายสำรวจเดือนมกราคม–เดือนธันวาคม 2563 ค่า HI (House Index) และ CI (Container Index) เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (ค่า HI < 5 และ ค่า CI = 0) และอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ในช่วงสัปดาห์ที่ 1-24 และมีแนวโน้มลดลงต่ำกว่าค่ามัธยฐานในช่วงสัปดาห์ที่ 37-52

References

ชวลิต เกียรติวิชชุกุล, วัชรินทร์ ศรีสกุล, จิราพร ศรีสกุล. สายพันธุ์ของไวรัสเดงกีในเขตสุขภาพที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2559. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2560; 59 (3): 199-208.

สมบัติ แทนประเสริฐสุข. ความเชื่อมโยงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานควบคุมโรคติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://slideplayer.in.th/slide/14939084/.

สุภาวดี พวงสมบัติ, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, วราภรณ์ เอมะรุจิ, ศรัณรัชต์ ชาญประโคน. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุขปี พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.

บุญล้วน พันธุมจินดา. ปัญหาโรคไข้เลือดออกในบ้านเรา. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2626; 25(3): 175-83.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานประจำปี 2562 กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/1vtmSOp60uLinIBm3XUFmUv-h5vpJznOB/view

กองระบาดวิทยา. ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://doe.moph.go.th/surdata/index.php.

ศิริลักษณ์ มณีประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(เพิ่มเติม 2): s309-19.

นอรินี ตะหวาน, ปวิตร ชัยวิสิทธิ์, บรรณาธิการ. การพัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แบบมีส่วนร่วมของชุมชนเขตตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10; 12-13 กรกฎาคม 2562; ณ ห้องประชุมอาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา: 2562.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2554.

จุฬาลักษณ์ โกมลตรี. การคำนวณขนาดตัวอย่าง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2555; 20(3): 192-8.

อธิพร เปรมกม, กนกวรรณ บุญประเชิญ, รัตน์กมล เรืองใสส่อง, บุษกร สุตาสุข, โชคชัย กุลเลิศจริยา, ตรีทเศศ สุวรรณธรรมา, และคณะ. สัดส่วนผู้มีพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้องเหมาะสม ในชุมชนสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557; 2(4): 77-88.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์เจริญผล. 2540.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, ปัทมา รักเกื้อ. ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2561; 21(1): 31-39.

อติเทพ จินดา. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงา. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2560; 31(3): 555-568.

ไกรศิลป์ ศิริบูรณ์, ศิริรัตน์ กัญจา. การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2564; 29(1): 129-138.

นิพนธ์ สารารัมย์. ศึกษาการควบคุมป้องก้นโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขนครราชสีมา 2561; 4(1): 106-16.

อลงกฎ ดอนละ. ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2562; 17(1): 43-55.

พรพรรณ สมินทร์ปัญญา, อำไพวรรณ ทุมแสน, สุภัจฉรี มะกรครรภ์. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน บ้านคั่นตะเคียน ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2560; 18(35): 37-51.

เกศิณี วงศ์สุบิน, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, ธราดล เก่งการพานิช, มณฑา เก่งการพานิช. ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559; 33(3): 196-209.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30