ผลของการขยายรูปแบบการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ สู่การขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อ เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • เกศรา แสนศิริทวีสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • จุติพร ผลเกิด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • วิไลวัล ศรีเชียงสา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • จินทภา อันพิมพ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • บุศณี มุจรินทร์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สถานีสุขภาพ, โรคไม่ติดต่อ, การคัดกรองสุขภาพ, โรคหลอดเลือดหัวใจ

บทคัดย่อ

        การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนำรูปแบบการดูแลสุขภาพในชุมชนสำหรับกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจไปขยายและขับเคลื่อนการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อในเขตสุขภาพที่ 10 กลุ่มเป้าหมายในการขยายรูปแบบประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐได้แก่ ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อจำนวน 112 คน และภาคประชาชนได้แก่ แกนนำ และอาสาสมัครในชุมชนจำนวน 40 คน รวม 152 คน  เครื่องมือที่ใช้คือ รูปแบบที่พัฒนาขึ้นภายใต้การมีส่วนร่วมของเครือข่าย สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย Paired sample t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษา เมื่อนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปขยายและประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เกิดการกำหนดเป็นนโยบายเขตสุขภาพที่ 10 ภายใต้แนวคิด 3 หมอ 3S 3A ดังนี้ 3 หมอ (หมอประจำบ้าน หมอสาธารณสุข และหมอครอบครัว) การจัดตั้งสถานีสุขภาพ ประกอบด้วย 3S (Staff, Stuff, System) และรูปแบบการให้บริการ ประกอบด้วย 3A (Assess, Advise, Arrange) และมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1) จัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชน เพื่อเป็นจุดบริการคัดกรองสุขภาวะในชุมชน ครอบคลุม 5 จังหวัด จำนวน 762 แห่ง และจากการประเมินจุดบริการสถานีสุขภาพพบว่า หลังดำเนินการมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) 2) ผู้มารับบริการในสถานีสุขภาพรู้ตัวเลข รู้ความเสี่ยง รู้สถานะ ผลทำให้ได้รับความรู้และคำแนะนำในสถานีสุขภาพร้อยละ 98.61 3) การเพิ่มคุณภาพการคัดกรองโรคไม่ติดต่อในสถานีสุขภาพทุกแห่ง และมีการเพิ่มการประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในสถานีสุขภาพ ร้อยละ 65.88 และ 4) การเพิ่มคุณภาพการดูแลรักษา พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานสามารถควบคุมความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเพิ่มขึ้นในปี 2566 เป็นร้อยละ 64.95 และ 35.68 ด้านประสิทธิผลการควบคุมระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43.95 และอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ  สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 66.57 เป็นอันดับ 1 ของประเทศ และเป็นพื้นที่ต้นแบบของเขตสุขภาพที่ 10 ดังนั้น ควรมีการขยายรูปแบบการดำเนินงานในสถานีสุขภาพทั้งในเขตเมืองและชนบท เพื่อให้เกิดการคัดกรองสุขภาวะด้วยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย

References

กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ปี พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

กองโรคไม่ติดต่อ. กรมควบคุมโรค ร่วมรณรงค์วันหัวใจโลก 2566 เผยปีที่แล้วคนไทยเสียชีวิตโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 7 หมื่นราย ย้ำโรคนี้สามารถป้องกันได้ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=37372&deptcode=brc

HDC กระทรวงสาธารณสุข. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11

กองโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (2560 – 2564) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?gid=1-020&tid=32

ศุภาวดี พันธ์หนองโพน, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้รูปแบบ การจัดการโรคเรื้อรัง (chronic care model) ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 6(2): 55-63.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. J Adv Nurs 1991; 16(3): 354-61.

Contreras F, Sanchez M, Cruz MSM, Chávez C, Mindiola A, Bermudez V, et al. Management and education in patients with diabetes mellitus. Medical & Clinical Reviews 2017; 3(2): 1-7.

Gagliardino JJ, Chantelot JM, Domenger C, Ramachandran A, Kaddaha G, Mbanya JC, et al. Impact of diabetes education and self-management on the quality of care for people with type 1 diabetes mellitus in the Middle East (the International Diabetes Mellitus Practices Study, IDMPS). Diabetes Res Clin Pract 2019; 1(47): 29-36.

กิ่งกมล พุทธบุญ, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ระยะที่ 1 และ 2 โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 38(1): 127-36.

จุฑามาศ นักบุญ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ อาสาสมัครประจำหมู่บ้านต่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2560.

Azevedo J, Baldoni N, Rabelo C, Sanches C, Oliveira C, Alves G, et al. Effectiveness of individual strategies for the empowerment of patients with diabetes mellitus: a systematic review with meta-analysis. Prim Care Diabetis 2018; 12(2): 97-110.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข กรณีปกติ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เขตสุขภาพที่ 10. จังหวัดศรีสะเกษ. วันที่ 21-23 มิถุนายน 2566.

กองโรคไม่ติดต่อ. แนวทางการจัดบริการสถานีสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Station) ในชุมชน. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

สมาคมระบาดวิทยา (ประเทศไทย). พื้นฐานระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แคนนา กราฟฟิค; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30