ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อภิชัย ลิมานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • สม นาสอ้าน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • ทิพาพร ราชาไกร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง  จำนวน 32 คน จากการคำนวณขนาดอิทธิพล (effect size) ดำเนินการระหว่าง มกราคม ถึง มิถุนายน 2566 โดยประยุกต์แนวคิดของ Nutbeam และ Mezirow จัดเป็นโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง 10 กระบวนการ 7 กิจกรรม เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบบันทึกส่วนบุคคล แบบสอบถาม แบบประเมิน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว และความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired Sample T-Test  กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05   

            ผลการวิจัย พบว่า หลังทดลองระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Mean difference: 11.93; 95%CI: 9.48-14.37) ความรู้ในการลดการบริโภคเกลือและโซเดียมหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Mean difference: 42.44; 95%CI: 35.27-49.62) ระดับพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภาวะสุขภาพทางกาย น้ำหนักตัว ระดับดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับความดันโลหิตตัวบน และตัวล่าง น้อยกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงสรุปได้ว่ารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ ช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และภาวะสุขภาพทางกายที่ดีขึ้น เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้

References

World Health Organization. World Hyper-tension League (WHL): World Hypertension Day [Internet]. 2018 [cited 2023 January 25]. Available from: https://whleague.org/about-us/world-hypertension-day

World Health Organization. A global brief on hypertension: silent killer, global public health crisis: World Health Day 2013 [Internet]; 2013 [cited 2023 January 25]. Available from: https://shorturl-ddc.moph.go.th/lx4iZ

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=13106&gid=18

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ จังหวัดกาฬสินธุ์ รอบ 2-62. กาฬสินธุ์: กาฬสินธุ์การพิมพ์; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อสำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med 2008; 67(12): 2072-8.

กรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

World Health Organization. Health Promoting Glossary [Internet]. 1998 [cited 2018 August 25]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-HPR-HEP-98.1

Nutbeam D. Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies? Int J Public Health 2009; 54: 303-5.

Mezirow J. Understanding Transformation Theory. Adult Education Quarterly 1991; 44(4): 222-3.

อารยา เชียงของ. ผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการจัดการความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน [ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum Associates; 1988.

Cronbach LJ. Essential of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1970.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2561.

Bandura A. Social Learning Theory. Edgewood N.T.: Prentice Hall; 1997.

เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว, วัชรีวงค์ หวังมั่น. ผลการใช้โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563. 29(3): 419-29.

ชัชวาลย์ เพ็ชรกอง, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. วารสารสุขศึกษา 2562. 42(2): 23–32.

สม นาสอ้าน, ธงชัย ปัญญูรัตน์, ทิพาพร ราชาไกร. รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน จังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: กาฬสินธุ์การพิมพ์; 2562.

สม นาสอ้าน, ทิพาพร ราชาไกร. การพัฒนารูปแบบการลดการบริโภคเค็มในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2563; 27(3): 99-110.

ศิรินภา วรรเสริฐ, สุทธีพร มูลศาสตร์, นภาเพ็ญ จันทขัมมา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2562. 20(2): 92-104.

คัลลิยา วสุธาดา, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์, ดาราวรรณ รองเมือง, อนุชิต สว่างแจ้ง, โรจน์เมธิศร์ ไวยกูล. การพัฒนารูปแบบชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงตามแนวคิดตำบลจัดการคุณภาพชีวิต ตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2565; 33(1): 136-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31