รูปแบบการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การกำจัด โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ระยะที่ 2 (ปี 2562 – 2568)

ผู้แต่ง

  • บุญทนากร พรมภักดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • สารัช บุญไตรย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • จุลจิลา หินจำปา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • ประณิตา แก้วพิกุล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ , โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ระยะที่ 2 (ปี 2562 – 2568)  กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรผู้รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 95 คน ประกอบด้วย ขอนแก่น 30 คน ร้อยเอ็ด 25 คน กาฬสินธุ์ 22 คน และมหาสารคาม 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและสภาพความเป็นจริง แบบบันทึกการจัดทำแผนการติดตามและประเมินผล แบบสอบถามความคิดเห็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ แบบบันทึกผลการดำเนินงาน แบบสอบถามความคิดเห็นความพึงพอใจ และแบบประเมินคุณภาพของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อจัดหมวดหมู่ แยกแยะประเด็น

สรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สภาพปัญหาในการดำเนินงานติดตามและประเมินยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี 4 ประเด็น ได้แก่ บุคลากรขาดศักยภาพผู้ประเมินองค์ความรู้/ทักษะการประเมิน การประเมินผลและการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย ขาดกลไกการสนับสนุนการประเมิน และเครือข่ายประเมินในระดับพื้นที่ 2) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น พบค่าดัชนี PNI Modified เรียงจากมากไปน้อยได้แก่ จัดการสิ่งแวดล้อม สอนเด็กนักเรียนเพื่อปรับพฤติกรรม การตรวจมะเร็งท่อน้ำดีในกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไปด้วยการอัลตราซาวด์ การสื่อสารสาธารณะ พัฒนาระบบฐานข้อมูลรายบุคคล (Isan-cohort) รักษาผู้ป่วยมะเร็งโดยการผ่าตัด พัฒนาด้านวิชาการ คัดกรองพยาธิใบไม้ตับกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป บริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ และดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง 3) ค่าความแตกต่างของคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนและหลังการพัฒนาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( = 7.21; 95% CI: 4.58- 9.90, p-value <0.001) 4) ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ดังนี้ (1) ความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 2.32 (2) ความชุกของการติดพยาธิใบไม้ตับในปลาร้อยละ 9 – 10 (3) อัตราการตายด้วยมะเร็งท่อน้ำดี 47.34 ต่อประชากรแสนคน (4) โรงเรียนที่สอนเด็กนักเรียนเรื่อง โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีร้อยละ 66.97 (5) การจัดสิ่งแวดล้อม บ่อบำบัด การจัดการสิ่งปฏิกูลได้มาตรฐาน ร้อยละ 16.88 5) ประเมินคุณภาพรูปแบบการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตามมาตรฐาน 4 ด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกมาตรฐาน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559 – 2568. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

คณะกรรมการอำนวยการแผนยุทธศาสตร์กำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. สธ.เดินหน้ายุทธศาสตร์ทศวรรษการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ระยะที่ 2 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/04/112799/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์การกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้าดีในประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2559-2561); 2562. (เอกสารอัดสำเนา).

ณรงค์ ขันตีแก้ว, นิตยา ฉมาดล, พวงรัตน์ ยงวณิชย์, ไพบูลย์ สิทธิถาวร, บัณฑิต ถิ่นคำรพ, วัชรินทร์ ลอยลม. การพัฒนาระบบสาธารณสุขเพื่อการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัยและบริหารจัดการผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4839?locale-attribute=th.

Weihrich H, Koontz H. Managiment: A global perspective. 11 ed, Tata Mcgraw-Hill Publishing; 2005.

Bledsoe KL, Graham JA. The Use of multiple evaluation approaches in program evaluation. American Journal of Evaluation 2005; 26(3): 302-19.

Stufflebeam DL. Educational evaluation and decision making. Illinois: Peacock; 1981.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วีพริ้น(1991); 2558.

United Nations Children’s Fund (UNICEF). คู่มือการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ การทำงานร่วมกันเพื่อเด็ก [อินเตอร์เน็ต]. 2017 [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef.org/thailand/media/3491/file/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C.pdf

Stufflebeam DL, Madaus GF, Kellaghan T. Evaluation models. Rev. ed. Netherlands: John Wiley & Sons, Inc; 2000. pp.3-18.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2542.

เบญจมาศ อุนรัตน์, พรรณรัตน์ เป็นสุข. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกัน โรคพยาธิใบไม้ตับในสถานศึกษาต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 9. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 2564; 6(1): 175-92.

สันติ ทวยมีฤทธิ์. การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2563. 14(33): 52 – 70.

เกษร แถวโนนงิ้ว, เชิดพงษ์ มงคลสินธุ์, สุมาลี จันทลักษณ์, ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร, ศุจินันท์ ตรีเดช, อรนาท วัฒนวงษ์, และคณะ. การประเมินตำบลจัดการสุขภาพในการเฝ้าระวังป้องกันแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เขตสุขภาพที่ 7. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2561; 25(3): 77 – 87.

ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร, บุญทนากร พรมภักดี, จุลจิลา หินจำปา, คณยศ ชัยอาจ, กิตติศักดิ์ สีสด. รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโมเดลเชิงตรรกะตามนโยบายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชพ.): องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2563; 27(3): 111– 32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12