ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ด้วยวิธี OV-Rapid diagnostic test, Modified Kato-Katz technique และ Formalin ethyl-acetate concentration technique ในเขตสุขภาพที่ 7 ปี 2565

ผู้แต่ง

  • หฤทัย ทบวงษ์ศรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • เสรี สิงห์ทอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ตรวจหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับด้วยปัสสาวะ, การตรวจอุจจาระด้วยวิธีมาตรฐาน, การตรวจอุจจาระด้วยโมดิฟายด์คาโต้แคทซ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrine (O. viverrine) 3 วิธี ได้แก่ OV-Rapid diagnostic test ;OV-RDT, modified Kato-Katz technique ; MKKT และ Formalin Ethyl-acetate concentration technique ; FECT ในพื้นที่อัตราความชุกแตกต่างกัน เขตสุขภาพที่ 7 ใช้แบบสอบถามคัดกรองความเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับ และเครื่องมือการตรวจการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับทั้ง 3 วิธี ประชากรในการศึกษาคือ ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป ในจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด จำนวนตัวอย่าง 2,628 คน เก็บข้อมูลโดยการสุ่มอย่างง่าย ในเดือนพฤษภาคม 2565  วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของวิธีการตรวจทั้ง 3 วิธี คือค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวกค่าทำนายผลลบและค่าความถูกต้อง

 ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 62.60 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 46-60 ปี ร้อยละ 48.80 จังหวัดที่เก็บตัวอย่างได้แก่ จังหวัดขอนแก่น 585 ราย ร้อยละ 22.26 จังหวัดมหาสารคาม 560 ราย ร้อยละ 21.31 จังหวัดร้อยเอ็ด 764 ราย ร้อยละ 29.08 และจังหวัดกาฬสินธุ์ 719 ราย ร้อยละ 27.35  ผลวิธีตรวจ FECT พบระดับความเข้มข้นของจำนวนไข่พยาธิใบไม้ตับ O. viverrini ในอุจจาระ 1 กรัม (Egg per gram feces: EPG) ต่ำ ร้อยละ 100.00 ความหนาแน่นของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini โดยหาค่าเฉลี่ยจำนวนไข่ในอุจจาระ 1 กรัม (Mean egg per gram feces: MEPG.) พบว่าวิธี MKKT ความหนาแน่นของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini ในจังหวัดขอนแก่น 63.89 จังหวัดมหาสารคาม 130.33 จังหวัดร้อยเอ็ด 107.89 จังหวัดกาฬสินธุ์ 69.87 และด้วยวิธี FECT มีความหนาแน่นของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini จังหวัดขอนแก่น 10.05 จังหวัดมหาสารคาม 68.69 จังหวัดร้อยเอ็ด 26.02 และจังหวัดกาฬสินธุ์ 45.62  

วิธีการตรวจ MKKT พบอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 8.52 ค่าความไวร้อยละ 32.00 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 100.00 ค่าทำนายบวก ร้อยละ 100.00 ค่าทำนายลบ ร้อยละ 80.20 ความถูกต้อง ร้อยละ 81.89 วิธีการตรวจ OV-RDT พบอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 15.83 ค่าความไวร้อยละ 59.43 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 100.00 ค่าทำนายบวก ร้อยละ 100.00 ค่าทำนายลบ ร้อยละ 87.16 ความถูกต้อง ร้อยละ 89.19 วิธีการตรวจ FECT พบอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 7.27 ค่าความไวร้อยละ 27.29 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 100.00 ค่าทำนายบวก ร้อยละ 100 ค่าทำนายลบ ร้อยละ 79.11 ความถูกต้อง ร้อยละ 80.63 

วิเคราะห์กระบวนงานการตรวจพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการดำเนินการตรวจพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini กระบวน งานมี 4 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 เตรียมชุมชน ขั้นตอนที่ 2 เตรียมเก็บตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง และขั้นตอนที่ 4 แจ้งผล ติดตาม ในส่วนของระยะเวลาในแต่ละวิธี พบว่าใช้เวลาไม่แตกต่างกันในการเตรียมชุมชน เตรียมเก็บตัวอย่าง การแจ้งผล ติดตาม แต่มีความแตกต่างกันที่ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ประกอบด้วย เตรียมตัวอย่าง การอ่านผล และการแปลผล โดยวิธี MKKT ใช้เวลา 45 นาที  FECT ใช้เวลา 60 นาที OV-RDT ใช้เวลา 10 นาที และในส่วนค่าใช้จ่ายในแต่ละวิธี จะมีค่าใช้จ่ายไม่แตกต่างกัน ในการเตรียมชุมชน เตรียมเก็บตัวอย่าง การแจ้งผล ติดตาม แต่จะแตกต่างกันที่ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง Unit per cost  ดังนี้คือ วิธี MKKT ค่าตรวจ 22.05 บาท วิธี FECT ค่าตรวจ 30.87  บาท วิธี OV-RDT ค่าตรวจ 150-350 บาท ต่อ 1 ตัวอย่าง

References

ชนิกา วรสิษฐ์. การวัดแอนติเจนของพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini ในตัวอย่างปัสสาวะและการประยุกต์ใช้เพื่อวินิจฉัยโรค Opisthorchiasis และความสัมพันธ์กับโรคในระบบทางเดินน้ำดี [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. ขอนแก่น; มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. แผนงานโครงการโรคพยาธิใบไม้ตับ.ปี 2564. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. เอกสารประกอบการประชุมพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปี 2564 ; 25 ตุลาคม 2564 ; ห้องประชุมราชพฤกษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.

สรญา แก้วพิทูลย์, ณัฏฐวุฒิ แก้วพิฑูลย์, รัตนา รุจิรกุล, ปาริชาติ วัคคุวัทพงษ์, ทวีศักดิ์ ทองทวี, ลิขิต มาตระกูล. การตรวจวินิจฉัยพยาธิใบไม้ตับด้วยวิธีแบบเข้มข้นมินิพาราเซพ โซเวนท์ฟรี พาราสิต [รายงานการวิจัย]. นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 2560.

ไทยแลนด์พลัส. วช. -มข. มอบชุดตรวจพยาธิใบไม้ตับสำเร็จรูปชนิดเร็ว (OV-RDT) 100,000 ชุด ให้กับกระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thailandplus.tv/archives/366592.

สุมาลี จันทลักษณ์. อัตราความชุกพยาธิใบไม้ตับ ด้วยวิธีการตรวจปัสสาวะ OV-RDT ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 เอกสารสรุปตรวจราชการครั้งที่ 1 ปี 2565. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2565.

Thaewnongiew K, Singthong S, Kutchamart S, Tangsawad S, Promthet S, Sailugkum S, et.al. Prevalence and risk factors for Opisthorchis viverrini infections in upper Northeast Thailand. Asian Pac J Cancer Prev 2014; 15(16): 6609-12.

Suwannahitatorn P, Klomjit S, Naaglor T, Taamasri P, Rangsin R, Leelayoova S, et al. A follow-up study of Opisthorchis viverrini infection after the implementation of control program in a rural community, central Thailand. Parasites&Vectors 2013; 6(188): 1-8.

วิวัฒน์ สังฆะบุตร, บําเพ็ญ เกงขุนทด เฉลิมพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา. การเปรียบเทียบการตรวจวินิจฉัยหาไข่พยาธิใบไม้ตับด้วยชุดตรวจ Mini Parasep SF กับวิธี Modified Kato-Katz ที่ใช้ในภาคสนามของเขตสุขภาพที่ 9. วารสารทางวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 2562; 25(3): 54-63.

Worasith C, Kamamia C,Yakovleva A, Duenngai K, Wangboon C, Sithithaworn J, et al. Advances in the Diagnosis of Human Opisthorchiasis: Development of Opisthorchis viverrini Antigen Detection in Urine. PLoS Negl Trop Dis 2015; 9(10): e0004157.

Sanprasert V, Charuchaibovorn S, Bunkasem U, Srirungruang S, Nuchprayoon S. Comparison between direct smear, formalin-ethyl acetate concentration, and Mini Parasep® Solvent-Free Concentrator for screening of intestinal parasitic infections among school-age children. Chula Med J 2016; 60(3): 255-69.

อังสุมา ผาหัวดง. การเปรียบเทียบการตรวจหาแอนติเจนของพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini ในปัสสาวะที่เก็บแต่ละช่วงเวลาโดยเทคนิค ELISA [วิทยานิพนธ์ คณะเทคนิคการแพทย์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

Kaewpitoon S, Rujirakul R, Tongtawee T, Matrakul L, Panpimanmas S, Wakkuwattapong P, et al. Detection of the Carcinogenic Liver Fluke Opisthorchis viverrini Using a Mini Parasep SF Faecal Parasite Concentrator. Asian Pac J Cancer Prev 2016; 17(1): 373-6.

Worasith C, Wangboon C, Kopolrat KY, Homwong C, Sithithaworn J, Techasen A, et al. Application of urine antigen assay to evaluate outcomes of praziquantel treatment and reinfection in opisthorchiasis in northeast Thailand. Trans R Soc Trop Med Hyg 2020; 114: 751–61.

สำนักงานยา กรมอนามัย.ยาถ่ายพยาธิชนิดรับประทาน [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.drugoffice.gov.hk/eps/do/en/doc/ethnic_minorities/thai/Thai_32_Oral_Anthelmintics.pdf

อภัย ราษฎรวิจิตร. พราซิควอนเทล (Praziquantel) [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://haamor.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A5

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12