ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ของผู้ป่วยวัณโรค เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ทันตา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุทิน ชนะบุญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • กฤษณ์ ขุนลึก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

วัณโรคดื้อยาหลายขนาน, วัณโรค, สภาวะความชุกต่ำ, ปัจจัยเสี่ยง, เขตสุขภาพที่ 7

บทคัดย่อ

        การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับวัณโรคดื้อยาหลายขนานของผู้ป่วยวัณโรค เขตสุขภาพที่ 7 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนใน National Tuberculosis Information Program (NTIP) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Multiple logistics regression นำเสนอค่า Adjusted Odds Ratio (ORadj) ช่วงความเชื่อมั่น 95% Confidence interval (95%CI) และ P-value กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05

        ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 16,698 คน เป็นเพศชายร้อยละ 68.61 ค่ามัธยฐานของอายุคือ 56 ปี (ต่ำสุด 18 ปี สูงสุด 89 ปี) ความชุกของวัณโรคดื้อยาหลายขนานร้อยละ 1.01 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ได้แก่ เพศชาย ORadj=1.46 (95%CI: 1.01 ถึง 2.11, P-value=0.040) การกลับเป็นซ้ำ ORadj=7.55 (95%CI: 5.43 ถึง 10.49, P-value<0.001) บริเวณที่พบเชื้อวัณโรคในปอด ORadj=4.09 (95%CI: 1.79 ถึง 9.31, P-value=0.001) บริเวณที่พบเชื้อวัณโรคในปอดร่วมกับนอกปอด ORadj=9.16 (95%CI: 2.73 ถึง30.72, P-value<0.001) การติดเชื้อ HIV ORadj=1.85 (95%CI: 1.05 ถึง 3.25, P-value=0.031) โรคประจำตัวเบาหวาน ORadj=1.59 (95%CI: 1.09 ถึง 2.32, P-value=0.015)

       ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกในชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคที่กลับเป็นซ้ำ รวมถึงผู้ป่วยวัณโรคที่มีการติดเชื้อ HIV มีโรคประจำตัวเบาหวาน และติดตามผู้ป่วยที่มีผลการตรวจพบเชื้อวัณโรคชนิดในปอด และวัณโรคชนิดในปอดร่วมกับนอกปอด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนาน

References

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. การบริหารจัดการค้นหาและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง สำหรับผู้สัมผัสวัณโรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Extensively drug-resistant TB:XDR-TB) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/2gNuo.

WHO. GLOBAL TUBERCULOSIS REPORT 2020 [อินเทอร์เน็ต]. 2020 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/wmx57.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560 - 2564 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2565).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2562.

คณะอนุกรรมการป้องกันควบคุมโรควัณโรค. แผนยุทธศาสตร์แผนงานยุติปัญหาโรควัณโรค ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2564-2568) ของเขตสุขภาพที่ 7; 2564.

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาวัณโรคดื้อยาตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อ สมาคมโรคทรวงอกประเทศสหรัฐอเมริกาและสมาคมโรคทางเดินหายในสหภาพยุโรป ปี พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pidst.or.th/A919.html.

เพชรวรรณ พึ่งรัศมี. สถานการณ์วัณโรคประเทศไทย 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/kqzM6.

ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์. ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับวัณโรคดื้อยาหลายขนานและระยะเวลาเริ่มรักษา วัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทย [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557.

ชเลวัน ภิญโญโชติวงศ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยวัณโรคที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2561; 14(2): 1-10.

เพชรวรรณ พึ่งรัศมี, วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์. วัณโรคชนิดดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) คุกคามประเทศไทยจริงหรือ: ผลการทบทวนรายงานการวิจัย 55 เรื่อง ระหว่าง พ.ศ. 2511 - 2541 [รายงานการทบทวนเอกสารทางวิชาการ]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2542.

ทศพร เจริญจิต. การสอบสวนวัณโรคดื้อยาในพื้นที่อำเภอแก้งคร้อ ระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 7(1):110-24.

สุชาติ ทองแป้น. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคปอด. วารสารกรมการแพทย์ 2561; 43(6): 50-6.

อภิญญา นาคะพงศ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยวัณโรค ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2561-2563. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2564; 11(2): 273-89.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. การสำรวจความชุกของวัณโรคระดับชาติในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555-2556. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

ณฐกร จันทนะ, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, พรรณวดี พุธวัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลาย ขนาน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. 2562; 25(3): 296-309.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30